รีเซต

ประกันสังคมแรงงานต่างด้าว ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

ประกันสังคมแรงงานต่างด้าว ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
TNN ช่อง16
26 ตุลาคม 2564 ( 16:22 )
288
ประกันสังคมแรงงานต่างด้าว ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

แรงงานต่างด้าว หรือแรงงานต่างชาติ ถือเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจในประเทศไทย ซึ่ง ประกันสังคม ได้รับรองสิทธิประโยชน์สำหรับแรงงานที่เข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมาย โดยจะได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเหมือนผู้ประกันตนคนไทย


แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีกี่ประเภท


แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยได้แก่สัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้


1. กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมืองและได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยและทำงานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้จะมีสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ระหว่างรอการส่งกลับ โดยแรงงานต่างด้าวต้องดำเนินการรายงานตัวจดทะเบียนประวัติกับกรมการปกครอง เพื่อขอรับเอกสารรับรองรายการทะเบียนประวัติ (ท.ร.38/1) แล้วต้องไปตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพกับกระทรวง สาธารณสุข และมาขออนุญาตทำงานกับกรมการจัดหางาน เมื่อดำเนินการครบตามขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอนแล้ว แรงงานต่างด้าว จะได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อการทำงาน 


2. กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ โดยเป็นแรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนผ่อนผันตามข้อที่ 1 และไปเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติกับทางการของประเทศต้นทาง ประเทศต้นทางจะออกหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate Of Identity) ให้เป็นหลักฐาน ซึ่งแรงงานต่างด้าวนำหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลไปขอรับการตรวจลงตรา (Visa) และประทับตราให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี จากเจ้าหน้าที่ตรวจ คนเข้าเมืองของไทย โดยวีซ่าที่ได้รับจะเป็นวีซ่าเพื่อการทำงาน (Non Immigrant L-A) สถานะของแรงงานต่างด้าวจะกลายเป็นผู้เข้าเมือง ถูกต้องตามกฎหมาย และต้องมาขออนุญาตทำงานภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนด 2 ปี สามารถขออยู่ต่อได้อีกเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี เมื่อครบ 4 ปี แล้วต้องเดินทางกลับออกไป


3. กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา รายใหม่ ที่นำเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ (MOU) แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ จะได้รับการตรวจลงตรา (Visa) เพื่อการทำงาน (Non Immigrant L-A) และประทับตราให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี สถานะของแรงงานต่างด้าวเป็นผู้เข้าเมืองถูกกฎหมาย และต้องมาขออนุญาตทำงานภายใน 30 วัน นับจากวันที่เข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อครบกำหนด 2 ปี สามารถขออยู่ต่อได้อีกเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี เมื่อครบ 4 ปี แล้วต้องเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร



การยื่นทำประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว ทำอย่างไร

 

- ยื่นได้หลังจากเข้าทำงานโดยมีหลักฐานใบอนุญาตการทำงานภายใน 30 วัน

- กรณีนายจ้างยังไม่ขึ้นทะเบียนสำนักงานประกันสังคมให้ทำการยื่น สปส.1-01 ก่อน

- กรณีขึ้นทะเบียนแล้ว ให้ทำการแจ้งผู้ประกันตน สปส.1-03 พร้อมกับหนังสือเดินทาง และใบอนุญาตในการทำงาน โดยต้องไปยื่นในพื้นที่ที่ทำงานกับนายจ้างเท่านั้น

- เมื่อยื่นแล้วนายจ้างต้องทำการจ่ายเงินประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนต่อไป ในรูปแบบ สปส.1-10


เงื่อนไขการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว

 

แรงงานต่างด้าวที่ต้องการขึ้นทะเบียนประกันสังคมมีคุณสมบัติดังนี้

 

- จะต้องเป็นแรงงานที่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารแสดงตัวแทนหนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตการทำงาน (Work permit)

- จะต้องผ่านการพิสูจน์สัญชาติ โดยมีหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of identity) และใบอนุญาตการทำงาน (Work permit)
- หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองไทยแต่ได้รับการผ่อนผันให้สามารถทำงานชั่วคราวได้ เมื่อเจ็บป่วย หรือได้รับบาดเจ็บจากการทำงานต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ประกันสังคมเพื่อดำเนินการให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน ซึ่งจะได้รับจำนวนเงินเท่ากับแรงงานไทย


สิทธิประกันสังคมที่แรงงานต่างด้าวได้รับ มีอะไรบ้าง

 

- กรณีคลอดบุตร

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม


- กรณีการสงเคราะห์บุตร

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม


- กรณีเจ็บป่วย หรือได้รับอันตรายจากการทำงาน

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม

- กรณีทุพพลภาพ- กรณีชราภาพ

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม


- กรณีว่างงาน

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม

- กรณีเสียชีวิต

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม


ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวที่จะได้รับสิทธิของทางประกันสังคม ต้องเป็นแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย หรือเป็นแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้สามารถทำงานได้ชั่วคราวเท่านั้น

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง