ทำลายสถิติ! กำเนิดทารกจากตัวอ่อนแช่แข็ง 27 ปี เด็กกว่าแม่แท้ๆ เพียง 2 ปีเท่านั้น
ขอบคุณความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์ เมื่อทารกรายนี้มีอายุ 27 ปีแล้ว โดยทางเทคนิคช่องว่างระหว่างอายุของแม่ และทารกน้อยรายนี้ห่างกันเพียง 18 เดือนเท่านั้น
มอลลี่ เอเวอเร็ตต์ กิบสัน เกิดจากตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งเมื่อเดือนตุลาคม 2535 เพียง 18 เดือนเท่านั้น หลังจากที่แม่ของเธอ "ทีน่า กิบสัน" วัย 29 ปี ที่เกิดในเดือนเมษายน 2534 "มันยากที่จะเชื่อ มอลลี่คือปาฏิหาริย์เล็ก ๆ ของเรา" ผู้เป็นแม่กล่าว ข้อมูลจากห้องสมุดการแพทย์มหาวิทยาลัยเทนเนสซีเพรสตัน ทารกหญิงตัวน้อยนี้ได้ถูกบันทึกลงในหน้าประวัติศาสตร์ว่า เป็นเด็กที่เกิดจากตัวอ่อนที่แช่แข็งนานที่สุด ซึ่งทำลายสถิติเดิมที่พี่สาวของเธอได้ทำเอาไว้
สถิติก่อนหน้านี้เป็นของ พี่สาวของ มอลลี่ หรือ เอ็มมา เร็น กิบสัน ที่ปัจจุบันมีอายุ 3 ขวบ โดยเอ็มมานั้นเกิดจากตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งนาน 24 ปี ซึ่งตัวอ่อนของสองพี่น้องคู่นี้ถูกแช่แข็งพร้อมกัน ก่อนที่จะถูก ศูนย์บริจาคตัวอ่อนแห่งชาติ (NEDC) ย้ายทั้งสองตัวอ่อนเข้าสู่มดลูกของทีน่า นั่นทำให้สองพี่น้องคู่นี้ยังเป็นพี่น้องที่มีพันธุกรรมเหมือนกันอย่างสมบูรณ์
โดยนาง คาโรล ซอมเมอร์เฟลท์ นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนมนุษย์ ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว ABC ว่า เธอรู้สึกตื่นเต้นตัวอ่อนที่สามารถมีชีวิตรอด หลังจากที่เจ้าหน้าที่ทำการละลายน้ำแข็งจากตัวอ่อน และนำตัวอ่อนมาฝังในมดลูกของทีน่า จนถึงการกำเนิดของสองเด็กน้อย เอ็มมา กับมอลลี่ และรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการนี้
ทีน่า และเบนจามินสามีของเธอได้หันไปหาความช่วยเหลือจากศูนย์บริจาคตัวอ่อนแห่งชาติ หลังจากพยายามด้วยวิธีธรรมชาติตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา แต่เบนจามินนั้นเป็นโรคปอดเรื้อรัง ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ในขณะที่พวกเขากำลังตัดสินใจว่าจะรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม เธอก็ได้รับแนะนำจากพ่อแม่ให้ได้รู้จักกับศูนย์บริจาคตัวอ่อนแห่งชาติ จนนำมาสู่การกำเนิดของเอ็มม่าลูกสาวตัวน้อยคนแรกของพวกเขา หลังจากนั้นสามปีต่อมา พวกเขาต้องการหาน้องชายหรือน้องสาวซักคนให้กับเอ็มมา ซึ่งเธอได้เลือกตัวอ่อนแช่แข็งมาจากผู้รับบริจาครายเดียวกัน
ดร. ซอมเมอร์เฟลท์ ผู้ดูแลกระบวนการได้กล่าวว่า "ตราบใดที่ตัวอ่อนได้รับการดูแลอย่างถูกต้องในถังเก็บไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิลบ 396 องศา ตัวอ่อนจะสามารถใช้การได้ต่อไป จากการเกิดของมอลลี่ทำให้เราได้รู้ว่า ตัวอ่อนสามารถอยู่รอดได้อย่างน้อย 27 ปี หรืออาจมากกว่านั้น" ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการจับเก็บดูแลตัวอ่อนได้นาน โดยไม่มีการจำกัดเวลา
สำหรับลูกสาวคนโตอย่างเอมมี่นั้น ดูเหมือนว่าเธอจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ กับการถูกเรียกว่า "เด็กแช่แข็ง" ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกเด็กหรือทารก ที่เกิดมาจากการเป็นตัวอ่อนแช่แข็ง "พวกเขาอาจจะต้องสู้กับคำเหล่านั้นเมื่อโตขึ้น" ทีน่ากล่าว อย่างไรก็ตามในอนาคตหากเบนจามิน และทีน่าต้องการจะขยายครอบครัว โดยวิธีการแบบเดิมแล้วนั้น พวกเขาจะไม่สามารถใช้ตัวอ่อนที่มีพันธุกรรมเดียวกับ เอ็มม่า และมอลลี่ได้อีกแล้วเนื่องจาก ตัวอ่อน เหล่านั้นได้ถูกใช้ไปจนหมดกับเด็กน้อยทั้งสองเรียบร้อยแล้ว
ที่มา : nypost