รีเซต

สรุปสงกรานต์ 6 วัน เกิดอุบัติเหตุ 1,720 ครั้ง เสียชีวิต 237 ราย

สรุปสงกรานต์ 6 วัน เกิดอุบัติเหตุ 1,720 ครั้ง เสียชีวิต 237 ราย
TNN ช่อง16
17 เมษายน 2565 ( 11:54 )
93
สรุปสงกรานต์ 6 วัน เกิดอุบัติเหตุ 1,720 ครั้ง เสียชีวิต 237 ราย

วันนี้ (17 เม.ย.65) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2565 โดยมีนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยง่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมรับฟังและมอบนโยบาย ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 16 เมษายน 2565 เกิดอุบัติเหตุ 241 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 246 คน ผู้เสียชีวิต 28 ราย สถิติอุบัติเหตุสะสม 6 วัน (11 - 16 เมษายน 2565) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,720 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 1,696 คน ผู้เสียชีวิต 237 ราย

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี (ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) เปิดเผยสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 16 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่ 6 ของการรณรงค์ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 241 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 246 คน ผู้เสียชีวิต 28 ราย

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 41.49 ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 25.31

ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 84.34 รถปิกอัพ 6.43

ส่วนใหญ่เกิดเหตุบนถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 38.59 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 38.17 บริเวณจุดเกิดเหตุเป็นทางตรง ร้อยละ 80.91

ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 18.01 – 19.00 น. ร้อยละ 10.37

ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี ร้อยละ 22.63 

จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เชียงราย (11 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ ลำปาง (11 คน) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ เชียงราย (3 ราย)

เจ้าหน้าที่ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,900 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 56,324 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 410,818 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 70,180 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 19,264 ราย ไม่มีใบขับขี่ 18,388 ราย

สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนสะสม 6 วัน (วันที่ 11 – 16 เมษายน 2565) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,720 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 1,696 คน ผู้เสียชีวิต 237 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (62 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (60 คน) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (11 ราย)

จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตรวม 10 จังหวัด ได้แก่ นครพนม บึงกาฬ ปัตตานี ยะลา ระนอง ลำพูน สมุทรสงคราม สิงห์บุรี หนองบัวลำภู และอำนาจเจริญ


ภาพจาก TNN ONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง