รีเซต

'เว็บไซต์ตรวจข่าวปลอม' ช่วยคุณได้! เปิดวิธีใช้ เช็กก่อนเชื่อ

'เว็บไซต์ตรวจข่าวปลอม' ช่วยคุณได้! เปิดวิธีใช้ เช็กก่อนเชื่อ
TeaC
19 ตุลาคม 2564 ( 22:33 )
304
'เว็บไซต์ตรวจข่าวปลอม' ช่วยคุณได้! เปิดวิธีใช้ เช็กก่อนเชื่อ

ข่าวปลอม (fake news) ข่าวบิดเบือน ปัญหาที่เกิดขึ้นในยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็วมากขึ้น ผลพ่วงที่ตามมาหากผู้ใช้งานขาดความรู้ ความเข้าใจ รู้ไม่เท่าทันกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพ ไม่เพียงเสียเวลา ไม่เพียงแต่เกิดความหลงผิด เชื่อข่าวลวง บอกต่อ แชร์ต่อ อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายโทษฐานบิดเบือน หรือเชื่อข่าวปลอมนำไปทำตามอาจสร้างความเสียหายให้ทั้งตัวเอง คนรอบข้าง คนในสังคมพ่วงด้วย ไปจนถึงเสียทรัพย์สินที่หามาทั้งชีวิตได้ด้วย 

 

ดังนั้น เราต้องรู้เท่าทัน "ข่าวปลอม" หรือข่าวบิดเบือนที่มีอยู่มากมาย จะแยกแยะอันไหนข่าวจริง หรือข่าวปลอมอย่างไร วันนี้ TrueID มีนวัตกรรมเทคโนโลยีที่จะมาช่วยให้คุณตรวจสอบได้ว่า ข่าวนั้น ๆ ที่เราอ่าน หรือมีคนส่งต่อมาให้อ่าน จริงหรือไม่จริง? ด้วย "เว็บไซต์ Thai D.I. Machine" ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนอย่างเรา ๆ ตรวจสอบข่าวปลอมด้วยตนเองง่าย ๆ 

 

โดย "เว็บไซต์ Thai D.I. Machine" เป็นผลงานของหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ (DIRU) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ สร้างขึ้นด้วยฝีมือคนไทยก็ต้องช่วยกันสนับสนุนกันนะ ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวใช้วิธีการทำงานโดยใช้หลักการตรวจสอบด้วยวิธีการสืบค้นและเปรียบเทียบข้อมูลสารสนเทศจากข้อมูลขนาดใหญ่บนอินเทอร์เน็ต จะนำข้อมูลข่าวสืบค้นไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) และวิธีการเรียนรู้ของเครื่องแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System based Machine Learning) เป็นการใช้ฐานกฎหรือความรู้ (Rule Base or Knowledge) ในการจำแนกข่าว ตัวระบบสามารถเรียนรู้ให้ฉลาดขึ้นจากข้อมูลข่าวที่สืบค้นเองอย่างต่อเนื่องนั่นเอง 

 

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้เห็นประโยชน์ของ "เว็บไซต์ Thai D.I. Machine" กันแล้วใช่ไหม มาม่ะมาดูมีขั้นตอนในการใช้งานกันเลยดีกว่า จะได้มั่นใจก่อนแชร์ข่าวนั้น ๆ ไปยังมือคนรอบข้าง จะได้เป็นข่าวที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง ไม่เป็นข่าวปลอมที่สร้างให้ผู้คนหลงเชื่อจนสร้างความเดือดร้อนได้

 

วิธีตรวจ "ข่าวปลอม"ด้วยตนเองง่าย ๆ 

1. คลิกเข้าเว็บไซต์ www.thaidimachine.org 

2. พิมพ์หัวข่าวหรือข้อความที่สงสัย

3. กดคำสั่งตรวจสอบ เพียงเท่านี้ก็จะทราบผลเบื้องต้นได้ทันทีว่าข่าวหรือข้อความดังกล่าวมีแนวโน้มเป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอม  

 

โดยผลการตรวจสอบข่าวแบ่งออกเป็น 5 ระดับคือ

  • ข่าวจริง
  • ข่าวปลอม
  • มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นข่าวจริง
  • มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นข่าวปลอม
  • ข่าวน่าสงสัย  

เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนแชร์ข่าว ช่วยชะลอการแพร่กระจาย  ลดปัญหาข่าวปลอม กระตุ้นให้ประชาขนสามารถจัดการข่าวปลอมได้ด้วยตนเอง  

 

ใครลองใช้กันแล้วมาบอกกันหน่อย!

 

ข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง