รีเซต

สธ. เปิดผลศึกษา ประสิทธิผลวัคซีนทุกสูตร ช่วง ส.ค.-ธ.ค.64 ใน 4 พื้นที่

สธ. เปิดผลศึกษา ประสิทธิผลวัคซีนทุกสูตร ช่วง ส.ค.-ธ.ค.64 ใน 4 พื้นที่
ข่าวสด
14 มกราคม 2565 ( 13:51 )
41
สธ. เปิดผลศึกษา ประสิทธิผลวัคซีนทุกสูตร ช่วง ส.ค.-ธ.ค.64 ใน 4 พื้นที่

สธ. เปิดผลศึกษา ประสิทธิผลวัคซีนทุกสูตร ช่วง ส.ค.-ธ.ค. 2564 ใน 4 พื้นที่ ป้องกันป่วยหนัก-ตายแต่ละสายพันธุ์ไม่ต่างกัน ย้ำฉีดบูสต์เพิ่มป้องกันติดเชื้อได้

 

วันที่ 14 ม.ค.65 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงประสิทธิผลการฉีดวัคซีนโควิด 19 ว่า ขณะนี้ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด 19 สะสมแล้วกว่า 108 ล้านโดส สำหรับแผนการฉีดวัคซีนในช่วง ม.ค. 2565 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอแผนการฉีดอย่างน้อย 9 ล้านโดส ขณะนี้ผ่านมาครึ่งทางเราฉีดได้ตามเป้าหมาย และจะเร่งรัดการฉีดวัคซีนตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีแลระ รมว.สธ.

 

อย่างไรก็ตาม โรคโควิด 19 เป็นโรคใหม่ วัคซีนก็เป็นตัวใหม่ การติดตามประเมินผลวัคซีนจึงมีความสำคัญ ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1.เจาะเลือดตรวจดูระดับภูมิคุ้มกัน ซึ่งมาตรฐานระดับโลกยังไม่มีการอ้างอิงเปรียบเทียบกันได้ และตัวเลขมีความแตกต่างกันในห้องปฏิบัติการแต่ละแห่ง

 

และ 2.การวัดประสิทธิผลในพื้นที่จริง ซึ่งกรมควบคุมดรคมีการดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่ช่วง ส.ค. - ธ.ค. 2564 จากการฉีดวัคซีนสูตรต่างๆ ที่มีทั้งซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ ในพื้นที่ภูเก็ต กทม. เชียงใหม่ และกาฬสินธุ์ ซึ่งแต่ละช่วงเวลามีการระบาดของสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน

นพ.โอภาส กล่าวว่า ช่วงเดือน ส.ค. มีสายพันธุ์อัลฟา ที่ภูเก็ต ช่วง ก.ย.-ต.ค. พื้นที่ กทม.มีทั้งอัลฟาและเดลต้า ส่วนช่วง ธ.ค.พื้นที่เชียงใหม่มีเดลต้า และช่วง ธ.ค. 2564 มีสายพันธุ์โอมิครอนที่ จ.กาฬสินธุ์ จากการวิเคราะห์พบว่า วัคซีนทุกประเภทและทุกสูตรที่ สธ.นำมาฉีด มีประสิทธิผลป้องกันอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตสูง 90-100%

 

ส่วนการป้องกันการติดเชื้อประสิทธิผลสูงพอสมควร แต่จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อได้รับการฉีดเข็มกระตุ้น หรือการฉีดสูตรไขว้ จะเพิ่มประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อให้สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จึงช่วยควบคุมการระบาดได้ดี

 

สำหรับผู้ที่รับวัคซีนเชื้อตายมาก่อน และฉีดเข็ม 3 ด้วยแอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์ มีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อและเสียชีวิตสูงไม่ได้แตกต่างกัน ส่วนผู้ที่รับเข็ม 3 ด้วยแอสตร้าฯ หรือไฟเซอร์ สามารถป้องกันโอมิครอนได้ถึง 80-90%

 

"การฉีดเข็มกระตุ้นจึงเป็นหมุดหมายและนโยบายสำคัญ โดยวิธีการฉีดมีสูตรคือ 1.ผู้ที่ได้รับสูตรไขว้ซิโนแวค-แอสตร้าฯ ครบช่วง ส.ค. - ต.ค. 2564 ให้ฉีดกระตุ้นด้วยแอสตร้าฯ เป็นหลัก 2.ผู้ที่ได้รับแอสตร้าฯ 2 เข็มช่วง ส.ค. - ต.ค.2564 กระตุ้นด้วยไฟเซอร์

 

และ 3.ผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ฉีดกระตุ้นด้วยแอสตร้าฯ เป็นหลัก ซึ่งขณะนี้วัคซีนมีเพียงพอและกระจายไปถึง รพ.สต. ประชาชนสามารถสอบถาม รพ.สต.หรือรพ.ใกล้บ้านได้ ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนไม่ครบและมีประวัติติดเชื้อให้ฉีดแอสตร้าฯ กระตุ้นหนึ่งเข็ม แต่หากรับครบ 2 เข็มแล้วติดเชื้อยังไม่ต้องกระตุ้น" นพ.โอภาสกล่าว

สำหรับช่วงระยะเวลาในการมารับเข็มกระตุ้นนั้น คือ รับครบ ส.ค. - ก.ย. 2564 มารับเข็มกระตุ้นได้ในช่วง ธ.ค. 2564 , รับครบช่วง ก.ย. - ต.ค. 2564 มารับได้ช่วง ม.ค.2565 , รับครบช่วง ต.ค. - พ.ย.2564 มารับได้ช่วง ก.พ.2565 และรับครบช่วง พ.ย. - ธ.ค.2564 มารับเข็มกระตุ้นช่วง มี.ค.2565

เมื่อถามถึงกรณีประชาชนกังวลว่า หากฉีด mRNA แล้วจะไม่สามารถฉีดชนิดอื่นได้ ต้องฉีด mRNA เท่านั้น และปี 2565 วัคซีนไฟเซอร์จะเพียงพอหรือไม่ ฉีด นพ.โอภาส กล่าวว่า การฉีดวัคซีนจะไล่เรียงจากเชื้อตาย ไวรัลเวคเตอร์ และ mRNA ที่ผ่านมา สธ.ฉีดตามสูตรที่แจ้งไป

โดยปี 2565 ครม.อนุมัติให้ สธ.จัดซื้อวัคซีนจำนวน 90 ล้านโดส โดยมีไฟเซอร์ 30 ล้านโดส ซึ่งเพียงพอ และขอให้มั่นใจว่าการฉีดกระตุ้นด้วยแอสตร้าฯ หรือไฟเซอร์ประสิทธิภาพการป้องกันโรคและลดการเสียชีวิตไม่แตกต่างกัน ขอฉีดตามสูตรหรือวิธีการที่ สธ.กำหนด ยืนยันว่าวัคซีนมีเพียงพอ

เปิดประสิทธิผลวัคซีน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโควิด ช่วง ส.ค. - ธ.ค. 2564 ใน 4 พื้นที่ พบว่า 1.ภูเก็ต ช่วง ส.ค. 2564 ที่มีอัลฟา ผลการฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ช่วยป้องกันการติดเชื้อ 27% ป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิต 90% และเมื่อฉีดกระตุ้นด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ทำให้ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 94.2% และป้องกันการปวยหนักและเสียชีวิต 100%

2.กทม. ช่วง ก.ย.-ต.ค. 2564 ที่มีอัลฟาและเดลตา การฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อ 66% เมื่อกระตุ้นด้วยแอสตร้าฯ ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเป็น 86% หากกระตุ้นด้วยไฟเซอร์ ป้องกันการติดเชื้อเป็น 82% , ฉีดด้วยแอสตร้าฯ 2 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อ 75% และสูตรไขว้ ซิโนแวค-แอสตร้าฯ ป้องกันการติดเชื้อ 75%

3.เชียงใหม่ ช่วง ธ.ค. 2564 ที่มีเดลตา ซิโนแวค 2 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อ 28% เมื่อกระตุ้นด้วยแอสตร้าฯ ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเป็น 96% กระตุ้นด้วยไฟเซอร์ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเป็น 98% , ฉีดแอสตร้าฯ 2 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อ 93% , ไฟเวอร์ 2 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อ 92%

สูตรไขว้ซิโนแวค-แอสตร้าฯ ป้องกันติดเชื้อ 93% และซิโนฟาร์ม 2 เข็มกระตุ้นด้วยไฟเซอร์ ป้องกันการติดเชื้อ 98% ส่วนการป้องกันการเสียชีวิตพบว่า สูตรซิโนแวค 2 เข็ม แอสตร้าฯ 2 เข็ม ไฟเซอร์ 2 เข็ม และซิโนแวค-แอสตร้าฯ อยู่ที่ 97% ส่วนซิโนแวค 2 เข็มตามด้วยแอสตร้าฯ ซิโนแวค 2 เข็มตามด้วยไฟเซอร์ และซิโนฟาร์มตามด้วยไฟเซอร์ ป้องกันการเสียชีวิตอยู่ที่ 99%

และ 4.กาฬสินธุ์ ช่วง ธ.ค. 2564 ที่มีโอมิครอน พบว่า ซิโนแวค 2 เข็ม แอสตร้าฯ 2 เข็ม ไฟเซอร์ 2 เข็ม และซิโนแวค-แอสตร้าฯ ป้องกันการติดเชื้อ 13% เมื่อรับเข็มกระตุ้น คือ ซิโนแวค 2 เข็มตามด้วยแอสตร้าฯ ป้องกันการติดเชื้อเป็น 89% ซิโนแวค 2 เข็มตามด้วยไฟเซอร์ ป้องกันการติดเชื้อเป็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง