รีเซต

ซีพีเอฟร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ดูแลสังคม-สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

ซีพีเอฟร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ดูแลสังคม-สิ่งแวดล้อมยั่งยืน
มติชน
10 พฤษภาคม 2564 ( 12:40 )
61

นายวัฒนา พรประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า พื้นที่ป่าชายเลนจังหวัดสมุทรสาคร เป็นพื้นที่อ่าวตัว ก. ที่มีปัญหาพื้นที่ชายฝั่งถูกกัดเซาะ แต่จากความร่วมมือของภาคเอกชนและชุมชนในพื้นที่ ดำเนินโครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ทำให้ผืนป่าชายเลนบริเวณนี้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง เป็นป่าชายเลนมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เป็นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจากการปลูกไม้ป่าชายเลน คือ ต้นแสม ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เติบโตได้ดีในพื้นที่ ปริมาณต้นไม้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการทับถมของตะกอนเลนเป็นแนวเพิ่มขึ้นสามารถปลูกต้นไม้ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นผลโดยตรงของการอนุรักษ์และฟื้นฟูที่ทำให้พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น

 

 

ซีพีเอฟ เดินหน้าโครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน”เข้าสู่ระยะที่สอง โดยร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ปลูกป่าใหม่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเพิ่มเติมอีก 266 ไร่ หลังจากผลสำเร็จของโครงการระยะที่หนึ่งที่ร่วมกับทช. อนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูป่าชายเลนที่ ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร รวม 604 ไร่ รวมทั้งเดินหน้าอนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน ที่ต.ปากน้ำประแส จ.ระยอง พื้นที่ 614 ไร่ และในปี 2564 มีแผนที่จะอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าใหม่ ที่ตำบลท่าพริก อำเภอเมือง จังหวัดตราด

 

 

พื้นที่ป่าชายเลนที่ได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู สามารถต่อยอดโครงการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิถีชุมชน ที่ตำบลบางหญ้าแพรก จังหวัดสมุทรสาคร และพื้นที่ตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง ทำให้ชาวบ้านในชุมชนทั้งสองพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวและรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ส่งผลดีต่อความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่และเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งในส่วนของพื้นที่ตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้
ระบบนิเวศป่าชายเลนของผู้ที่สนใจอีกด้วย

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า จากการประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นจากโครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ปี 2561-2562 เทียบกับก่อนเริ่มโครงการ ในด้านเศรษฐกิจพบว่าคนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น อาทิ รายได้จากการทำประมง โดยในพื้นที่ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.7 เท่า และในพื้นที่ต.ปากน้ำประแส จ.ระยอง รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.2 เท่า ด้านสังคม กลุ่มผู้สูงวัยมีสุขภาพจิตดีขึ้น จากการที่ใช้เวลาว่างในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ป่าชายเลนป้องกันการกัดเซาะแนวชายฝั่ง เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามธรรมชาติ และช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

 

 

ทั้งนี้ โครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goal :SDGs) ในประเด็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก

 

 

สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องคืนความสมดุลให้กับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็่นสัตว์ป่า ป่าไม้ ต้นไม้ เพราะสิ่งที่ตามมา คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ ซีพีเอฟ ตระหนักดีถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าชายเลน ที่เป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งรายได้ และเป็นความมั่นคงทางอาหารของชุมชน จึงมุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศ และรักษาให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง