รีเซต

นักวิทย์ไขแล้ว "มัมมี่ลูกหมาป่า" ในแคนาดา อยู่บนโลกเมื่อ 56,000 ปีก่อน

นักวิทย์ไขแล้ว "มัมมี่ลูกหมาป่า" ในแคนาดา อยู่บนโลกเมื่อ 56,000 ปีก่อน
ข่าวสด
23 ธันวาคม 2563 ( 01:30 )
64

นักวิทย์ไขแล้ว - วันที่ 22 ธ.ค. บีบีซี รายงานความคืบหน้าการค้นพบ มัมมี่ลูกหมาป่า ซุกซ่อนในชั้นดินเยือกแข็งหลายหมื่นปี โดยคนงานเหมืองทอง ใกล้เมืองดอว์สัน ดินแดนยูคอน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา เมื่อปี 2559

 

GOVERNMENT OF YUKON

 

ล่าสุด คณะนักวิทยาศาสตร์ไขข้อสงสัยถึงอายุว่า ลูกหมาป่าเพศเมียตัวนี้ที่มีชื่อ จูร์ ซึ่งในภาษาท้องถิ่น ตรอนเด็กฮเวชิน หมายถึง หมาป่า อยู่บนโลกอย่างน้อยเมื่อ 56,000 ปีก่อน และเป็นมัมมี่ลูกหมาป่าในสภาพสมบูรณ์ 100% เนื่องจากทั้งเส้นขนและฟันยังอยู่ ยกเว้นดวงตาสองข้าง

 

จูลี มีเชน นักบรรพชีวินวิทยา และศาสตราจารย์กายวิภาค มหาวิทยาลัยเด มวน ในรัฐไอโววา สหรัฐอเมริกา ผู้นำการศึกษา กล่าวว่า ทีมนักวิจัยใช้เทคนิคหลากหลายระบุชีวิตลูกหมาป่าในด้านต่างๆ ตั้งแต่อายุและอาหารถึงสาเหตุการตาย

 

การค้นพบตีพิมพ์ในนิตยสารวิทยาศาสตร์ชีววิทยาปัจจุบัน (Current Biology) เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. เผยว่าลูกหมาป่าและแม่ของมันทรัพยากรสัตว์น้ำ รวมถึงปลา เช่น แซลมอน

 

Government of Yukon

 

ด้วยการเปรียบเทียบข้อมูลจากสารพันธุกรรม (DNA) ของลูกหมาป่า และผลการวิเคราะห์เคลือบฟันของมัน ทีมนักวิจัยพบว่า จูร์อยู่และตายระหว่าง 56,000-57,000 ปีที่แล้ว ขณะเดียวกัน ฟิล์มเอกซ์เรย์ลำตัวลูกหมาป่าพบว่า อายุของมันก่อนตายอยู่ระหว่าง 6-8 สัปดาห์

 

การศึกษาตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าฟอสซิลหมาป่าโบราณจะค้นพบได้บ่อยในดินแดนยูคอนหรือรัฐอะแลสกาที่อยู่ใกล้เคียงของสหรัฐ แต่มัมมี่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่เป็นสิ่งหายาก

 

“เราคิดว่ามันอยู่ในถ้ำของมันและตายทันทีเนื่องจากถ้ำถล่มลงมาทับ ข้อมูลของเราแสดงว่ามันไม่ได้อดอาหาร และมีอายุราว 7 สัปดาห์ ตอนตาย เราจึงรู้สึกดีขึ้นเล็กน้อยที่ได้รู้ว่า ลูกหมาป่าน่าสงสารไม่ได้ทนทุกข์ทรมานนานเกินไป" จูลี มีเชน กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง