นักวิทย์ฯ พบว่า ลิงเรียนรู้การเข้าสังคมได้ เหมือนพฤติกรรมของมนุษย์
ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่สุนัขบ้านจะน่ารักกว่าสุนัขป่า หรือแมวบ้านจะเป็นมิตรและมีขนที่ปุกปุยกว่าแมวป่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เกิดจาก "Domestication syndrome" หรือกระบวนการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกับสังคม
ที่มาของภาพ https://www.woburnsafari.co.uk/discover-your-safari/meet-the-animals/common-marmoset/
แนวคิดเรื่อง Domestication syndrome จะเป็นการอ้างถึงลักษณะทางกายภาพและพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง ที่มีการปรับเปลี่ยนจากชีวิตในป่าเข้าสู่สังคมเมืองของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะที่มีจมูกสั้น, หูพับ, หางม้วน, ขนสีซีด หรือนิสัยอ่อนโยน สิ่งเหล่านี้ถูกเชื่อมโยงไปยังภาพลักษณ์ที่เราพบเห็นได้ในสัตว์เลี้ยง
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ เชื่อว่ามาจากพัฒนาการของ Neural crest cells สเต็มเซลล์ของตัวอ่อนที่สามารถเจริญเติบโตเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ ในทฤษฎี Domestication syndrome เชื่อว่า Neural crest cells ที่เจริญเป็นเซลล์ต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นเซลล์สร้างฮอร์โมนตอบสมองภาวะ "สู้หรือหนี" ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จะมีความแตกต่างกันระหว่างสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ดังนั้นสิ่งที่แสดงออกมาให้เราเห็นจึงมีความแตกต่างกันนั่นเอง เพียงแต่ขณะนี้ยังขาดเหตุผลสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม
ที่มาของภาพ https://www.wbtv.com/story/38809209/man-rescues-marmoset-monkey-trains-him-as-emotional-support-animal/
ทว่า ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์พบว่า ลิงมาร์โมเซต หรือลิงจิ๋ว มีความเข้ากันได้กับทฤษฎี Domestication syndrome จากการสังเกตการพบว่าลิงมาร์โมเซตมีพฤติกรรมที่อ่อนโยน และเอาใจใส่เพื่อน ๆ ในฝูง คล้ายกับพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ แต่สิ่งที่เตะตามากที่สุดคือแผงขนอันฟูฟ่องบริเวณขมับทั้งสองข้าง จะมีสีอ่อนและปุกปุยเป็นพิเศษ นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่า ยิ่งลิงมาร์โมเซตถูกปลูกฝังพฤติกรรมให้มีความเป็น "มนุษย์" มากขึ้นเท่าใด แผงขนบริเวณขมับจะยิ่งยาว สีซีด และปุกปุยมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงทดลองนำลิงมาร์โมตเซตฝาแฝดมาเลี้ยง โดยเปิดเทปให้ลิงตัวหนึ่งฟังเสียงของครอบครัวและลิงมาร์โมเซตตัวโตเต็มวัยอย่างเต็มที่ ส่วนอีกตัวจะได้ฟังเพียงแค่ 10% การทดลองเปิดเทปนี้จะใช้เวลาประมาณ 40 นาที ส่วนเวลาที่เหลือจะปล่อยให้ลิงไปอยู่กับครอบครัว การทดลองดำเนินการทั้งสิ้น 60 วัน
ผลปรากฏว่า ลิงมาร์โมเซตตัวที่ได้ฟังเทปอย่างเต็มที่นั้น มีพัฒนาการในการเข้าสังคมกับลิงตัวอื่นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีจิตใจโอบอ้อมอารี รู้จักแบ่งปันอาหาร และที่สำคัญแผงขนบริเวณขมับยังยาว สีขาวซีด และปุกปุยกว่าฝาแฝดอีกตัวด้วย
ที่มาของภาพ https://scitechdaily.com/monkeys-may-have-self-domesticated-like-humans/
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านี่เป็นหนึ่งในหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า สัตว์ชนิดอื่นสามารถปรับตัวเข้าอยู่ร่วมกันในระบบสังคมของตนเองได้ไม่ต่างจากมนุษย์ และในอนาคตจะมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาหลักฐานสนับสนุนประเด็นนี้ต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Scitechdaily
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline