รีเซต

กฎหมายปกป้องตนเองจาก Cyberbully มีอะไรบ้าง?

กฎหมายปกป้องตนเองจาก Cyberbully มีอะไรบ้าง?
TrueID
19 มิถุนายน 2563 ( 16:23 )
5.7K
1

 

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันเป็นหลักจนแทบจะเรียกว่าเป็นอวัยวะที่ 33 ของเรากันเลยทีเดียว และเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาข้อดีคือช่วยให้ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น แต่ข้อเสียก็มีด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อเสียนี้คือ ไซเบอร์บูลลี่ (Cyberbully) ซึ่งหมายถึงการกลั่นแกล้ง ให้ร้าย ด่าว่า หรือข่มเหง โดยใช้อุปกรณ์ดิจิตอลอย่างสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แทบเล็ต ฯลฯ ซึ่งการกลั่นแกล้งนี้มาในรูปแบบของการส่งข้อความทางโทรศัพท์ ผ่านทางสื่อโซเชียลต่าง ๆ  

 

และผลร้ายจาก Cyberbully ในโลกโซเชียลตอนนี้สามารถก่ออันตรายจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย โดยจะสังเกตุได้ว่าตอนนี้เด็กหรือเยาวชนในประเทศไทยติดอันดับ 2 ของโลกในเรื่องบูลลี่ และเมื่อพูดถึงในด้านกฎหมายนั้น ยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ยังสามารถนำกฎหมายที่มีอยู่มาปรับใช้ได้ เช่น กฎหมายประมวลผลอาญา มาตรา 397 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต่อหน้าสาธารณะ หรือธารกำนัล มีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ความผิดนี้ อาจแยกได้เป็น 2 ความผิด

 

ความผิดที่ 1 องค์ประกอบภายนอก คือ กระทำด้วยประการใดๆ ในที่สาธารณสถาน หรือต่อหน้าธารกำนัล อันเป็นการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่น และประกอบด้วยองค์ประกอบภายในคือเจตนา ธรรมดา

 

ความผิดที่ 2 องค์ประกอบภายนอกคือ กระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ในสาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล

 

และยังมีความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

 

หรือถ้ามีการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ จนทำให้เกิดอาการกลัวหรือมีการขู่เข็ญไม่ว่าจะเป็นในทางด้านใดก็ตามจะมีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 293 ผู้ใดช่วยหรือยุยงเด็กอายุยังไม่เกิน 16 ปีที่ไม่สามารถเข้าใจว่าการกระทำของตนมีสภาพหรือสาระสำคัญอย่างไร หรือทำให้ตนเองดูด้อยค่า จนไปถึงการฆ่าตัวตาย มีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรานี้ข้อจำกัดสำหรับกรณีเด็กอายุไม่เกิน 16 ปี เท่านั้น 

 

สำหรับความผิดในทางกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะเน้นเกี่ยวกับข้อมูลด้านความมั่นคง และการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือหลอกลวงเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ได้มีการปรับเปลี่ยนเป็น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 เพื่อแยกความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท แต่หากมีความผิดในข้อหาหมิ่นประมาท จะไม่มีความผิดในกฎหมายคอมพิวเตอร์ แต่หากมีการตัดต่อภาพ ก็อาจเข้าฐานความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ เช่น มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

 

ไซเบอร์บูลลี่ในโลกโซเชียลทุกวันนี้ยังมีให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นก่อนจะโพส หรือพูด ต้องคิดให้ดีก่อน เพื่อความปลอดภัยของตนเองและเพื่อรักษาความรู้สึกของอีกฝ่าย

 

ข้อมูล : สพธอ. , The Prototype , ICT General Police

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง