รีเซต

กัมพูชาเผยยอดส่งออกสู่ประเทศ RCEP ครึ่งปีแรก โต 24%

กัมพูชาเผยยอดส่งออกสู่ประเทศ RCEP ครึ่งปีแรก โต 24%
Xinhua
19 กรกฎาคม 2566 ( 10:43 )
54

พนมเปญ, 18 ก.ค. (ซินหัว) -- วันอังคาร (18 ก.ค.) กระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา รายงานว่าการส่งออกจากกัมพูชาสู่กลุ่มประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 (มกราคม-มิถุนายน) รวมอยู่ที่ 4.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.38 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จาก 3.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.12 แสนล้านบาท) ในช่วงเดียวกันของปีก่อนรายงานระบุว่าจุดหมายส่งออกสามอันดับแรกของกัมพูชาภายใต้ความตกลงฯ ในช่วงครึ่งปีแรก ได้แก่ เวียดนาม จีน และญี่ปุ่น โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังเวียดนามสูงเกือบ 1.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.88 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ไปยังจีนอยู่ที่ 713 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.43 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 และไปยังญี่ปุ่นอยู่ที่ 545 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.86 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1อนึ่ง ข้อตกลงการค้าเสรีตามความตกลงฯ ประกอบด้วย 15 ประเทศเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ สิบประเทศสมาชิกอาเซียน และห้าประเทศคู่ค้า (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)เพ็น โสวิชิต ปลัดและโฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่าความตกลงฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค. 2022 ถือเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตด้านการส่งออกที่สำคัญของกัมพูชาในยุคหลังการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)โสวิเชตกล่าวว่าการเติบโตดังกล่าวสะท้อนชัดเจนว่าประเทศสมาชิกความตกลงฯ เป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับสินค้าที่ผลิตในกัมพูชา โดยการส่งออกจากกัมพูชาสู่ประเทศสมาชิกความตกลงฯ จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงครึ่งหลังของปีนี้และปีหน้า ซึ่งเป็นผลจากสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงฯ ที่กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังกัมพูชาทั้งนี้ โสวิเชตทิ้งท้ายว่าความตกลงฯ ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก กอปรกับข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีฉบับอื่นๆ จะช่วยกัมพูชาหลุดพ้นจากสถานะประเทศพัฒนาน้อยที่สุดภายในปี 2027 และบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูงในปี 2030 ก่อนกลายเป็นประเทศรายได้สูงภายในปี 2050

ข่าวที่เกี่ยวข้อง