รีเซต

แผ่นดินไหวนอนคอนโดยังหวาดระแวง แก้ไขได้อย่างไร

แผ่นดินไหวนอนคอนโดยังหวาดระแวง แก้ไขได้อย่างไร
TNN ช่อง16
1 เมษายน 2568 ( 13:36 )
10

แผ่นดินไหว้เพิ่งผ่านมาหมาด ๆ ชาวคอนโดที่อาคารได้ความเสียหายมากต้องย้ายที่อยู่ แต่ชาวคอนโดบางส่วนที่โชคดีห้องยังอยู่อาศัยได้ ก็หนี้ไม่พ้นอาการ หวาดระแวง หรือ พารานอย ว่าคอนโดที่เรานอนอยู่จะถ่ลมลงมาเมื่อไหร่ แม้ทั้ง ๆ ที่อาจจะได้รับคำยืนยันแล้วว่าอาคารนั้นแข็งแรงดี 

หวาดระแวง (Paranoid) คือภาวะผิดปกติทางความคิดที่ทำให้เคลือบแคลงสงสัยหรือระแวงผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่า มีคนจ้องทำร้ายอยู่ตลอดเวลา คิดว่าคนรอบข้างไม่ชอบตนเอง หรือไม่ไว้ใจผู้อื่น อาการเหล่านี้ เรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า "อาการหลงผิด"


อาการของภาวะหวาดระแวง

คนทั่วไปอาจมีอาการหวาดระแวงในระดับอ่อนบ้าง แต่ผู้ที่ประสบภาวะนี้อย่างรุนแรงอาจรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวลจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงของอาการหวาดระแวงจะแตกต่างกันไป

ความหวาดระแวงที่พบได้ในชีวิตประจำวัน หรือความระมัดระวังตัว ซึ่งสิ่งที่เป็นนี้จะไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิตมากอาจจะมีอาการ ดังนี้

  1. วิตกกังวลมากกว่าคนทั่วไป
  2. มีความรู้สึกไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ
  3. ระแวงว่าคนอื่นจะไม่เป็นมิตรกับเรา และอาจจะหวาดกลัวภัยอันตรายที่อยู่ใกล้ตัวเรา
  4. รู้สึกเหมือนโดนจับผิดมากกว่าคนอื่น ๆ

ส่วนอาการหวาดระแวง ที่ควรไปพบแพทย์ มีอาการ ดังนี้

  1. คิดไปเองว่าจะมีคนมาทำร้าย
  2. หูแว่ว
  3. มักจะแยกตัวจากผู้อื่น
  4. ไม่สามารถแยกแยะความเป็นจริงกับจินตนาการได้
  5. การใช้เหตุผลและความจำเสื่อมถอย
  6. หวาดระแวงเรื่องต่าง ๆ โดยไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง เช่น มุดไปนอนใต้โต๊ะเพราะกลัวแผ่นดินไห ทั้งที่ไม่มีสัญญาณแผ่นดินไหวใด ๆ เกิดขึ้น

สำหรับผู้ที่มีอาการหวาดระแวงมีวิธีรับมือดังนี้

1. เขียนบันทึก สังเกต/เขียนสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง เช่น สิ่งที่ทำให้หวาดระแวง/หลงผิด ความถี่ของอาการพฤติกรรมตนเอง และเหตุการณ์อื่นๆที่เกิดขึ้นตามมา เพื่อให้ทราบสาเหตุและแนวโน้ม เมื่อมีอาการหวาดระแวง/หลงผิดเกิดเมื่อไหร่ และอะไรที่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้

2. ปรึกษาคนรอบข้าง ระบายความเครียด กังวล

3. ทำกิจกรรม ใช้เวลากับคนในครอบครัว เพื่อน คนรอบข้าง

4. ผ่อนคลายความกังวล หางานอดิเรก

5. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารให้ครบถ้วน

6. เลี่ยงการใช้สารเสพติด


สำหรับคนใกล้ชิดสามารถช่วยเหลือผู้ที่มีอาการหวาดระแวงได้ดังนี้

1. สังเกตอาการ อะไรที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหวาดระแวง

2. พูดคุยเปิดใจ ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับรู้มุมมองที่ต่างออกไป ลดความเครียด

3. ทำความเข้าใจ ความรู้สึก ไม่มองว่าเป็นเรื่องไร้เหตุผล แต่ควรเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วย และหมั่นสังเกตถึงความรุนแรงของอาการและพยายามช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นเมื่อเกิดอาการหวาดระแวง

4. ช่วยเหลือเต็มที่ คอยสอบถามและเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจว่ามีคนให้พึ่งพาได้ในยามเผชิญปัญหา

5. เคารพการตัดสินใจ ไม่ตัดสินใจแทนผู้ป่วย

6. แนะนำสายด่วน 1323 พร้อมรับฟังและให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม.

7. ดูแลตัวเองให้ดี พักผ่อนและดูแลสุขภาพกายและใจให้เป็นปกติอยู่เสมอ

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง