รีเซต

จีนต่อ 'รูปปั้นเทพเจ้า' รวมเป็นหนึ่ง หลังถูกแยกฝังนาน 3,000 ปี

จีนต่อ 'รูปปั้นเทพเจ้า' รวมเป็นหนึ่ง หลังถูกแยกฝังนาน 3,000 ปี
Xinhua
16 มิถุนายน 2565 ( 21:00 )
60
จีนต่อ 'รูปปั้นเทพเจ้า' รวมเป็นหนึ่ง หลังถูกแยกฝังนาน 3,000 ปี

เฉิงตู, 16 มิ.ย. (ซินหัว) -- วันพฤหัสบดี (16 มิ.ย.) คณะนักโบราณคดีของจีนยืนยันความสำเร็จของการประกอบประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ขุดพบเมื่อไม่นานนี้ ณ ซากโบราณซานซิงตุย มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งเป็นการประกอบเข้ากับอีกหนึ่งชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่ขุดพบก่อนหน้านี้ ทำให้ประติมากรรมที่ถูกแบ่งแยกเมื่อราว 3,000 ปีก่อน รวมเป็นหนึ่งอีกครั้ง

 

ประติมากรรมสัมฤทธิ์อันวิจิตรงดงามนี้มีส่วนหัวคล้ายศีรษะมนุษย์และลำตัวคล้ายงู พร้อมดวงตาปูดโปน งา และเขา สำหรับบริเวณเหนือส่วนหัวเป็น "จุน" หรือภาชนะใส่เหล้าองุ่นโบราณ รูปทรงคล้ายแตรสีชาด บริเวณใต้ส่วนมือเป็น "เหลย" หรือภาชนะใส่เหล้าองุ่นโบราณ รูปทรงเหยือกฐานสี่เหลี่ยมรายงานระบุว่าประติมากรรมส่วนลำตัวถูกขุดพบจากหลุมบูชายัญ หมายเลข 8 เมื่อเร็วๆ นี้ ขณะชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่ขุดพบก่อนหน้ามาจากหลุมบูชายัญ หมายเลข 2 เมื่อปี 1986 โดยชิ้นส่วนอันไม่สมบูรณ์สวมผ้านุ่งแนบลำตัวลายเมฆและมีขาพร้อมกรงเล็บนก 2 ข้าง ซึ่งคณะนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าประติมากรรมศีรษะมนุษย์ ลำตัวงู และกรงเล็บนกนี้อาจเป็นรูปปั้นเทพเจ้าหร่านหงหลิน เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยโบราณวัตถุและโบราณคดีมณฑลซื่อชวน กล่าวว่าชิ้นส่วนจากหลุมต่างๆ ที่ประกอบเข้ากันพอดียืนยันข้อสันนิษฐานก่อนหน้านี้ของคณะนักโบราณคดี และยังมีนัยสำคัญยิ่งยวดต่อการบูรณะโบราณวัตถุจากซากโบราณซานซิงตุย โดยคาดว่าอาจมีการประกอบชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ลักษณะนี้เพิ่มขึ้นอีกในอนาคตการบูรณะโบราณวัตถุชิ้นใหม่นี้ยังบ่งชี้ว่าหลุมบูชายัญ 2 หลุม ถูกขุดขึ้นพร้อมกัน และประติมากรรมสัมฤทธิ์นี้ถูกแยกเป็นสองส่วนก่อนฝัง ซึ่งนับเป็นองค์ความรู้อันมีคุณค่าต่อการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ตามลำดับเวลาของหลุมบูชายัญแต่ละหลุม เหตุผลของการทำลายโบราณวัตถุ และภูมิหลังทางสังคมในขณะนั้นทั้งนี้ ซากโบราณซานซิงตุย ซึ่งถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสุดยอดการค้นพบทางโบราณคดีอันยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกแห่งศตวรรษที่ 20 ถูกค้นพบช่วงปลายทศวรรษ 1920 ครอบคลุมพื้นที่ 12 ตารางกิโลเมตร ณ เมืองกว่างฮั่น มณฑลซื่อชวน โดยมีการคาดการณ์ว่าซากโบราณแห่งนี้ตกทอดมาจากอาณาจักรสู่ (Shu Kingdom) ซึ่งมีความเก่าแก่ราว 3,000-4,500 ปีเมื่อปี 1986 คณะนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุล้ำค่าหลายพันชิ้นจากหลุมบูชายัญ หมายเลข 1 และหมายเลข 2 อาทิ คทาทองคำ และต้นไม้สัมฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งปลุกกระแสความสนใจจากทั่วโลก ต่อมามีการขุดค้นหลุมบูชายัญเพิ่ม 6 หลุม ตั้งแต่ปี 2020 โดยปัจจุบันมีการค้นพบโบราณวัตถุมากกว่า 50,000 ชิ้น อาทิ เครื่องสัมฤทธิ์ หยก เครื่องทอง เครื่องปั้นดินเผา และวัตถุทำจากงาช้าง[gallery type="thumbnails" columns="1" size="full" ids="289182,289187,289181,289180,289186,289185,289184,289183"]

ข่าวที่เกี่ยวข้อง