เปิดวิธีบริหารเงิน หลังเที่ยว “สงกรานต์65” ให้อยู่รอดถึงสิ้นเดือน!
"เทศกาลสงกรานต์ 2565" เป็นอีกช่วงเวลาแห่งความสุขที่ทุกคนจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่และเดินทางกลับไปหาครอบครัวหรือไปเที่ยวต่างจังหวัดกันอย่างคึกคัก แต่พอหลังจากจบเทศกาล สุขภาพทางการเงินในกระเป๋าก็ไม่ค่อยมีเหลือ ดังนั้นเมื่อเราวางแผนไปพักผ่อนได้ เราก็ต้องวางแผนในการบริหารเงินได้เช่นกัน
เปิดวิธีบริหารเงิน หลังเที่ยว “สงกรานต์65”
วันนี้ True ID จะมาแชร์เทคนิคดีๆ ในการบริหารเงินช่วงสงกรานต์ ให้มีเงินเหลือใช้ถึงสิ้นเดือนกัน
วางแผนก่อนวันสงกรานต์
1.วางแผนการเดินทาง
ควรวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าสำหรับเทศกาลสงกรานต์ว่าจะทำอะไรบ้าง ไปที่ไหน เดินทางอย่างไร เพราะจะทำให้ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางหรือทำกิจกรรมอีกด้วย
2.คำนวณค่าใช้จ่าย
คำนวณดูว่าต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้เก็บเงินให้ได้ตามงบที่ต้องใช้
3.เที่ยวสงกรานต์ใกล้บ้าน
เพื่อสะดวกต่อการเดินทาง ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย
4.ซื้อของฝากเท่าที่จำเป็น
หลายคนชอบซื้อของฝากให้กับคนจำนวนมาก ทำให้เสียค่าใช้จ่ายกับส่วนนี้ค่อนข้างเยอะ อาจปรับเป็นซื้อให้เฉพาะคนที่จำเป็นหรือคนที่สนิทกัน หรือซื้อของฝากที่สามารถแบ่งกันได้หลายๆคนในชิ้นเดียว
5.เตรียมเงินสดให้พอ พร้อมพกบัตรเครดิตแค่ใบเดียว
เพราะช่วงเทศกาลหยุดยาว จะมีคนออกมาให้เงินกันอย่างสพัด เราจึงควรมีการวางแผนเตรียมเงินสดให้พอ ซึ่งธนาคารบางสาขาก็หยุดทำการ และอาจจะมีคนมาต่อคิวใช้บริการตู้กดเงินกันจำนวนมาก
วางแผนหลังวันสงกรานต์
1.สรุปรายการใช้จ่าย และวางแผนการประหยัด
หลังจากกลับมาแล้วควรทำบัญชีรายรับรายจ่าย โดยคำนวณจากจำนวนเงินที่เรามีเหลืออยู่ แล้วหารเฉลี่ยต่อวันว่าใช้สูงสุดได้กี่บาท
การคำนวณค่าใช้จ่ายจากการเที่ยวทั้งหมดเป็นสิ่งที่เราควรทำ เพื่อให้เราสามารถประมาณการได้ถูกว่า ทริปไปเที่ยวครั้งหนึ่งนั้นเราใช้เงินไปกับอะไรบ้าง และสามารถควบคุมเงินในกระเป๋าได้มากขึ้น
2. เริ่มต้นจากประหยัดค่าอาหาร
ค่าอาหาร เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นสัดส่วนค่อนข้างใหญ่ อีกทั้งยังเป็นอะไรที่ใกล้ตัวที่สุดในการลดค่าใช้จ่ายลง
วิธีการตั้งเป้าหมาย
จดบันทึกว่าช่วงสงกรานต์ใช้จ่ายไปกับค่าอาหารมากน้อยแค่ไหน นำส่วนที่เกินนั้นมาหารเฉลี่ยในช่วง 10 วันที่เหลือของเดือนเมษายน เป็นเป้าหมายเบื้องต้นในการประหยัดเงินในแต่ละวันของเรา (สามารถปรับแต่งจากนี้ได้)
ตัวอย่าง
• การทำอาหารทานเอง อาจเลือกซื้อวัตถุดิบจากตลาด ซึ่งผัก 1 กำราคาแค่ประมาณ 5 บาทเท่านั้น ถ้าเทียบกันกับการซื้ออาหารทาน โดยใช้เงินไม่ถึง 1,000 บาท ก็ซื้อวัตถุดิบง่ายๆ มาทำอาหารทานได้แล้วทั้งสัปดาห์ (สำหรับ 1 คน)
3.จัดบ้านก็ช่วยให้คุณประหยัดได้
การจัดบ้านเป็นอีกกิจกรรมที่น่าทำในวันสงกรานต์ และอาจจะพบสิ่งของ หรือของมีค่า ที่ซื้อมาแล้วไม่เคยใช้หรือซื้อมาแล้วยังไม่ได้ใช้เพราะลืมนึกถึงไป นอกจากจะประหยัดเงินจากการซื้อของใหม่แล้ว ยังสามารถหารายได้เพิ่มเติมจากการขายของมือสองอีกด้วย
4. ตัดรายจ่ายจุกจิกออก
โดยลิสต์รายจ่ายสิ่งที่ไม่จำเป็นออกมา หากตัดออกได้ให้ตัด หรือหากทำได้ยาก ให้มองหาทางเลือกทดแทนที่ประหยัดกว่า
5.ใช้สิทธิพิเศษที่เรามี
ไม่ว่าจะเป็น สิทธิพิเศษจากค่ายมือถือที่เราใช้ จากแอปพลิเคชันต่างๆ บริการการที่สะสมแต้มที่สามารถนำแต้มมาแลกเป็นส่วนลดค่าอาหาร ตั๋วชมภาพยนตร์ฟรี หรือสิทธิอื่นๆ อีกมากมาย
6.ลดเงินท่องเที่ยวของเดือนอื่นๆ
การลดงบท่องเที่ยวของเดือนอื่นลงก็เป็นอีกข้อที่ช่วยได้ เพราะว่าเราใช้จ่ายไปกับเดือนนี้เยอะแล้ว หรือลองไปเที่ยวในสถานที่ใกล้ๆ แทน เพื่อที่ค่าใช้จ่ายที่น้อยลง
7.ตั้งเป้าหมาย และแรงบันดาลใจ ด้วยการวางแผนการเงินไว้สำหรับเที่ยวในปีหน้า
ตั้งเงินก้อนที่เราตั้งใจว่าเอามาใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว โดยประมาณจากทริปที่อยากไปในปีหน้า เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายตั้งแต่เนิ่นๆ และนอกจากงบท่องเที่ยวก็ควรตั้ง “งบฉุกเฉิน” เอาไว้ด้วย เพราะเราไม่สามารถรู้เหตุการณ์ในอนาคตได้เลย เพราะอาจจะมีอุบัติเหตุหรือเรื่องไม่คาดฝันตามมาก็ได้
นี่เป็นเพียงวิธีคร่าวๆที่รวบรวมมาให้ทุกคนได้ลองวางแผนงบเที่ยวสงกรานต์นี้ เพื่อจะได้มีเงินเหลือใช้ได้ถึงสิ้นเดือนโดยไม่ต้องลำบากใจ จนมานับถอยหลังวันเงินเดือนออกกัน!
ข้อมูลจาก ธนาคารกรุงศรี, เครดิตบูโร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รวม App ติดมือถือไว้เลย! รับสงกรานต์ 2565
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
กดเลย >> community แห่งความบันเทิง
ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี