รีเซต

ตุรกีเตรียมฝึกหนูเพื่อช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว

ตุรกีเตรียมฝึกหนูเพื่อช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว
TNN ช่อง16
14 กุมภาพันธ์ 2566 ( 17:22 )
47
ตุรกีเตรียมฝึกหนูเพื่อช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว

หนูมีขนาดตัวที่เล็กกว่าสุนัขทำให้มีการนำหนูมาฝึกหัดเพื่อช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศตุรกี หนูสามารถมุดเข้าไปในซากปรักหักพังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในจุดที่สุนัขไม่สามารถเข้าถึงได้


เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตุรกีและซีเรีย เมื่อวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาทำให้มียอดผู้เสียชีวิตมากกว่า 19,000 ราย (ยอดสรุปของเช้าวันที่ 9 กุมภาพันธ์) เจ้าหน้าที่กู้ภัยต่างช่วยกันเร่งค้นหาผู้รอดชีวิตจากซากอาคารที่พังทลาย โดยได้มีการนำสุนัขค้นหาเข้ามาช่วยในบางจุดและในขณะเดียวกันก็ได้มีการนำหนูกู้ภัยเข้ามาช่วยค้นหาในครั้งนี้ด้วย 


การฝึกหนูเพื่อนำมาใช้ในการค้นหาผู้รอดชีวิตเกิดจากความร่วมมือของซานเดอร์ เวอร์ดีเซ่น (Sander Verdiesen) วิศวกรไฟฟ้ากับองค์กรไม่แสวงผลกำไร หรือ อะโพโพ (Apopo) โดยได้ร่วมกันฝึกให้หนูตัวเล็ก ๆ ที่มีกระเป๋าใบจิ๋วพร้อมกล้องขนาดเล็กติดอยู่บนหลังให้เข้าไปในซากปรักหักพังของอาคาร ซึ่งเป็นจุดที่สุนัขไม่สามารถเข้าไปได้


องค์กรอะโพโพ (Apopo) ได้ทำงานร่วมกับหนูมานานกว่าทศวรรษ โดยได้นำคุณสมบัติพิเศษจากประสาทรับกลิ่นของหนูมาใช้ในการตรวจจับทุ่นระเบิดในทวีปแอฟริกา และในครั้งนี้ได้ถูกนำมาฝึกฝนเพื่อช่วยงานด้านการค้นหาและกู้ภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น


หนูจะสวมกระเป๋าเป้ที่มีกล้องขนาดเล็ก ซึ่งสามารถส่งรายงานเป็นภาพวิดีโอกลับไปยังสมาร์ตโฟนของทีมผู้ช่วยเหลือที่อยู่ข้างนอกได้ นอกจากนี้ยังมีไมโครโฟนที่สื่อสารได้แบบ 2 ทาง ทำให้ทีมกู้ภัยสามารถพูดคุยกับเหยื่อได้ ซึ่งกระเป๋าเป้นี้มีซานเดอร์ เวอร์ดีเซ่น (Sander Verdiesen) เป็นผู้เริ่มออกแบบกระเป๋าเป้ ตั้งแต่ตอนเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเฟิน (Eindhoven University of Technology) 


นอกจากนี้ บนตัวหนูยังมีเสื้อที่มีไมโครสวิตช์ ซึ่งหนูจะถูกฝึกให้กดสวิตช์เพื่อระบุตำแหน่งเมื่อพบกับผู้รอดชีวิต แล้วผู้ช่วยชีวิตที่อยู่ด้านนอกก็จะส่งสัญญาณกลับไปยังหนูเพื่อบอกให้พวกมันกลับขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อรับรางวัล เช่น ถั่วลิสง หรือกล้วยบดผสมอะโวคาโด


อย่างไรก็ตามการใช้งานกระเป๋าเป้มักจะประสบปัญหาระบบกำหนดตำแหน่ง (GPS) ไม่ทำงานเมื่ออยู่ใต้กองขยะ ทีมงานจึงต้องใช้เทคโนโลยีหลายอย่างรวมเข้าด้วยกัน รวมถึงการใช้สัญญาณความถี่ต่ำ ซึ่งสามารถเดินทางผ่านเศษหินหรืออิฐเพื่อระบุตำแหน่งของผู้รอดชีวิตได้ และได้พัฒนาให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 


หนูที่ถูกนำมาใช้งานจะถูกฝึกอยู่กับองค์กรอะโพโพ (Apopo) ในประเทศแทนซาเนีย โดยใช้เวลา 15 นาทีต่อวันฝึก ซึ่งเป็นโครงสร้างจำลองที่คล้ายกับซากปรักหักพัง การฝึกฝนจะทำในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะไม่อยากให้ดูเหมือนเป็นการทรมานสัตว์จนเกินไป นอกจากนี้ การฝึกยังรวมไปถึงการค้นหาผู้รอดชีวิต การกดสวิตช์เพื่อระบุตำแหน่ง และนำทางออกจากซากอาคาร


เมื่อเทียบกับการพัฒนาหุ่นยนต์กู้ภัยกับหนูกู้ภัยจะพบว่ามีข้อดีที่แตกต่างกันในแง่ของความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสของหนู เพราะหนูสามารถกลับมายังจุดเริ่มต้นได้เองหากสัญญาณขาดหาย และที่สำคัญยังใช้งบประมาณในการพัฒนาที่น้อยกว่าการพัฒนาหุ่นยนต์


ข้อมูลและภาพจาก Fastcompany



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง