รีเซต

แบคทีเรียกินตะปู !! ทางออกในการกำจัดโลหะที่ปนเปื้อนจากการทำเหมืองแร่

แบคทีเรียกินตะปู !! ทางออกในการกำจัดโลหะที่ปนเปื้อนจากการทำเหมืองแร่
TNN ช่อง16
14 ตุลาคม 2564 ( 12:45 )
80

การทำเหมืองแร่มีความสำคัญในด้านอุตสาหกรรมการผลิตเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เครื่องใช้ในบ้านจนถึงรถยนตร์ต้องใช้โลหะจากเหมืองเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยมลพิษต่าง ๆ นานาที่เป็นผลพลอยได้จากเหมืองเช่นเดียวกัน




ข้อมูลจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (EPA) เผยว่า ในปี 2017 เหมือนแร่โลหะสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยการปล่อยของเสียจากขั้นตอนต่าง ๆ รวมกันเกือบ 1 พันล้านกิโลกรัมเลยทีเดียว ซึ่งอาจเป็นพวกโลหะหนักหรือโลหะจำพวกทองแดงที่ปนเปื้อนจากขั้นตอนการถลุงลงสู่แหล่งน้ำ


ล่าสุดนักชีวเทคโนโลยีชาวชิลี นาแด็ก รีอัลส์ (Nadac Reales) ค้นพบวิธีกำจัดโลหะจากเหมืองแร่ที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมด้วย "แบคทีเรียกินโลหะ" ที่สามารถกำจัดโลหะได้ในเวลาอันรวดเร็ว นับเป็นหนทางสู่การช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมรวมถึงสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในธรรมชาติด้วย

ที่มาของภาพ International Business Times

 



แบคทีเรียดังกล่าวมีชื่อว่า เลปโตสไปริลลัม (Leptospirillum) จัดอยู่ในกลุ่มแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในภาวะสุดขั้ว (Extremophiles) เช่น ภาวะเค็มจัด, ร้อนจัด, ความเป็นกรดสูง เป็นต้น สำหรับแบคทีเรียเลปโตสไปริลลัมนี้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่มีความเข้มข้นของโลหะสูงได้


รีอัลส์พบว่าแบคทีเรียเลปโตสไปริลลัมสามารถย่อยสลายโลหะได้ เมื่อพวกมันตกอยู่ในสภาวะที่ขาดแคลนแหล่งอาหารตามปกติ โดยปกติอาจใช้เวลาสัก 2 เดือน แต่ถ้าหากพื้นที่นั้นไม่มีอาหารหลงเหลืออยู่เลย พวกมันจะกินแต่โลหะเพียงอย่างเดียว ถึงขนาดที่สามารถย่อยตะปูเหล็กได้ภายใน 3 วัน !!

ที่มาของภาพ International Business Times

 



นอกจากนี้ เลปโตสไปริลลัมยังไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม หรือแสดงความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต จึงสามารถนำมาใช้บำบัดในสิ่งแวดล้อมได้ตามปกติ มันจึงเป็นกุญแจสำคุญในการกำจัดโลหะที่ปนเปื้อนจากการทำเหมืองแร่ได้นั่นเอง


ถึงกระนั้น นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Penn State University เสนอว่า เราไม่จำเป็นต้องใช้แบคทีเรียตัวเป็น ๆ ในการกำจัดโลหะที่ปนเปื้อนเหล่านั้นก็ได้ หากแต่สกัดเอาโปรตีน ลานโมดูลิน (Lanmodulin) จากแบคทีเรียเลปตโสไปริลลัมออกมา ก็สามารถนำไปใช้ย่อยสลายโลหะได้แล้ว 

ที่มาของภาพ International Business Times

 



สำหรับงานวิจัยทั้งหมดนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา เพื่อสร้างสารทรงประสิทธิภาพที่ใช้ในการกำจัดโลหะปนเปื้อนจากการทำเหมือง หากทำสำเร็จเชื่อว่าจะช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการทำเหมืองได้ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับเหมือง และนายทุนที่เปิดเหมืองก็จะได้อยู่ร่วมกันได้โดยไร้ข้อพิพาทด้านสิ่งแวดล้อมด้วย


ที่มา Iflscience

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง