รีเซต

เปิดใจ “ไพเจน”พร้อมปักธงลงสนามนากยกอบจ.สงขลา

เปิดใจ “ไพเจน”พร้อมปักธงลงสนามนากยกอบจ.สงขลา
77ข่าวเด็ด
21 กรกฎาคม 2563 ( 00:20 )
144
เปิดใจ “ไพเจน”พร้อมปักธงลงสนามนากยกอบจ.สงขลา

สงขลา-เปิดใจ “ไพเจน”ขันอาสาพัฒนาสงขลาบ้านเกิด ปักธงลงสนามเลือกตั้งท้องถิ่นอบจ.ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจ ภายใต้แนวคิดทำหน้าที่บนเส้นทางผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่ ด้วยความพร้อมทั้งด้านประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ และเครือข่าย”พลเมือง”พลังร่วมอาสาพัฒนาสังคมน่าอยู่ สังคมแห่งความสุขแบบยั่งยืน

 

“ผมพร้อมทำหน้าที่พัฒนาสงขลาบ้านเกิดครับ” คำกล่าวด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ “รักแผ่นดินเกิด”ของว่าที่ร้อยตรีไพเจน มากสุวรรณา นายกสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา อดีตรองอธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดใจต่อการตัดสินใจขันอาสาเข้าสู่เส้นทางสายการเมืองท้องถิ่น จุดเริ่มต้นด้วยความตั้งใจพัฒนาพื้นคาบสมุทรสทิงพระ ด้วยการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน แนวคิดการขับเคลื่อนฟื้นคืนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มทะเลสาบสงขลา

 

โดยเฉพาะพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระตั้งแต่ อำเภอสทิงพระ สิงหนคร ระโนด และกระแสสินธุ์ พื้นที่ซึ่งมีความสำคัญในฐานะดินแดนแห่งคาบสมุทรและเป็นบ้านเกิดคือ  สทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร “รักแผ่นดินเกิด” เมื่อมีโอกาสและมีความพร้อมซึ่งมั่นใจในความสามารถและประสบการณ์ การสนับสนุนจากเครือข่ายเพื่อนพ้อง พ่อแม่พี่น้องชุมชนต่าง ๆ ที่เขาเชื่อมั่นจากการทำงานเมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง อดีตรองอธิบดีกรมชลประทาน และมีผลงานที่ภาคภูมิใจเป็นที่ประจักษ์ในฐานะลูกหลานชาวสงขลา

ผลงานสำคัญในพื้นที่ภาคใต้จากการบริหารจัดการน้ำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนเมือง และพื้นที่การเกษตรการแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำหลาก จากการแก้ปัญหาน้ำที่อำเภอหาดใหญ่ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของคลองระบายน้ำ ร.1.ซึ่งจากเดิมมีปัญหารับน้ำได้เพียง 465 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ให้ระบายน้ำได้ไม่น้อยกว่า 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็นการแก้ปัญหาที่สำคัญของชุมชนเมือง และพื้นที่การเกษตร ลดระดับความเสียหายจากอุทกภัยช่วงฤดูฝนในพื้นที่เศรษฐกิจของอำเภอหาดใหญ่ และพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำรองในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 5.0 ล้านลูกบาศก์เมตร การบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำหลาก เป็นการบูรณาการทำงานที่สำคัญซึ่งจุดประกายแนวคิด “ไพเจน”พัฒนาสงขลาแผ่นดินเกิด เมื่อมีโอกาสจึงขันอาสาโดยไม่ลังเล

“วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนในคาบสมุทรสทิงพระ พื้นที่ซึ่งอยู่ระหว่างทะเลอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา  พื้นที่อันประกอบไปด้วย อำเภอสิงหนคร กระแสสินธุ์ สทิงพระ และระโนด ผืนแผ่นดินอันน่ามหัศจรรย์ มีการดำรงวิถีพื้นบ้านที่โดดเด่นมีเอกลักษณ์ โดยเฉพาะวิถีชีวิตชุมชน เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีวัฒนธรรมอันดีงามเกี่ยวข้องกับตาลโตนด การทำนา การทำประมง โดยเฉพาะตาลโตนดที่นี่ นับเป็นแหล่งที่มีต้นตาลโตนดมากที่สุดในประเทศไทย นำมาซึ่งอาชีพที่หลากหลาย สามารถพัฒนาศักยภาพเมืองสงขลาสู่ความก้าวแบบยั่งยืน ทั้งด้านการจัดการน้ำ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และพลังงานทดแทน การจัดการขยะ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การเกษตรแนวใหม่แบบยั่งยืน ความท้าทายการพัฒนาเมืองอย่างสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน”

ไพเจนยังบอกเล่าแนวคิดการพลิกโฉมเมืองสงขลา เมืองที่น่าอยู่ โดยมุ่งเน้นในด้านการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชน เศรษฐกิจชุมชนฐานรากที่สำคัญ ด้วยศักยภาพของเมืองสงขลาที่มีอยู่ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีระบบคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงทางบกรถไฟ ถนน ทางเรือ ท่าเรือทางอากาศ  การสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ด้วยจากการส่งเสริมด้านท่องเที่ยวของภาคใต้  ใช้ความโดดเด่นจากฐานเดิมที่เป็นเมืองท่องเที่ยวชายแดน ความสวยงามของทรัพยากรและความหลากหลายทางวัฒนธรรมรวมทั้งเป็นเส้นทางสำคัญในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาคทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีความสำคัญ

“สงขลายังมีปัญหา ความต้องการและแนวทางการพัฒนา ต้องใช้ความตั้งใจ ความอุตสาหะ เสียสละ ด้วยทุนความมุ่งมั่นตั้งใจประสบการณ์ และบทบาททางสังคมต่าง ๆ  โดยเฉพาะในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา ซึ่งมีโอกาสได้พบปะผู้คนมากหน้าหลายตาทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการประจำในภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร เครือข่าย “พลเมือง”พลังร่วม ในการพัฒนาท้องถิ่นแผ่นดินเกิดให้ก้าวหน้าต่อไป”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง