รีเซต

เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม "เกษตรกร" ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 2564 ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่

เช็คเงินเยียวยาน้ำท่วม "เกษตรกร" ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 2564 ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่
Ingonn
8 ตุลาคม 2564 ( 13:50 )
7K

จากสถานการณ์น้ำท่วม ที่ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนแล้วยังส่งผลต่อพื้นที่การเกษตรกว่าแสนไร่อีกด้วย ทางกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เตรียมมาตราการ "เงินเยียวยา ช่วยเหลือเกษตร" จังหวัดในพื้นที่ที่ประสบภัย "น้ำท่วม 2564" โดยเร่งลงพื้นที่สำรวจความเสียหายของพื้นที่เกษตรหลังน้ำลด เพื่อเสนอให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง พร้อมให้คำแนะนำแนวทางการฟื้นฟูพื้นที่แก่เกษตรกร รวมถึงเตรียมสำรองพันธุ์พืช เพื่อสนับสนุนเกษตรกรได้ทันท่วงที 

 

 

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา มีการปรับหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 ซึ่งสำหรับหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือนั้น เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรหรือปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัย และมีพื้นที่เสียหายสิ้นเชิงอยู่ในพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ

 

 

โดยเมื่อพืชผลของเกษตรกรได้รับความเสียหายให้เกษตรกรยื่นแบบการขอรับความช่วยเหลือ (กษ 01) ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. หรือนายกเทศมนตรี ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองเอกสาร แล้วให้คณะกรรมการหมู่บ้านตรวจสอบและรับรองความเสียหาย หลังจากนั้นให้ติดประกาศคัดค้านตามสถานที่ที่กำหนด ไม่น้อยกว่า 3 วัน เมื่อไม่มีผู้คัดค้าน สำนักงานเกษตรอำเภอนำเสนอคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) พิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยเกษตรกรที่จะได้รับความช่วยเหลือจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัยพิบัติ จึงจะได้รับการช่วยเหลือตามพื้นที่เสียหายจริง ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ 

 

 

หลักเกณฑ์ "เงินเยียวยาเกษตรกร" จากน้ำท่วม 2564 

  • เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรหรือปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัย
  • มีพื้นที่เสียหายสิ้นเชิงอยู่ในพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564

 

 

มาตรการเงินช่วยเหลือเกษตรกร

  • ข้าว ไร่ละ 1,340 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่
  • พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่
  • ไม้ผล ไม้ยืนต้นและอื่นๆ ไร่ละ 4,048 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่

 

 

ขั้นตอนการช่วยเหลือเกษตรกร

1.ผวจ. ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ


2.เกษตรกรยื่นแบบขอรับการช่วยเหลือ (กษ 01) ซึ่งมี ผญบ./กำนัน/อบต. หรือนายกเทศมนตรีตรวจสอบและรับรอง ตามสถานที่ที่กำหนด


3.คณะกรรมการหมู่บ้านตรวจสอบ และรับรองความเสียหาย


4.นำรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการตรวจสอบแล้วไปติดประกาศคัดค้านตามสถานที่ที่กำหนดไม่น้อยกว่า 3 วัน


5.สำนักงานเกษตรอำเภอนำเสนอคณะกรรมการ ก.ช.ภ.อ. พิจารณาให้ความช่วยเหลือ วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท


6.หากไม่เพียงพอเสนอคณะกรรมการ ก.ช.ภ.จ. อำนาจ ผวจ. วงเงิน 20 ล้านบาท


7.หากพื้นที่เสียหายมากและไม่เพียงพอ อยู่ในอำนาจ ปลัด กษ. วงเงิน 50 ล้านบาท

 

 

หลังจากที่อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว เกษตรกรต้องยื่นแบบความจำนงขอรับการช่วยเหลือ (กษ 01) โดยให้ผู้นำรับรอง ก่อนจะมีการตรวจสอบทะเบียนเกษตรกร และพื้นที่เสียหายจริง เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามขั้นตอนต่อไป  

 

นอกจากการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 แล้ว กรมส่งเสริมการเกษตรได้เตรียมพืชพันธุ์ดี เช่น ต้นพันธุ์พืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น หรือพืชเศรษฐกิจ และสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อไตรโคเดอร์ม่า พร้อมแจกจ่ายช่วยเหลือเกษตรกรหลังน้ำลดไว้พร้อมแล้ว

 

 

 

ข้อมูลจาก ประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง