รีเซต

เปิด ‘คำอธิษฐาน’ วันลอยกระทง ขอขมาพระแม่คงคา มีอะไรบ้าง

เปิด ‘คำอธิษฐาน’ วันลอยกระทง ขอขมาพระแม่คงคา มีอะไรบ้าง
TNN ช่อง16
2 พฤศจิกายน 2564 ( 12:46 )
387

วันนี้ ( 2 พ.ย. 64 ) ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ จะมีเทศกลสำคัญคือประเพณีลอยกระทง ซึ่งในปีนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมว.กลาโหม อนุมัติให้หน่วยงานจัดงานประเพณีลอยกระทงได้เพื่ออนุรักษ์สืบสาน และส่งเสริมประเพณีลอยกระทงที่ทรงคุณค่าภายใต้เงื่อนไข การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention)

ทั้งนี้ ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่สำคัญสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ  นิยมทำกันในกลางเดือน  12  โดยมีวัตถุประสงค์หลากหลาย  ขึ้นอยู่กับประเพณีความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น  ซึ่งได้แก่การลอยกระทง  เพื่อ
1.  การบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
2.  บูชารอยพระพุทธบาท  ณ  หาดทรายฝั่งแม่น้ำนัมมทา
3.  บูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน
4.  ขอบคุณน้ำที่อำนวยประโยชน์ต่างๆ  แก่มนุษย์
6.  ขอขมาต่อพระแม่คงคาที่เราได้ชำระล้างหรือทิ้งสิ่งสกปรกลงในแม่น้ำลำคลอง

7.  เป็นการลอยส่งของแก่ญาติที่อยู่ห่างไกล
8.  เป็นการระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
9.  ลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์
10.  อธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนา

โดยส่วนมากคนไทยเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการสะเดาะเคราะห์ ฝากทุกข์โศกให้ลอยหายไปกับสายน้ำ คนส่วนใหญ่จึงอธิษฐานหรือขอพรในสิ่งที่ตนปราถนา ซึ่ง TNN ONLINE ได้รวบรวมการอธิษฐานขอพรในเทศกาลลอยกระทงมาให้ดังต่อไปนี้ 

1. ข้าพเจ้า ชื่อ........นามสกุล....... ขอถวายบูชาแด่พระแม่คงคา ด้วยกระทงประทีปนี้ ขอพระแม่คงคา เมตตารับการบูชาด้วย จากลูกผ้มีใจภักดี ผู้ตระหนักในความกรุณาปราณี ที่ท่านให้โดยตลอดมา โปรดรับขอขมาจากลูกผู้เอ่ยวาจา ณ ครานี้ หากสิ่งใดผิดพลาดเกิดมี ขอพระแม่คงคา ปราณีให้อภัย และขอพรพระแม่คงคา ผู้มีมหาเมตตาเป็นที่สุด โปรดนำพาความมงคล ความเจริญรุ่งเรือง ความร่ำรวย ความสำเร็จ มาให้แก่ลูกผู้ภักดี ณ ครานี้ด้วยเทอญ สาธุ

2. ตั้งนะโม 3 จบ (นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ)  มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ

คำแปล - ข้าพเจ้าขอบูชารอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่ริมหาดทรายแม่น้ำนัมมทา ขอให้การบูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปกระทงนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ

3. คำขอขมาพระแม่คงคา - สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

ข้าแต่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคา มีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล อีกทั้งประปา ลูกลูกทั้งหลาย เดินทางขายค้า สำเร็จกิจจา คมนาคม นำมากินใช้ ได้ดั่งอารมณ์ ยามร้อนประพรม ชุ่มชื่นกายใจ ชำระมลทิน โสโครกทั้งสิ้น สะอาดสดใส ผุดผ่องพราวตา แลเลิศวิไล

แม่น้ำรับไว้ สกปรกโสมม น้ำเสียเรือนชาน ซักผ้าล้างจาน เททิ้งทับถม ไหลลงคงคา ธาราระทม สารพิษสะสม เน่าคลุ้งฟุ้งไป วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้ พระแม่คงคา เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา ลูกขอขมา อโหสิกรรม ทำกิจใดใด อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ ข้องขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา รับขมาลูก เทอญ

ข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

ภาพจาก : ผู้สื่อข่าว TNN ONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง