ส.ว.ประพันธ์ คูณมี ค้านเสนอชื่อ "พิธา" เป็นนายกฯ ชี้ขาดคุณสมบัติมีลักษณะต้องห้าม
ส.ว.ประพันธ์ คูณมี ชี้การเสนอชื่อ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เป็นการเสนอชื่อบุคคลที่มีลักษณะต้องห้าม ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 160 โดยชัดแจ้ง
เปิดฉากการประชุมร่วมรัฐสภาครั้งสำคัญเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี หลังจากประธานรัฐสภาเปิดโอกาสให้สมาชิกเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมจะให้ที่ประชุมพิจารณาให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่ประชุมรัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นเสนอ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ชิงนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 พร้อมเปิดโอกาสให้ สส.- สว.อภิปรายคุณสมบัติแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
ในการนี้ นายประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา ได้อภิปรายโดยมีใจความว่า วันนี้ เป็นวันที่มีความหมายและความสำคัญ เพราะเป็นวันที่สมาชิกรัฐสภาของเราจะได้ทำภารกิจสำคัญ นั่นก็คือ การพิจารณาได้รับการเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำสูงสุดในการบริหารประเทศ อันเป็นการดำเนินการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560
ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ถือการประชุมครั้งที่ 2 หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นต้นมา แต่สิ่งที่จะอภิปรายขอเรียนท่านประธานว่า มันเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องกราบเรียนในฐานะสมาชิกรัฐสภาที่ต้องมาทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบบุคคลที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะพวกเรามีที่มาแตกต่างกันจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 114 ก็บัญญัติให้ถือว่า พวกเราทั้ง 2 ฝ่ายทั้ง สมาชิกผู้แทนราษฎร และ สว. ย่อมถือว่าเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย
ไม่ว่าจะเป็นมาด้วยวิธีการใด แต่การทำหน้าที่นั้นจะต้องไม่อยู่ในการผูกมัดแห่งอานัญ มอบหมายหรือการครอบงำใดๆ และจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื้อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาใจของประชาชน และก่อนเข้าทำหน้าที่เราก็ต้องกล่าวคำปฏิญาณตนด้วยข้อความเดียวกัน ตามรัฐธรรมนูญ 115 ว่า จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื้อสัตย์สุจริต เพื่อประเทศและประชาชน
พร้อมกันนี้ ส.ว.ประพันธ์ คูณมี กล่าวอีกว่า สิ่งที่ตนจะเสนอเป็นความเห็นโดยสุจริต โดยไม่มีอคติส่วนตัวใดๆแต่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯแต่อย่างใด ซึ่งการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ถือว่า เป็นการเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 160 ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 159 โดยชัดแจ้ง และขอคัดค้านการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพื่อให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรี
บทความเกี่ยวกับการ โหวตนายก
- ประธานสภา ก้าวไกล-เพื่อไทย ใครได้นั่ง?
- ประธานสภา หน้าที่มีอะไรบ้าง? ทำไมใคร ๆ ก็อยากได้เก้าอี้นี้!
- ประธานรัฐสภา จากอดีต-คนปัจจุบัน 2566 ไทยมี ประธานรัฐสภาไทย มาแล้วกี่คน
- เลือกนายกฯ เปิดโพลสำรวจความเห็นปชช. 'ราบรื่น-มีอุปสรรค' หรือไม่?
- "ส.ว.วุฒิพันธุ์" ย้ำจุดยืน โหวตนายกฯคนที่ 30 จากพรรคที่มี ส.ส.มากสุด
- โหวตนายกได้กี่รอบ? เปิด 3 แนวทาง โหวตนายกฯ คนที่ 30
- ประชุมสภา 13 กรกฎาคม 2566 โหวตนายกรัฐมนตรี 09.30 น. เป็นต้นไป
- เปิด 3 แนวทาง 13 กรกฎาคม 2566 โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30
- เปิด "กติกา" โหวตนายกฯ คนที่ 30 พร้อมเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล
- ตร.เตรียมกำลังดูแลวัน "โหวตนายกรัฐมนตรี" แนะเลี่ยงเส้นทางหน้ารัฐสภา
- เปิดท่าทีส.ส.แต่ละพรรคมอง ‘วันโหวตนายกฯ’ ราบรื่นหรือไม่?
- ถ่ายทอดสด "โหวตนายกรัฐมนตรี" 13 กรกฎาคม 2566 เกาะติดพร้อมกันที่นี่!
- เปิดแผนการรักษาความปลอดภัยรอบรัฐสภารับ “วันโหวตนายกฯ” ย้ำยึดหลักสากล
- "พิธา" พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ วันโหวตนายกฯ
- "โหวตนายกฯ" เช็กเสียง 750 สมาชิกรัฐสภา
- ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งรับคำร้องกกต.ยื่นสอบ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เข้าระบบแล้ว