รีเซต

ออมสินวางกลยุทธ์ปีเสือ ลุยสินเชื่อที่ดิน-ขายฝาก

ออมสินวางกลยุทธ์ปีเสือ ลุยสินเชื่อที่ดิน-ขายฝาก
ทันหุ้น
19 ธันวาคม 2564 ( 20:09 )
1.2K
ออมสินวางกลยุทธ์ปีเสือ ลุยสินเชื่อที่ดิน-ขายฝาก

ทันหุ้น - ธนาคารออมสิน เปิด 5กลยุทธ์ปี 2565 เน้นช่วยสังคมเพื่อโอกาสแหล่งเงิน เล็งให้บริการทำสินเชื่อที่ดิน-ขายฝาก ในไตรมาส 3/2565 พร้อมลุย Digital Lending  รวมถึงการขาย/โอนหนี้ เพิ่มความคล่องตัวให้ภาคธุรกิจ ยืนยันยึดหลักกำไรเหมาะสม โชว์ประสบความสำเร็จดึงดอกเบี้ยตลาดธุรกิจจำนำทะเบียนลงได้

 

นายวิทัย  รัตนากร ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ในปี 2565 ธนาคารยังคงเดินหน้าทำภารกิจช่วยเหลือสังคมที่เป็นรูปธรรมในหลายมิติ โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างกำไรในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ในปีหน้าธนาคารได้มีเป้าหมายหลักสำคัญเพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้กับประชาชน รวมไปถึงผู้ประกอบการต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ผ่านแนวคิด 5 ประการสำคัญ ได้แก่ 1.การสร้างงาน สร้างอาชีพ โดยเป็นการสร้างโอกาสให้ฟื้นตัว เสริมสร้างอาชีพ สนับสนุนช่องทางสร้างรายได้ สนับสนุนแหล่งเงินทุน  2.แนวคิดในการทำสินเชื่อที่ดิน-ขายฝาก โดยการจัดตั้งบริษัทลูกให้บริการด้านสินเชื่อที่ดินและการขายฝาก คาดสามารถให้บริการภายในไตรมาส 3/2565  3.การทำ Digital Lending on MyMo ซึ่งจะเป็นการพัฒนาและยกระดับแอปพลิชั่น MyMo ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  4.ออมเพื่อการเกษียณ ซึ่งเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เงินฝาก สร้างหลักประกันเมื่อเกษียณอายุ และ 5.การขาย/โอนหนี้ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้ภาคธุรกิจ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

 

@ปรับลดดอกเบี้ยตลาด

นอกจากนี้ธนาคารยังมีบทบาทในการช่วยเหลือประชาชนตั้งแต่ปี 2563-2564  กว่า 36โครงการ   รวมแล้วกว่า 1.8ล้านล้านบาท ซึ่งในส่วนของการเสริมสภาพคล่อง ธนาคารสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนรวมกว่า 2.2 แสนล้านบาท

 

รวมถึงยังช่วยปรับลดโครงสร้างดอกเบี้ยตลาด เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ปรับลดดอเบี้ย จาก 24% ต่อปี เหลือ 14-18% ต่อปี สินเชื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ ดอกเบี้ยต่ำ 0.1-0.35% และช่วยผ่อนปรนภาระหนี้ ตามความสามารถในการชำระหนี้เพื่อไม่ให้เสียประวัติการเงิน อยู่ที่จำนวนกว่า 3.4 ล้านราย หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท สำหรับผลการดำเนินงานทางการเงิน ปัจจุบันธนาคารมีสินทรัพย์รวม 3 ล้านล้านบาท มีเงินฝากรวม 2.55 ล้านล้านบาท มีสินเชื่อรวม 2.26 ล้านล้านบาท

 

ในส่วนของผลบริหารการดำเนินงานปี 2564ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 89,730ล้านบาท รายได้อื่นๆ 10,320 ล้านบาท ขณะที่มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยอยู่ที่ 28,040 ลดลง 7,859ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 28,790 ลดลง 4,400ล้านบาท ส่งผลให้ผลการดำเนินสามารถลดต้นทุนกว่า 12,259ล้านบาท นอกจากผลการดำเนินงานมีแนวโน้มดีขึ้น จากการที่ธนาคารยังสามารถปรับตัวให้สอดรับกับบทบาทก้าวเข้าสู่  Social Bank  สามารถนำส่งรายได้เข้าคลังได้อยู่ที่ 15,978 ล้านบาท และยังสร้างแข็งแกร่งให้องค์กรซึ่งสามารถ General Provision กันสำรองเพิ่ม 32,434ล้านบาท รองรับ NPL ได้กว่า 60,000ล้านบาท

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง