รีเซต

ผชช.ไทยชี้ 'NEV จีน' หนุนต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผชช.ไทยชี้ 'NEV จีน' หนุนต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Xinhua
24 พฤษภาคม 2567 ( 16:31 )
12

(แฟ้มภาพซินหัว : คนงานทำงานที่โรงงานผลิตยานยนต์ของเกรท วอลล์ มอเตอร์ ในจังหวัดระยอง วันที่ 12 ม.ค. 2024)

กรุงเทพฯ, 24 พ.ค. (ซินหัว) -- สุโรจน์ แสงสนิท อุปนายกฝ่ายอุตสาหกรรมและพัฒนาธุรกิจ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่าจีนในฐานะผู้นำโลกด้านการผลิตยานยนต์พลังงานใหม่ (NEV) มีส่วนส่งเสริมการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมการพัฒนาอันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่กำลังเติบโตของจีนยังไกลจากจุดสูงสุดสุโรจน์กล่าวว่าภาคอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ไม่ได้มีกำลังการผลิตล้นเกิน และความพยายามยับยั้งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกยังคงน้อยไป ส่วนการปรับใช้การขนส่งแบบปล่อยมลพิษเป็นศูนย์อย่างยานยนต์พลังงานใหม่อาจเป็นแนวทางอันคุ้มค่าและปฏิบัติได้จริงในการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีกำลังพัฒนาอื่นๆจีนมีการใช้ยานยนต์พลังงานใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2023 โดยราวร้อยละ 30 ของยอดจำหน่ายยานยนต์ทั้งหมดเป็นยานยนต์พลังงานใหม่ ซึ่งการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลจากการพัฒนาอันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วและตลาดยานยนต์ที่เติบโตของจีนกำลังการผลิตยานยนต์พลังงานใหม่ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการในการเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่การขนส่งที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า แม้จีนตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนยานยนต์พลังงานใหม่ในยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่เป็นร้อยละ 45 ภายในปี 2027 พร้อมทยอยยกเลิกการใช้รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในรุ่นเก่าอนึ่ง องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดการณ์ว่าความต้องการยานยนต์พลังงานใหม่ทั่วโลกจะสูงถึง 45 ล้านคันภายในปี 2030 ซึ่งสูงขึ้น 4.5 เท่าจากปี 2022สุโรจน์มองว่ากลุ่มผู้ผลิตยานยนต์ของจีน ซึ่งกำลังใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีมาจัดตั้งโรงงานผลิตและกิจการร่วมค้าในต่างประเทศ ถือเป็นผู้มีส่วนส่งเสริมสำคัญที่นำพาการแข่งขัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความสามารถซื้อหามาสู่ตลาดไทย โดยความร่วมมือนี้ยังสร้างงานและส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่บริษัทท้องถิ่นในไทยอีกด้วยประเทศต่างๆ ควรให้ความสำคัญกับความร่วมมือมากกว่าการกีดกันทางการค้าขณะเดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะการทำงานร่วมกันช่วยให้เกิดการแบ่งปันความรู้และเทคโนโลยี ทำให้แต่ละประเทศบรรลุความก้าวหน้าในระดับพอกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง