รีเซต

"ภาวะฝนสุดขั้ว" New Normal คนกรุงเทพฯ ลอกท่อแค่ไหนก็ยังท่วมขังรอการระบาย

"ภาวะฝนสุดขั้ว" New Normal คนกรุงเทพฯ ลอกท่อแค่ไหนก็ยังท่วมขังรอการระบาย
TNN ช่อง16
13 พฤษภาคม 2568 ( 14:21 )
10

นักวิชาการเตือน น้ำท่วมขังรอการระบาย จะกลายเป็น New normal ใหม่ให้คนกรุงเทพ ต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอด จากนิสัยฝนที่เปลี่ยนไป เป็น ภาวะฝนสุดขั้วในเขตเมือง เราต้องปรับตัวยังไง เพราะอะไรจึงอยู่สถานการณ์

ข้อมูลนี้ได้จาก ไอซ์ ธวัฒชัย ปาละคะมาน คณะอนุกรรมาธิการฯ ระบบเตือนภัยแห่งชาติ เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติโดยเฉพาะ 

จากสถานการณ์ฝนตกถล่มกรุงในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา เขาได้ออกมาโพสต์เตือน ให้คนกรุงเทพ ต้องปรับตัว รับมือกับ New normal คือ ฝนตกสุดขั้วในเขตเมือง ที่จะทำให้เกิด น้ำท่วมขังรอการระบาย จนกลายเป็นเรื่องปกติใหม่

ปัจจัยน้ำท่วมขังรอการระบาย 

นิสัยฝนที่เปลี่ยนไป ภาวะฝนสุดขั้วในเขตเมือง หรือ ฝนตกหนักแบบกระชับ คือ ฝนตกหนักมาก  คือตกเกิน 100 - 150 มม./ชม. แนวโน้ม 5 ปีที่ผ่านมาเป็นแบบนี้ และตกกระจุกตัวในพื้นที่แคบแนวตั้ง ในเวลาอันสั้น จึงทำให้ปริมาณฝนในพื้นที่นั้นสูงมาก

ความสามารถท่อระบายน้ำ กทม. ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รับไหว มันรับได้แค่ประมาณ 60 - 70 มม./ ชม  ตกเกิน ก็เลยระบายช้า เพราะเป็นการออกแบบตั้งแต่สมัย 40 - 50 ปีก่อน ที่มีการคำนวณเผื่อแหละ แต่ข้อมูลสมัยก่อนไม่ได้คำนวณ จากสภาพ climate change รุนแรงมากในปัจจุบัน  มันเลยรับไม่ไหว

เมื่อรวมกับการที่ กทม. เป็นที่ราบลุ่มแอ่งกะทะ อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล  “โคตรอุ้มน้ำได้ดี แต่ระบายน้ำลงช้า เวลาฝนตก” ที่คนสมัยก่อน เขาทำบ้านมีใต้ถุน นั่นคือนวัตกรรม ที่เขาทำไว้ให้เราแล้ว แต่เราดันไปเอาแบบตะวันตกเขา เอาบ้านที่มีชั้น 1 มานิยมใช้ ไม่ปรับให้เข้าประเทศเรา สุดท้าย จึงเป็นแบบนี้
 
ถ้าโดนน้ำเหนือ ไหลลงมา และ น้ำทะเลหนุน ยิ่งซ้ำเติมให้เกิด น้ำท่วมขังรอการระบาย ได้ง่ายขึ้น

Climate Change เต็มๆ

หลายคนคิดว่า  ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องไกลตัว  แต่ตอนนี้มันมากระทบในชีวิตเราจริงๆแล้ว”

  • อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเพียง 1 องศา → เพิ่มการระเหยของน้ำทะเลมากถึง 5–6%
  • เหมือนหม้อน้ำเดือด พอไอน้ำเหล่านั้นระเหยขึ้นไป  ก็กลายเป็นฝนตก
  • ประเทศที่เป็นชายฝั่ง  ยังไงก็ได้รับผลกระทบ 
  • กทม.มีทั้ง 2 ชายฝั่ง  อันดามันและอ่าวไทย ยังไงก็ได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกหนักขึ้น 

กทม. ลอกท่อทุกปี แต่ทำไมน้ำยังท่วม? 

ท่อเราไม่ได้ใสตลอด มันมีขยะ ตะกรัน โคลน เข้าไปติด ยิ่งอุดตัน ยิ่งระบายได้น้อยลง แต่ฝนตก มันก็ซัดพวกนี้เข้ามาติดใหม่ จึงเป็นเหตุให้ กทม. ต้อง  “ลอกท่อ” ทุกปี เพื่อให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้คือ ปรับท่อระบายน้ำให้ใหญ่ขึ้น สร้างอุโมงค์ระบายน้ำเพิ่ม วางผังเมืองใหม่ และ เพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ดิน ลดพื้นที่คอนกรีตลง เพิ่มพื้นที่อุ้มน้ำ 

แต่จะทำทั้งหมดได้ กทม. ทำอย่างเดียวไม่ได้ งบมหาศาลมาก รัฐบาลต้องลงมาทำเป็นหลัก ท่อยาวกว่า 2000 กิโลเมตร ถ้าจะทำใหม่ทั้งหมด ทำได้ แต่ต้องเป็นโครงการใหญ่มาก จึงเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ กทม. ทำได้แค่ ลอกท่อไง ควรเป็นนโยบายระดับชาติ

รอรัฐบาลแก้อย่างเดียวไม่พอแล้ว

เพราะจากนี้ฝนจะตกเป็น rainbomb ทุกวัน ในหน้าฝนเกิดน้ำท่วมขังรอการระบายในหลายเส้นทาง แม้มีเครื่องสูบน้ำ บางพื้นที่ก็ยังท่วมซ้ำซาก ถ้าเราไม่ปรับตัว จะไม่อยู่รอด  ไม่ใช่เรื่องใหม่แล้ว 

รับข่าวสารที่ถูกต้อง จากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ ติดตามการพยากรณ์อากาศ กรมอุตุฯ,กทม. js100

เพื่อรู้ว่า วันนี้ฝนจะตกหนักมาก และ มีจุดเสี่ยงน้ำท่วมในพื้นที่ของตัวเอง และ ใกล้ที่ทำงาน จุดไหนบ้าง  เลี่ยงรถติด

ปรับการใช้ชีวิต

- เสื้อผ้าไม่หนามาก โดนฝนไม่หนัก รองเท้ากันน้ำ เสื้อผ้าแห้งไว้เปลี่ยน  พกร่มไว้

- สนับสนุนระบบ work from home ในวันที่ฝนตกหนัก เลี่ยงคนไปออกัน 

- บ้าน จากนี้ควรเลือกซื้อที่มีโครงสร้าง รองรับน้ำท่วม อยู่ในพื้นที่สูง หรือ ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ในกทม. เช็กได้จากเว็บไซต์  bbk risk map 

- ปัญหาใหญ่สุดตอนนี้คือ ความล้มเหลวของหน่วยงานภาครัฐที่จะสื่อสารในภาวะวิกฤต

ขาดความจริงใจในการแก้ไขปัญหา

ปัจจุบันเราต้องยอม รับว่า กรมอุตุฯ เดี๋ยวนี้พยากรณ์ข้อมูลแม่นขึ้นมากๆ แผ่นดินไหวผ่านไปแค่  3 สัปดาห์ cell broadcast ทดลองทำงานได้ทันที แสดงว่าประเทศไทย มีพร้อม ทั้งข้อมูลที่ถูกต้อง หน่วยงานเจ้าภาพ และ เทคโนโลยี แต่ขาดความ จริงใจ ในการแก้ปัญหา และ ไม่บูรณาการเป็นหนึ่ง  มันเลยไม่เกิด T - aleart แบบญี่ปุ่นได้สักที
 
สื่อสารด้วยภาษาเข้าใจยาก ไม่มี call to action ว่า ตก 70 แล้วทำยังไงต่อ? 

ตกแบบนี้ควรออกไปขายของตลาดนัดไหม น้ำจะท่วมจุดไหน ควรอยู่บ้าน wfh ไหม รถจะฝ่าไปได้ไหมพื้นที่ไหนตกบ้าง  แต่รัฐยังใช้ภาษาราชการ  มันทำให้ การสื่อสารภาครัฐล้มเหลว และเป็นช่องที่ทำให้ Fake news ระบาดได้ดี เพราะอินฟลูฯ ข่าวปลอมเหล่านี้ฅ

สื่อสารตรงจุด รู้ว่าจะพูดยังไงให้คนเชื่อ และพอรัฐทำไม่ได้ คนก็จะกระเสือกกระสนหาข้อมูลเอง มันเลยวุ่นวายโกลาหล เหมือนช่วงแผ่นดินไหวที่ผ่านมา

ควรมี “แพลตฟอร์มเดียว” ที่ประชาชนรับรู้ว่า “ถ้ามีภัย ให้ดูตรงนี้” เช่น สำนักภัยพิบัติแห่ง กรุงเทพ หรือ สำนักภัยพิบัติแห่งประเทศไทย 

ถ้ามีการนำ Cell Broadcast มาใช้ในการ  ส่งข้อมูลเตือน กับ ส่งข้อความฉุกเฉิน โดยการแยกระดับสี และ เสียงในการเตือน  ก็จะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมากในการเตือนภัยให้ทันท่วงที อยู่ที่รัฐบาลไทย จะทำให้ดีหรือไม่?

สรุป ฝนตกแบบ rainbombในวันนี้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จะกลายเป็นเรื่องปกติของคนกรุงที่ต้องรับมือ เราจะรอให้ กทม. และ รัฐบาล แก้ไขอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องเริ่ม ปรับตัว อยู่รอดให้ได้ ตั้งแต่วันนี้

สุดท้าย การลดภาวะโลกร้อน ยังคงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนไทยทุกคน ควรใส่ใจแก้ไขไปพร้อมๆกัน เพราะผลกระทบของมันเกิดขึ้นกับ เราทุกคน เรียบร้อยไปแล้ว

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง