รีเซต

คุณเป็น 'ออฟฟิศซินโดรม' เลเวลไหน? ในยุคโควิด มาดูยาบรรเทาอาการกันเถอะ

คุณเป็น 'ออฟฟิศซินโดรม' เลเวลไหน? ในยุคโควิด มาดูยาบรรเทาอาการกันเถอะ
TeaC
24 กันยายน 2564 ( 17:23 )
256
คุณเป็น 'ออฟฟิศซินโดรม' เลเวลไหน? ในยุคโควิด มาดูยาบรรเทาอาการกันเถอะ

โอ๊ย...ปวดหลัง! ปัญหาอันดับต้น ๆ ของเหล่าหนุ่มสาวออฟฟิศกับอาการ "ออฟฟิศซินโดรม" หลังจากมาตรการล็อคดาวน์ที่ต้องกักตัว หรือต้อง Work Worm Home มากขึ้น การนั่งทำงานนาน ๆ อย่างต่อเนื่องยาวนาน บางคนไม่ขยับ ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย หรือปล่อยปละละเลยการนั่งทำงานที่อาจเป็นไปได้ว่า "นั่งผิดท่าทาง" หรืออุปกรณ์โต๊ะทำงาน เก้าอี้ ปรับไม่ได้ระดับอย่างที่ถูกหลักสริรีะของร่างกาย ส่งผลให้อาการดังกล่าวกลับมาสร้างปัญหาให้ร่างกายเจ็บป่วย 

 

 

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร?

 

เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ที่เกิดจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง เช่น หลายคนติดการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป ไม่ยอมขยับ หรือมักจะบอกตัวเองว่า "เดี๋ยวก่อน" พอหลายเดี๋ยวก็กลายเป็นลืม ส่งผลร้ายต่อร่างกายให้เกิดอาการปวดเรื้อนัง นวมไปถึงอาการชาตามมือ ตามแขน เนื่องจากเส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับมาเป็นเวลานานและต่อเนื่อง

 

 

อาการของ Office Syndrome เป็นอย่างไร?

เอาล่ะ มนุษย์ทำงานมาเช็คกันหน่อยว่าอาการปวดที่เกิดขึ้นนั้นเลเวลไหนกันแล้ว หรืออาจเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรมได้ โดยมี 3 ข้อหลักที่ต้องสังเกตดังนี้ 

 

 

1. มีอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือมีอาการปวดร้าวในบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย ทั้งการปวดล้า ๆ ซึ่งความรุนแรงมีได้ตั้งแต่น้อยไปจนถึงขั้นปวดรุนแรง ทรมานมาก

 

2. เกิดอาการซ่า วูบ เหน็บ ขนลุก เหงื่อออกตามบริเวณที่ปวด ถ้าใครเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่าได้ ซึ่งล้วนเป็นอาการของระบบประสาทพบร่วมได้

 

3. มีอาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ โดยมีอาการชาตามแขนและมือ หรือหากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไปก็มักจะมีอาการอ่อนแรง

 

 

วิธีรักษาอาการ ทำอย่างไรได้บ้าง?

 

1. ยืดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธี

โดยใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ อย่างการตั้งนาฬิกามือถทอ หรือใครที่ใช้นาฬิกาข้อมีที่สามารถตั้งค่าเตือนให้ลุกขึ้นขยับ เคลื่อนไหวร่างกาย ก็ช่วยเตือนไม่ให้เผลอนั่งนานจนเกินไปได้นะ

 

2. เข้ารักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด

 

ด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือบางคนจ้างเทรนด์เนอร์ดูแลเรื่องการออกกำลังกาย หรือหาคลิปวิดีโอการออกกำลังกายได้ที่ทรูไอดี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน

 

3. การรับประทานยาบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม เช่น

 

- ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxants) เช่น ออร์เฟเนดรีน (Orphenadrine), โทเพอรีโซน (Tolperisone)

ข้อควรระวังเมื่อกินยา : หลีกเลี่ยงการทำงานร่วมกับเครื่องจักร และไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ

 

- ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูไพรเฟน (Ibuprofen)

ข้อความระวังเมื่อกินยา : กินหลังอาหารทันที ดื่มน้ำตามมาก ๆ 

 

- ยาแก้ปวดที่ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol)

ข้อความระวังเมื่อกินยา : ไม่ควรกินยาเกิน 8 เม็ด หรือ 4,000 มิลลิกรัม ต่อ 1 วัน และไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 5 วัน

 

สิ่งสำคัญที่ห้ามลืม คือ ก่อนใช้ยาต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง

 

แต่วิธีที่ดีที่สุด พนักงานออฟฟิศทั้งหลายที่ชอบนั่งหน้าคอมนาน ๆ ต้องปรับพฤติกรรมและอิริยาบถการทำงานให้เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้ รวมทั้งการหาอุปกรณ์ช่วยเสริมสรีระในการนั่งทำงานให้ถูกต้อง เช่น โต๊ะทำงาน เก้าอี้ ตลอดจนการรักษาสุขภาพ การรู้จักออกกำลังกาย แต่หลายคนอาจกังวลช่วงนี้ไปฟิสเนตไม่ได้ ก็เปลี่ยนพื้นที่บ้านให้เป็นฟิตเนส ช่วยป้องกันโควิด ไม่ต้องเสี่ยงรับเชื้อนอกบ้านอีกด้วย

 

มาม่ะ มาดูแลร่างกายกันเถอะ  

 

 

ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง