รีเซต

คิดเห็นแชร์ : การออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) (ตอนจบ)

คิดเห็นแชร์ : การออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) (ตอนจบ)
มติชน
11 กรกฎาคม 2563 ( 12:03 )
155

 

สําหรับเทคโนโลยีสุดท้ายในการออกแบบ เมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) ที่ผมจะพูดถึงในครั้งนี้ ก็จะเป็นเทคโนโลยีการจัดการขยะและของเสีย มาดูกันครับว่าเทคโนโลยีนี้จะทำให้เมืองที่ว่านี้ มีความ Smart ยังไง

 

⦁ระบบกำจัดขยะอุตสาหกรรม
ขยะจากอุตสาหกรรมมีความแตกต่างจากขยะมูลฝอยทั่วไป จึงต้องมีการกำหนดวิธีการกำจัดเฉพาะสำหรับขยะแต่ละประเภท เช่น สารไวไฟ สารกัดกร่อน หรือสารพิษต่างๆ อีกทั้งต้องมีการควบคุมการขนส่งขยะอันตรายเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจต่อชุมชน

 

⦁ระบบขนส่งขยะอุตสาหกรรม
ในการขนส่งขยะอุตสาหกรรมต้องมีระบบเอกสารสำหรับติดตามการขนส่ง ซึ่งระบุแหล่งที่มา ชนิด และวิธีการกำจัด อย่างชัดเจน จำเป็นต้องมีการดำเนินการ ดังนี้
1.การจัดทำบัญชีเพื่อระบุปริมาณหรือจำนวน และชนิดหรือองค์ประกอบของขยะ
2.ตรวจสอบภาชนะที่ใช้ขนส่งขยะให้มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับขยะ
3.ตรวจสอบอาคารหรือสถานที่ที่ใช้เก็บรวบรวมขยะภายหลังการขนส่ง
4.จัดทำแผนหรือมาตรการป้องกันอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินต่างๆ
5.ติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องป้องกันอันตรายจากขยะอุตสาหกรรมและเหตุฉุกเฉินระหว่างการขนส่งและสถานที่รวบรวม

 

⦁ระบบติดตามขยะอุตสาหกรรม
การติดตามขยะอุตสาหกรรมถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากขยะอุตสาหกรรมบางชนิดมีสารอันตราย จำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการขนส่ง ซึ่งมีการระบุผู้ประกอบการ ชนิด ปริมาณ แหล่งที่นำไปกำจัด และมีการติดฉลากที่ภาชนะอย่างชัดเจน

 

⦁ระบบใช้ซ้ำและรีไซเคิล
องค์ประกอบของขยะอุตสาหกรรมมีหลายประเภท สำหรับขยะประเภทกระดาษ พลาสติก แก้ว และโลหะ สามารถนำส่งโรงงานเพื่อการรีไซเคิล หรือบางส่วนสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง

 

⦁Solidification
คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปสารโดยใช้อุณหภูมิต่ำ โดยเปลี่ยนจากของเหลวให้เป็นของแข็ง เพื่อลดปริมาณน้ำหนัก ทำให้ง่ายต่อการขนส่ง

จบแล้วครับสำหรับการออกแบบเมือง Smart City หรือเมืองอัจฉริยะทั้งหมด 10 ตอน ผมหวังว่าหลายท่านที่ติดตามมาตั้งแต่ตอนที่ 1-10 คงพอจะเข้าใจคอนเซ็ปต์ เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้าน Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ ไม่มากก็น้อยนะครับว่า Smart City นี้เป็นเมืองที่ออกแบบวางแผน เพื่อการอยู่อาศัยในอนาคต โดยคำนึงถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และสังคมวัฒนธรรม เป็นการประยุกต์เทคโนโลยี ดิจิทัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริหารจัดการเมือง สิ่งแวดล้อม การศึกษา และการบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภคของประชากร โดยให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีการพัฒนาในหลายด้านทั้งหน่วยงานราชการ การจราจรและขนส่ง พลังงาน สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการจัดการเมืองและชุมชน และการตอบสนองแบบทันท่วงที…

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง