รีเซต

เครียดจาก "น้ำท่วม" สูง 1,554 คน เสี่ยงฆ่าตัวตาย 10 คน

เครียดจาก "น้ำท่วม" สูง 1,554 คน เสี่ยงฆ่าตัวตาย 10 คน
TNN ช่อง16
10 ตุลาคม 2565 ( 10:04 )
74

เครียดจาก "น้ำท่วม" สูง 1,554 คน เสี่ยงฆ่าตัวตาย 10 คน


นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าจากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดทั่วาประเทศ ข้อมูล จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. ณ วันที่ 8 ตุลาคม มีพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วม 23 จังหวัด และได้รับรายงานว่า มีสถานบริการสาธารณสุขได้รับผลกระทบสะสม 135 แห่ง

 

ได้แก่ โรงพยาบาล 11 แห่ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 1 แห่ง   สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 7 แห่ง  ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง 4 แห่ง และ รพ.สต. 112 แห่ง โดยเปิดให้บริการปกติ 90 แห่ง เปิดบริการบางส่วน 23 แห่ง และปิดหรือย้ายจุดบริการ 17 แห่ง  


โดยได้ส่งทีมแพทย์ลงพื้นที่ดูแลประชาชนต่อเนื่อง มีผู้เข้ารับบริการกว่า 62,000 คน พบเจ็บป่วยด้วยโรคน้ำกัดเท้ามากที่สุด 14,653 คน ตามด้วยโรคผิวหนัง ผื่นคัน 2,528 คน และระบบทางเดินหายใจ 2,520 คน ส่งทีม สหวิชาชีพที่ให้การช่วยเหลือทางด้านจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต ไปดูแลเยียวยาจิตใจ จำนวน 43 ทีม มีผู้เข้ารับบริการ 21,026 คน พบผู้มีภาวะเครียด 1,554 คน จังหวัดศรีสะเกษพบสูงถึง 1,236 คน อาการซึมเศร้าพบ 192 คน และเสี่ยงฆ่าตัวตาย 10 คน สูงสุดที่จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งหมดได้รับการดูแลแล้ว 









3 จุดสังเกต ชวนเช็กง่ายๆ ดูว่าเรากำลังเผชิญปัญหาสุขภาพจิตอยู่หรือเปล่า?

1. ความคิด 

เกิดความคิดเชิงลบในชีวิตประจำวัน หรือ ความคิดว่าเราไม่อยากมีชีวิตอยู่แล้วหรือเปล่า จากปกติที่ไม่เคยคิดมาก่อน หรืออยู่ดีๆ เกิดความกลัวสายตาคนอื่น หรือ ความคิดของคนอื่นขึ้นมาว่าเขาอาจทำร้ายเรา

2. พฤติกรรม 

พฤติกรรมนับรวมหมด ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการทำงาน หรือแม้กระทั่งการนอน ดูว่าเรามีพฤติกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงกะทันหันหรือไม่ หรือ เกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้างจากพฤติกรรมปกติ เช่น นอนไม่หลับไม่ทราบสาเหตุ หรือ จากที่เคยมีนิสัยคิดถี่ถ้วนก่อนใช้เงิน กลายเป็นฟุ่มเฟือยขึ้นมากะทันหัน และไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่แปลกไปของตัวเองได้

3. อารมณ์และความรู้สึก 

อารมณ์แปรปรวนง่ายๆ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือ มีความแตกต่างจากไปจากเดิมโดยไม่ทราบสาเหตุไม่สามารถควบคุมความเศร้าที่มากเกินไป หรือความโกรธที่มากเกินไปของตัวเองได้


แล้วรู้ได้อย่างไร? อาการเครียดสะสม หรือ เริ่มมีภาวะทางสุขภาพจิต

4 ระดับของความเครียด/ซึมเศร้า

สีเขียว เครียด แต่ "เอาอยู่"

ผลข้างเคียง : แม้ทุกคนมีความเครียดแต่ยังพอรับมือได้ด้วยตัวเอง

การช่วยเหลือ : แก้ปัญหาเชิงบวกเช่น ออกกำลังกาย ใช้เวลากับคบที่ตัวเองรัก

สีเหลือง เครียดจัดยังพอ "ประคองไปได้"

ผลข้างเคียง :  อยู่ระหว่างป่วยกับปกติเครียดสูง แต่ยังประคองตัวได้เป็นฟางเส้นสุดท้าย

การช่วยเหลือ : ปรับวิธีแก้ปัญหาหาคนรอบข้างรับฟังอย่างเข้าใจ

สีส้ม ซึมเศร้า กระทบกับงาน และการใช้ชีวิต

ผลข้างเคียง : ประสิทธิภาพการทำงานลดลง มีปัญหาปฏิสัมพันธ์ กับผู้อื่น

การช่วยเหลือ : พบแพทย์ หาคนรอบข้างที่รับฟังอย่างเข้าใจ

สีแดง ซึมเศร้า ทำร้ายตัวเอง ฆ่าตัวตาย

ผลข้างเคียง :  เสี่ยงทำร้ายตัวเอง ผู้อื่น สิ่งของ และฆ่าตัวตาย

การช่วยเหลือ : ไม่ควรให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว คนรอบข้าง ต้องเปิดใจรับฟัง






ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"โรคเครียดสะสม" คืออะไร แนะสังเกตตัวเอง มีอาการต่อไปนี้หรือไม่?




ภาพ TNNOnline  


ข่าวที่เกี่ยวข้อง