"เอกชน"หนุนปรับแผนใช้"งบกระตุ้นเศรษฐกิจ"

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ชะลอแจกเงินดิจิทัลเฟส 3 และโยกเงินงบ 157,000 ล้านบาท ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ ว่า เป็นการปรับแผนจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเรื่องมาตรการภาษีนำเข้าแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกและเศรษฐกิจไทย รวมทั้งอาจมีความไม่แน่นอน เพราะอยู่ระหว่างการเจรจา ยังไม่รู้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร
โดยจีดีพีไตรมาส 1/2568 ที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศว่าโต ร้อยละ 3.1 เกือบต่ำที่สุดในภูมิภาค สะท้อนความเปราะบาง และปัญหาที่ยังมีอยู่ในระบบ
ซึ่งสถานการณ์โดยรวมยังต้องจับตา เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงอย่างมาก ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวจากยุโรป รวมถึงอิสราเอล อินเดียเพิ่มขึ้น แต่กังวลว่าเป้าของนักท่องเที่ยวที่วางเป้าหมายไว้ที่ 38-39 ล้านคน อาจไป ไม่ถึง
สวนตัวเห็นด้วยกับการปรับแผนใช้งบดังกล่าวให้เหมาะสม เพราะหากการส่งออกได้รับผลกระทบ มียอดส่งออกลดลง จะส่งผลต่อกลุ่มโรงงาน การจ้างงาน ประเด็นเหล่านี้ต้องเตรียมงบเอาไว้รองรับ โดยวงเงิน 157, 000 ล้านบาท ถูกนำมาใช้เพื่อรองรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ถือว่าเหมาะสม หากอนาคตสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ จะกลับมาแจกเงินดิจิทัลเฟส 3 ต่อ ก็ทำได้
นายเกรียงไกรกล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องจีดีพีไทยปี 2568 ที่ สศช.ประเมินว่าโตแค่ร้อยละ 1.8 นั้น จะเห็นว่าคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกาศเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ว่าจีดีพีไทยจะโตที่ร้อยละ 2.2 ภายใต้เงื่อนไขการถูกเรียกเก็บภาษีจากสหรัฐ ร้อยละ 10 แต่หากถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าที่ร้อยละ 36 จะส่งผลกระทบให้การส่งออกทั้งปีติดลบร้อยละ 2 และส่งผลกระทบไปถึงจีดีพีเหลือแค่ร้อยละ 0.3-0.9 เหลือไม่ถึงร้อยละ คล้ายกับสำนักอื่นที่คาดการณ์
สิ่งสำคัญคือ ต้องดูทุกปัจจัย เช่น การเจรจาระหว่างไทยกับสหรัฐ จะลดภาษีนำเข้าได้เหลือเท่าไหร่ ต้องมองเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค เช่น เวียดนาม หากได้ปรับลดภาษีเหลือน้อยกว่าไทย