"กลุ่มพลังงาน"เตรียมบิน"สหรัฐฯ" ดูแหล่งผลิต

นายจตุรงค์ วรวิทย์สุรวันจนา ผู้แทนสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เอกชนหารือกับภาครัฐมาเป็นระยะ เร็วๆ นี้ภาคพลังงาน จะเดินทางร่วมกับปลัดกระทรวงพลังงาน เพื่อดูแหล่งผลิตพลังงานในสหรัฐ
ทั้งนี้ ไทยถือเป็นประเทศที่นำเข้าพลังงานจากสหรัฐ โดยปี 2567 ซื้อปิโตรเลียม 3,756 ล้านดอลลาร์ นำเข้าน้ำมันดิบมากเป็นประเทศอันดับ 2
ส่วนประเทศที่ไทยนำเข้ามากที่สุด คือ สหรัฐ อาหรับเอมิเรสต์ (UAE) โดยไทยนำเข้าน้ำมันดิบมาจากสหรัฐ 43 ล้านบาร์เรล และปรับการทำงานของโรงกลั่นเพื่อรับน้ำมันจาก UAE มากที่สุด หากจะให้ไทยนำเข้าน้ำมันดับเพิ่มจากสหรัฐก็ต้องมีการปรับปรุงโรงกลั่น ซึ่งภาครัฐก็ต้องมาช่วยด้วย
ทั้งนี้ เราการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ราว 10 ล้านตัน ในสัญญาระยะยาว และใช้ปีก่อนที่ 11.7 ล้านตัน โดยไทยนำเข้าจากสหรัฐ 2 ล้านตัน ในปี 2569 เรามีสัญญาที่ซื้อ LNG จากสหรัฐอีก 1 ล้านตัน มีการผูกกับสัญญาล่วงหน้าไปหมดแล้ว
ซึ่งการนำเข้าก๊าซ LNG นั้น ไทยยังสามารถนำเข้าเพิ่มได้อีก เพราะมีท่าเรือที่เก็บก๊าซ LNG อยู่กว่า 2 ท่า มีพื้นที่เก็บก๊าซ LNG ทั้งหมด 19 ล้านตัน โดยใน 2 พื้นที่ที่มีคลังเก็บก๊าซ LNG ยังมีปริมาณการเก็บได้ 9 ล้านตัน และสามารถสร้างเพิ่มได้อีก 8 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่จะเสร็จในปี 2028 สู่ศูนย์กลาง LNG แทนที่สิงคโปร์ จะตอบโจทย์การนำเข้าของสหรัฐ ถือเป็นข้อเสนอช่วยรัฐบาลได้ แต่ต้องปลดล็อกการส่งออก LNG ได้ จากที่ภาครัฐล็อกไว้เพื่อให้เป็นความมั่นคงทางพลังงาน แต่ตอนนี้มีการปรับเปลี่ยนส่วนนี้เพื่อรองรับนโยบายเพิ่มการนำเข้าจากสหรัฐ
ภาคพลังงานพร้อมจะสนับสนุนภาครัฐนำเข้าพลังงานจากสหรัฐเพิ่ม สิ่งที่ภาครัฐต้องช่วยเอกชน คือ การปลดล็อกเรื่องของส่งกลับ (Re Export) ให้เราเอา LNG เข้ามาแล้วสามารถส่งออกได้ จะช่วยให้เราเป็นฮับ LNG ภูมิภาคแทนสิงคโปร์ได้