รีเซต

ผลตรวจแรงงาน สปป.ลาว เสียชีวิตที่อุดรฯ ไม่ติดเชื้อโควิด-19

ผลตรวจแรงงาน สปป.ลาว เสียชีวิตที่อุดรฯ ไม่ติดเชื้อโควิด-19
TNN ช่อง16
19 สิงหาคม 2563 ( 16:14 )
173
ผลตรวจแรงงาน สปป.ลาว เสียชีวิตที่อุดรฯ ไม่ติดเชื้อโควิด-19

วันนี้ (19 ส.ค.63) นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวระบุว่า วันนี้พบผู้ป่วยใหม่เพิ่ม 1 ราย จากสถานกักกันของรัฐ ทำให้ผู้ป่วยสะสม 3,382 ราย ขณะที่ผู้ป่วยติดเชื้อ หายป่วยแล้ว3,199 ราย

สำหรับกรณีชายชาวมาเลเซีย อายุ 46 ปี ที่ติดเชื้อโควิด-19 หลังกลับจากประเทศไทย ยืนยัน ชายชาวมาเลเซียคนดังกล่าว ขณะอยู่ประเทศไทย ไม่มีอาการ ไม่ได้ติดเชื้อ และ โอกาสที่จะแพร่เชื้อในเมืองไทยน้อยมาก ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลตรวจเชื้อซ้ำ จากทางประเทศมาเลเซีย

"ตอนนี้สิ่งที่ต้องทำ คือ การหาต้นตอของการติดเชื้อของชายคนดังกล่าว ว่าจะติดจากฝั่งไทยหรือไหม แต่ผู้ใกล้ชิดของชายชาวมาเลเซียที่อยู่ในประเทศไทย ตอนนี้ไม่พบว่าติดเชื้อ หากจะให้ชี้ชัดว่าติดเชื้อจากไหน คงต้องผล หรือรอจนกว่าจะหาลำดับสารของพันธุกรรมของเชื้อในชายคนดังกล่าว และ มีความเป็นไปได้ทั้งในประเทศไทย หรือระหว่างขึ้นเครื่องบิน หรือจากฝั่งมาเลเซียเอง" รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว

ส่วนกรณีแรงงานต่างด้าว จาก สปป.ลาว ที่เสียชีวิต อ.หนองหาน จังหวัด อุดรธานี นั้น นพ.ธนรักษ์ อธิบายว่า เบื้องต้น ผลตรวจแรงงานต่างด้าวคนดังกล่าวนั้น ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตอยู่ระหว่างการพิสูจน์หาสาเหตุ

ขณะที่ ข้อมูลเมื่อวานนี้ ที่พบแรงงานต่างด้าวหนีเข้าเมือง 43 ราย เบื้องต้นตรวจเชื้อแล้วไม่พบเชื้อ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการกักตัว 14 วัน 

นพ.ธนรักษ์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้ความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 ในไทยค่อนข้างต่ำ หากมีผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศอาจจะน้อยมาก เนื่องจากผ่านมากว่า 80 วัน คาดการณ์ว่าตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน ไทยไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อหลงเหลืออยู่ 

ดังนั้น สิ่งสำคัญตอนนี้ คือ ต้องจัดการความเสี่ยงผู้เดินทางเข้าประเทศไทยที่ยังคงต้องจัดการให้ดีอย่างต่อเนื่อง สถานกักกันของรัฐและเอกชน การจัดการแรงงานต่างด้าว ต้องขอความร่วมมือภาคเอกชน อย่ารับแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายในช่วงนี้ เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และภาคธุรกิจให้เข้มงวดมาตรการสาธารสุข ในสถานที่ที่มีคนหมู่มาก เช่น ในพื้นที่ชุมนม การประกอบศาสนากิจขนาดใหญ่ แต่ประเทศไทยก็มีโอกาสกลับมาเจอผู้ป่วยรายใหม่ได้ แต่จะทำอย่างไร ไม่ให้เกิดการระบาด ระลอกใหม่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า

นพ.ธนรักษ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับปัจจัยที่จะเกิดการระบาด มีด้วยกัน 3 ปัจจัย คือ ตัวเชื้อ ตอนนี้ข้อมูลทางระบาดวิทยา นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีการฟันธงถึงการกลายพันธุ์ของตัวเชื้อว่ามีความรุนแรง หรือ แพร่เชื้อเร็วกว่าหลายเท่า แต่ไม่ว่าเชื้อจะเป็นอย่างไร แข็งแรงขนาดไหน หากยังคงมาตรการอย่างเต็มที่มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมโรคได้

อย่างไรก็ตาม นพ.ธนรักษ์ ย้ำด้วยว่า การระบาดระลอก 2 ในไทยจะกลับมารุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคนไทยทุกคน หากเราช่วยกัน โอกาสจะเจอผู้ป่วยนั้นมี แต่จะน้อยมาก

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง