รีเซต

โมโตจีพี บน “บาหลีแห่งใหม่” กับแผนพัฒนาลอมบอกที่ยูเอ็นบอกว่า "ย่ำยีสิทธิมนุษยชน"

โมโตจีพี บน “บาหลีแห่งใหม่” กับแผนพัฒนาลอมบอกที่ยูเอ็นบอกว่า "ย่ำยีสิทธิมนุษยชน"
ข่าวสด
8 มิถุนายน 2564 ( 00:06 )
49

 

ลองนึกถึงน้ำใส ๆ ชายหาดที่ยาวสุดลูกหูลูกตาที่มีต้นปาล์มขึ้นเรียงรายไปตามแนว ท่ามกลางฉากหลังที่เป็นภูเขาปกคลุมด้วยต้นไม้เขียวขจี

 

 

ในช่วงที่หลายคนไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่จะทำให้ความฝันของนักท่องเที่ยวกลายเป็นจริงชื่อ มันดาลิกา (Mandalika) สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับการขนานนามว่า "บาหลีแห่งใหม่"

 

 

แต่โครงการขนาดใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อพัฒนาให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่หรูหราแห่งนี้ ทำให้เกิดข้อกล่าวหาละเมิดสิทธิมนุษชนตามมามากมาย

 

 

มันดาลิกา เป็นโครงการลงทุนที่สำคัญสำหรับอินโดนีเซีย และยังมีการลงทุนจากต่างชาติอีกด้วยรวมถึงธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank--AIIB)

 

 

แนวชายหาดของเกาะลอมบอก ทางตะวันออกของบาหลี มีความสวยงามอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ

 

 

ในการเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยวให้ได้ประโยชน์สูงสุด รัฐบาลต้องการที่จะดึงดูดโรงแรมห้าดาวระดับโลกอย่าง พูลแมน (Pullman), พาราเมานต์ (Paramount) และคลับเมด (Club Med) ให้มาก่อตั้งที่นี่

 

 

ขณะนี้กำลังมีการสร้างสนามแข่งรถมอเตอร์ไซค์กรังด์ปรีซ์ในพื้นที่

 

"ข่มขู่และคุกคามชาวบ้าน"

 

ในช่วงปลายเดือน มี.ค. ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ ประณามโครงการขนาดใหญ่นี้ว่า "กำลังย่ำยีสิทธิมนุษยชน"

 

 

แถลงการณ์ร่วมของคณะผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติระบุว่า ชาวบ้าน "ตกเป็นเป้าหมายของการข่มขู่และคุกคาม" และ "ถูกบังคับขับไล่ให้ออกจากที่ดินของตัวเองโดยไม่ได้รับค่าชดเชย"

 

 

การวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดนี้ยังโจมตีโดยตรงไปยัง AIIB และ VINCI กลุ่มบริษัทของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดที่รับผิดชอบในการสร้างสนามแข่งรถ โรงแรมต่าง ๆ และโรงพยาบาลอีก 1 แห่ง

 

 

แต่เจ้าหน้าที่ทางการและตำรวจระดับภูมิภาคปฏิเสธข้อกล่าวหายึดที่ดินและบังคับขับไล่ชาวบ้าน ผู้แทนถาวรของอินโดนีเซียประจำสหประชาชาติถึงกับกล่าวหาผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติว่า "เล่าเรื่องเท็จ"

 

 

AIIB ยังได้ออกมาเน้นย้ำว่า ทางธนาคารได้ยึดมั่นในแนวปฏิบัติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และตอบสนองต่อข้อร้องเรียนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น "อย่างรวดเร็ว"

 

 

"รายงานสุดท้ายไม่พบหลักฐานการบังคับขู่เข็ญ การใช้กำลังโดยตรง และการข่มขู่ที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองที่ดินและการตั้งถิ่นฐานใหม่ตามที่มีการกล่าวหา" แถลงการณ์ของ AIIB ระบุ

 

 

เมื่อผู้สื่อข่าวของบีบีซี ภาคภาษาอินโดนีเซีย เดินทางไปยังเมืองมันดาลิกา เพื่อสำรวจพื้นที่ด้วยตัวเอง คำบอกเล่าจากชาวบ้านที่นั่นมีความหลากหลายแตกต่างกันไป

 

 

ชาวบ้านหลายสิบครอบครัวที่มีปศุสัตว์ในหมู่บ้านกูตายังกัดฟันสู้ใน ขณะที่ เครื่องมือก่อสร้างขนาดใหญ่ สำหรับสนามแข่งรถมอเตอร์ไซค์วางเรียงรายอยู่หลังแนวต้นมะพร้าว

 

สถานการณ์ที่นี่ซับซ้อนเพราะว่า ไม่ได้มีชาวบ้านทุกคนที่มีเอกสารการเป็นเจ้าของที่ดินที่พวกเขาอาศัยอยู่ แต่ชาวบ้านราว 180 ครัวเรือน ไม่มีเอกสารพิสูจน์ความเป็นเจ้าของใด ๆ และไม่สามารถฟ้องร้องเรื่องการขับไล่ออกจากพื้นที่ต่อศาลได้

 

 

หนึ่งในชาวบ้านที่ยังคงอยู่ในพื้นที่ กล่าวว่า เธอยังไม่ย้ายออก เพราะเธอเชื่อว่า ครอบครัวของเธอไม่เคยขายที่ดินให้แก่รัฐบาลจริง ๆ ขณะที่ชาวบ้านอีกหลายคนในพื้นที่เดียวกันได้รับแจ้งว่า ที่ดินของพวกเขาได้กลายเป็นของรัฐแล้ว

BB

หลายคนที่ไม่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่อยู่ห่างจากหมู่บ้านกูตาไปราว 2 กิโลเมตร

 

 

แต่โอลิเวียร์ เดอ ชูตเตอร์ ผู้เสนอรายงานพิเศษสหประชาชาติ ว่าด้วยความยากจนแร้นแค้นและสิทธิมนุษยชน (UN special rapporteur on extreme poverty and human rights) กล่าวกับ บีบีซี ภาคภาษาอินโดนีเซีย ว่า ผู้ที่ยังไม่ย้ายออกไปได้ถูกบังคับให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ก่อสร้าง

 

 

"สิ่งที่กำลังเป็นปัญหาคือ ได้เริ่มมีการก่อสร้างอาคารโรงแรมและสนามแข่งรถโมโตกรังด์ปรีซ์โดยไม่มีการย้ายชาวบ้านออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม" เขากล่าว

B

นายเดอ ชูตเตอร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลยังทำได้ไม่ดีพอด้วยการเลือกชาวบ้านและย้ายพวกเขาไปอยู่ที่ใหม่ โดยมีชาวบ้านจำนวนมากที่ยังต้องพึ่งพาหมู่บ้านเดิมในการหาเลี้ยงชีพ

 

 

"การมีหลังคา น้ำ ไฟฟ้า และอาหาร ยังไม่เพียงพอ" เขากล่าว

 

 

"คุณจำเป็นต้องมีความสามารถในการหาเลี้ยงชีพด้วย ไม่เช่นนั้น ชุมชนเหล่านี้ก็จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าหดหู่"

เขากล่าวว่า เพียงแค่การรับเงินชดเชย ยังไม่เพียงพอสำหรับการชดเชย

B

ดามาร์ เป็นหนึ่งในช่วงบ้านที่รับค่าชดเชยจากรัฐบาล แต่ระบุว่า ยังไม่เพียงพอ

 

 

เขาเป็นผู้ที่เคยอาศัยอยู่ในหมู่บ้านกูตา เขาเติบโตในพื้นที่ที่ห่างจากจุดก่อสร้างสนามแข่งรถไม่ถึง 500 เมตร และเป็นเจ้าของที่ดินขนาดประมาณ 21 ไร่ ซึ่งมีเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ

 

 

"ผมยังคงจำการประชุมกันครั้งแรกในปี 2019 ได้ พวกเขาบอกทันทีว่า ในเดือน ส.ค. ต้องย้ายออกจากที่ดินผืนนั้น" เขากล่าวกับบีบีซี "เราก็เลยงง ไม่มีการประนีประนอม ไม่มีการปรึกษาหารือ ไม่มีการยินยอมจากทั้งสองฝ่าย"

 

 

จากคำบอกเล่าของ ดามาร์ ที่ดินของเขาได้รับการประเมินจากคณะประเมินราคาที่ดินอิสระ และเขาได้รับเงินตามนั้นแล้ว แต่เขาบอกว่า เงินจำนวนนั้นไม่ได้เหมาะสมกับความยุ่งยากในการเริ่มต้นชีวิตใหม่และความโศกเศร้าที่ต้องย้ายออกจากชุมชนที่เขาพยายามสร้างมาทั้งชีวิต

 

 

"เรารับเงินชดเชย เพราะเราไม่มีทางเลือกอื่น"

Ge

 

 

คำถามต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า โครงการขนาดใหญ่เช่นนั้นเหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 หรือไม่

 

 

นุสาดูอา เขตหรูหราทางใต้ของเกาะบาหลี ก็เคยได้รับการพัฒนาจากบริษัทที่รัฐเป็นเจ้าของ ในกรณีดังกล่าว ทางบริษัทได้พลิกโฉมบาหลีให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางสากลในฝัน

 

 

แต่นั่นคือช่วงปลายทศวรรษ 1970 ซึ่งไม่ได้มีการท่องเที่ยวมากในภูมิภาคและมีการให้เหตุผลว่า หากไม่มีการสนับสนุนจากภาครัฐ รีสอร์ตหรูต่าง ๆ จะไม่เกิดขึ้นบนเกาะแห่งนี้

 

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญแย้งว่า เป็นคนละเรื่องกัน

 

 

"การพัฒนาการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ย่ำยีสิทธิมนุษยชน ไม่ได้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ผู้เสนอรายงานพิเศษของสหประชาชาติ ระบุในแถลงการณ์

 

 

"เวลาได้ผ่านพ้นไปแล้ว สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวข้ามชาติขนาดใหญ่และสนามแข่งรถที่จะเป็นประโยชต์ต่อผู้เล่นทางเศรษฐกิจเพียงไม่กี่รายแทนที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม เศรษฐกิจช่วงหลังยุคโควิด ควรจะมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชนต่าง ๆ พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ"

 

 

แม้ว่าการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ยังคงดำเนินต่อไป การก่อสร้างสนามแข่งรถมอเตอร์ไซค์มีกำหนดแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. ปีนี้

 

 

งานเวิลด์ ซูเปอร์ไบก์ (Word Superbike) มีกำหนดจัดขึ้นในเดือน พ.ย. นี้ ขณะที่ปีหน้ามีแผนจะจัดงานเวิลด์ โมโต จีพี (World Moto GP) ขึ้น

 

 

ชาวบ้านก็จะไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นดังกล่าวอีกต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง