รีเซต

ไทยเดินหน้าผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ด้วยเทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยง

ไทยเดินหน้าผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่  ด้วยเทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยง
TNN ช่อง16
29 ตุลาคม 2567 ( 12:01 )
17

นายประเสริฐ จันทรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติครั้งที่ 2/2567 โดยที่ประชุมเห็นชอบการสร้างความร่วมมือการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยเทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยงในระดับอุตสาหกรรม เพื่อความมั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศและภูมิภาค ซึ่งการผลิตวัคซีนได้เองในประเทศเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการรองรับการระบาดของโรคอุบัติใหม่ และโรคหวัดซ้ำ 


นายประเสริฐ กล่าวว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องยกระดับเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลด้วยเทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งใช้เวลาผลิตน้อยกว่าการผลิตโดยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ดั้งเดิมขององค์การเภสัชกรรม โดยเทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยงได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาจากประเทศเกาหลีใต้  นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบในการเดินหน้าวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก หรือวัคซีน hpv ชนิด 9 สายพันธุ์ รวมถึงให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาวัคซีน และให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในประเด็นการพัฒนาวัคซีนในระยะยาว


ด้านนายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ  ระบุว่า การพัฒนาเทคโนโลยีประเทศเกาหลีพัฒนาร่วมกับบริษัท เอสเคดาวสัน โดยมีการเจรจารูปแบบการผลิควัคซีนในรูปแบบของการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อนำเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในรูปแบบเซลล์เพาะเลี้ยงมาใช้ 


นอกจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้ว อนาคตจะมีการพัฒนาวัคซีน PCV หรือวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนที่อาจมีการขยายศัลยภาพ ต่อในอนาคต ส่วนการผลิตวัคซีนจากไข่ไก่ยังไม่ยกเลิกแต่อาจจะต้องไปพิจารณาว่าจะไปใช้เพื่อการผลิตวัคซีนตัวอื่นได้หรือไม่ โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีของประเทศสหรัฐอเมริกา ในการพัฒนาวัคซีน และหากถ้ายังจำเป็นต้องใช้วัคซีนต้องดูว่าใช้ได้อยู่หรือไม่ ก้าวต่อไปจากนี้คือต้องมาวางยุทธศาสตร์ การผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในอนาคต 


ส่วนวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกหรือ hpv ยังคงจัดสรรให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือเด็กตั้งแต่อายุ 11 ปีอจนถึงอายุ 20 ปี ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช เป็นผู้จัดซื้อ ในปีงบประมาณ 2568 และเป็นผู้ดำเนินการจัดสรร ซึ่งจะมีการเก็บตก ในกลุ่ม เด็กม 3 และ ม 4 ที่ได้รับวัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ ที่ฉีดเข็มแรกไปก่อนหน้านี้แล้ว สำหรับวัคซีน HPV ที่จัดสรรให้ในรอบนี้จะเป็นวัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ โดยการฉีดเข็มเดียวสามารถมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90 ซึ่งในอนาคตอีก 10 ปีจะมีการตรวจสอบว่าภูมิคุ้มกันลดลงหรือไม่


ข่าวที่เกี่ยวข้อง