รีเซต

สถิติชื่อพายุแปลก แต่มีจริง! ตั้งแต่ปี 60-66 มีอะไรบ้าง?

สถิติชื่อพายุแปลก แต่มีจริง! ตั้งแต่ปี 60-66 มีอะไรบ้าง?
TNN ช่อง16
2 ตุลาคม 2566 ( 21:03 )
116
สถิติชื่อพายุแปลก แต่มีจริง! ตั้งแต่ปี 60-66 มีอะไรบ้าง?

เรียกว่าเข้าหน้าฝนสิ่งที่หลายคนนึกถึงคงเป็นพายุที่จะพัดเข้ามา ซึ่งในแต่ละครั้งพายุที่เข้ามาในเขตประเทศไทยนั้นก็จะมีมวลความรุนแรงที่ต่างกันออกไป ไม่เพียงเท่านั้นยังมีชื่อเรียกที่ไม่ธรรมดาอีกด้วย วันนี้ทาง TNN ONLINE ไม่พลาดที่จะขอรวบรวมเอาชื่อพายุสุดแปลก แต่มีจริงตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปีปัจจุบันมาให้ได้ติดตามกัน จะแปลกขนาดไหน และมีที่มาที่ไปยังไร ต้องติดตาม

ภาพประกอบจาก : Freepik

"พายุโซนร้อนพระพิรุณ" (Prapiroon) ปี 2561 โดยชื่อมาจากเทพเจ้าแห่งฝนของประเทศไทย พายุลูกนี้ขึ้นฝั่งญี่ปุ่น ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่น โดยจะอยู่ในบริเวณทางตอนเหนือในเกาะฮอกไกโด ความเร็วลมอยู่ที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 


"พายุไต้ฝุ่นมังคุด" (Mangkhut) ปี 2561 โดยพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นมังคุดเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 15 กันยายน มีความเร็วลม 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 900 กิโลเมตร ถือว่าในปีนั้นเป็นพายุที่มีความรุนแรงมากที่สุดของปี ความเร็วลมของพายุลูกนี้ขึ้นถล่มจังหวัดคากายัน บนเกาะลูซอนทางภาคเหนือของฟิลิปปินส์


"พายุปาบึก" (Pabuk) ปี 2562 พายุโซนร้อนนอกฤดูกาลที่พัดเข้าในช่วงวันที่ 3 มกราคม พัดขึ้นฝั่งทางตะวันออกของทะเลไทย  โดยครั้งนั้นมีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางขณะนี้ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความรุนแรงที่ไม่ธรรมดา ส่งผลให้ในช่วงเวลานั้น มีประกาศให้ 6 อำเภอติดชายทะเล ประกอบด้วย อำเภอเมือง ท่าศาลา สิชล ขนอม ปากพนัง และ หัวไทร ต้องย้ายยังศูนย์พักพิงชั่วคราวของแต่ละอำเภอเพื่อความปลอดภัย 


"พายุไต้ฝุ่นฟ้าใส" (Faxai) ปี 2562 พายุลูกนี้มีความแรงลมสูงถึง 216 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พัดถล่มประเทศญี่ปุ่นทำให้การเดินทางในประเทศต้องหยุด ทางรัฐบาลญี่ปุ่นสั่งตัดไฟในบางพื้นที่ของกรุงโตเกียวเพื่อความปลอดภัย พายุไต้ฝุ่นลูกนี้สร้างความเสียหาย พร้อมทั้งยังทำให้มีประชาชนชาวญี่ปุ่นยาดเจ็บกว่า 40 คน 


"พายุไต้ฝุ่นไมสัก" (Maysak) ปี 2563 เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 4 กันยายน 63 พัดถล่มพื้นที่ชายฝั่งตอนใต้และตะวันออกของเกาหลีใต้ ส่งผลให้เกิดกระแสลมแรง ทำให้บ้านเรือนของประชาชนเกาหลีได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยพายุลูกนี้ทำให้เมืองปูซานและเกาะเชจูไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้กว่า 270,000 หลังคาเรือน เรียกว่าความรุนแรงของ "พายุไต้ฝุ่นไมสัก" ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ ในครั้งนั้น นอกจากนั้นยังต้องงดเที่ยวบินเพื่อความปลอดภัยอีกด้วย 950 เที่ยวบิน 


เรียกว่าได้รู้จักชื่อของพายุในอดีตที่ใช้ชื่อไทยเป็นชื่อเรียกกันไปบ้างแล้ว ช่วงนี้ยังคงต้องเฝ้าระวังพายุ "โคอินุ" ที่กำลังขึ้นฝั่งในประเทศเวียดนามว่าจะส่งผลกระทบกับประเทศไทยของเราหรือไม่ อย่างไรก็ดีในช่วงนี้ใครที่ต้องออกจากบ้านไปทำธุระห้ามลืมเช็กพยากรณ์อากาศ พร้อมพกร่มหรือเสื้อกันฝนติดเอาไว้ในกระเป๋าด้วย 

ข้อมูลประกอบบทความจาก : กรมอุตุนิยมวิทยา

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง