รีเซต

"เชื้อดื้อยา" คร่าชีวิตคนไทยปีละเกือบ 4 หมื่นราย

"เชื้อดื้อยา" คร่าชีวิตคนไทยปีละเกือบ 4 หมื่นราย
TNN ช่อง16
16 พฤศจิกายน 2563 ( 13:06 )
126
"เชื้อดื้อยา" คร่าชีวิตคนไทยปีละเกือบ 4 หมื่นราย

วันนี้( 16 พ.ย.63) นายอนุทิน  ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานสัปดาห์ความตระหนักรู้เรื่องยาต้านจุลชีพโลก ปี 63 โดยมี 22 หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมงาน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชน ถึงการเชื้อดื้อ ยาและยาต้านจุลชีพ เนื่องจากเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นวิกฤตจากทั่วโลก โดยมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อยาปีละกว่า 700,000 ราย  ขณะที่ ไทย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 38,000 ราย

สำหรับ 3 กลุ่มโรค ที่หายได้โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ อาการหวัด เจ็บคอ น้ำหมูกไหล ไอ จาม ต่อมทอนซิลไม่เป็นตุ่มหนอง ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอไม่โต อาการ ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ คลื่นไส้อาเจียนถ่ายไม่เปนมูกเลือด ไม่มีไข้ โดยร้อยละ 99 ของท้องร่วง ท้องเสียทั่วไปไม่ได้เกิดจากเชื่อแบคทีเรีย , กลุ่มอาการสุดท้าย คือ มีแผลตามร่างกายแต่เป็นแผลสะอาด ไม่มีหนองไม่ได้เกิดจากการโดนกัด 

ประเทศไทย บุคลากรทางการแพทย์มีความตระหนักเรื่องเชื้อดื้อยามากขึ้น มีอัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะลดลงในกลุ่มโรคที่ไม่จำเป็นต้องใช้ เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

 ไข้หวัด และโรคท้องร่วงเฉียบพลัน โดยมีการสั่งจ่ายไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 20

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีโรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเพิ่มขึ้นประมาณ 600 แห่ง ทั้งโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลรัฐสังกัดอื่น และโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2562 ใน คนไทยอายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 54 ล้านราย พบว่ามีผู้ที่รู้และเข้าใจเรื่องเชื้อดื้อยาและยาต้านจุลชีพในระดับที่ดีพอ ประมาณ 13 ล้านคน

จากปัญหาเชื้อดื้อยา รัฐบาลไทย ได้มีแผนยุทธศาสตร์ จัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560–2564 จำนวน 5 ยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 คือ การส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมแก่ประชาชน หลังจากพบว่า คนไทยต้องเสีบชีวิตจาก เชื้อดื้อยากว่า 40,000 รายต่อปี

 

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

 

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง