รีเซต

ซีพี เปิดตำราแก้โจทย์ยาก ตอนซื้อมาเป็นราคาก่อนโควิด บวกเงื่อนไขกรรมการ กขค. ที่ซีพีต้องอุ้ม SME ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจไปด้วยกัน

ซีพี เปิดตำราแก้โจทย์ยาก ตอนซื้อมาเป็นราคาก่อนโควิด บวกเงื่อนไขกรรมการ กขค. ที่ซีพีต้องอุ้ม SME ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจไปด้วยกัน
มติชน
6 พฤศจิกายน 2563 ( 13:35 )
92
ซีพี เปิดตำราแก้โจทย์ยาก ตอนซื้อมาเป็นราคาก่อนโควิด บวกเงื่อนไขกรรมการ กขค. ที่ซีพีต้องอุ้ม SME ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจไปด้วยกัน

ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้ การรักษาธุรกิจเดิมให้รอด ปลอดภัย ผ่านช่วงเวลาอันยากลำบากของโรคโควิด -19 ยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทำให้น้อยครั้งที่เราจะได้เห็นการลงทุนเพิ่มของธุรกิจต่างๆ เพราะล้วนเข้าสู่เซฟโหมด แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ดีลใหญ่หลายคนให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นดีล กลุ่ม LVMH” ประกาศเสนอซื้อ “Tiffany & Co” ด้วยมูลค่ามหาศาลถึง 16,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 506,000 ล้านบาท) และ อีกดีลหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ ดีลการเข้าซื้อ “เทสโก้ โลตัส” ในไทย-มาเลเซีย มูลค่า 3.38 แสนล้านบาทของกลุ่มซีพี กลับมาหลังขายออกไปในช่วงต้มยำกุ้ง ทำให้เป็นที่น่าใจมากกว่า ราคาที่ซื้อมานั้น อยู่ในสถานการณ์ที่ต่างกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ที่อยู่ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และ ยังไม่รู้ว่าปัญหาโควิด-19 จะจบลงเมื่อใด ทำให้ซีพีต้องระดมสมอง บวกกับเงื่อนไขจาก คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. ที่คาดว่า จะให้จุดแข็งของซีพี ในการช่วยยกระดับเอสเอ็มอี และต่อยอดตลาดไปสู่ต่างประเทศ ทั้งในอาเซียน และ ประเทศจีน ก็จะเป็นตัวพยุงเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย แต่โจทย์ที่สำคัญคือ ซีพี จะต้องช่วยพัฒนาสินค้าไทย พัฒนาเอสเอ็มอีให้พร้อมต่อตลาดต่างประเทศด้วย ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้สมอง และสองเท้า ที่ต้องก้าวไปพร้อมกันกับคู่ค้า อย่างยั่งยืน

 

หากเปิดตำราธุรกิจ การเข้าซื้อธุรกิจใด หรือ ลงทุนในธุรกิจใดนั้น สิ่งที่ต้องทำเป็นสิ่งแรกคือการประเมินจุดคุ้มทุน และ การประมาณการลูกค้า ส่องหาโอกาสในอนาคต ว่าจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างไร แต่จะมีใครในโลกนี้ ที่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ได้ว่า จะมีโรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้หลายประเทศต้องล็อคดาวน์อยู่กับบ้าน และ เกิดเป็นวิกฤตเศรษฐกิจตามมาอีกหลายระลอก ทำให้ดีลการซื้อขายที่เกิดขึ้นก่อนการระบาดของโควิด-19 กลายเป็นของแพงไปเลยทีเดียว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ  ดีลขนาดใหญ่เคยเป็นข่าวคึกโครมหลังจาก “กลุ่ม LVMH” ประกาศเสนอซื้อ “Tiffany & Co” ด้วยมูลค่ามหาศาลถึง 16,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 506,000 ล้านบาท) แม้ท่าทีของดีลดังกล่าวจะดูเป็นไปได้ด้วยดี และตัวเลขการเสนอซื้อก็เคยถูกยกให้สูงเป็นประวัติการณ์ในการซื้อธุรกิจแบรนด์หรู แต่ตอนนี้กลับล่มไม่เหลือชิ้นดี เพราะ การเข้าซื้อธุรกิจ ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และท้าทายมาก โดยกลุ่ม LVMH ชี้แจงว่า การเข้าซื้อธุรกิจของ Tiffany & Co คงไม่เสร็จสมบูรณ์ได้ LVMH บอก “ยกเลิก” ดีลประวัติศาสตร์นี้แล้ว

 

ทั้งนี้ก็เพราะของที่เคยคิดว่า คุ้มค่า แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป โดยเฉพาะมีเหตุการณ์โรคระบาด และ การเข้ามาของโลกออนไลน์ ที่ทดแทนการเดินจับจ่ายใช้สอย ทำให้พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป ของที่เคยคุ้มค่า อาจได้มาในราคาที่แพงขึ้นหลายเท่า ทำให้การลงทุนในช่วงนี้ของหลายประเทศชะลอตัว หยุดการลงทุน และ การเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศหยุดชะงัก ดังนั้น การที่ซีพีซื้อเทสโก้โลตัสมานั้น หากยังไม่สามารถปรับตัวธุรกิจไฮเปอร์มาร์ทได้เร็วพอ ก็จะไม่สามารถฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจได้ ดังนั้น ต้องคิดใหม่ ทำใหม่ และ พาคู่ค้าทุกคนรอดไปด้วยกัน เพราะหากซื้อมาแล้วทำวิธีเดิมที่ทำอยู่ หากดีเจ้าของเดิมคงไม่ขายออก ดังนั้น ซีพี ต้องพลิกตำราหากทางออก และ สู้กับผู้เล่นยุคใหม่ที่อยู่ในโลกตลาดออนไลน์ ที่มีเจ้าของเป็นประเทศเพื่อนบ้านอยู่รอบตัว

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  เปิดเผยว่า ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจตลาดค้าส่งค้าปลีกมีบทบาทในเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างมาก โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 15.9% ของจีดีพีสูงเป็นอันดับสองรองจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต ดังนั้น การรักษาอุตสาหกรรมให้คงอยู่แบบยั่งยืน และ ฝ่าวิกฤตความเปลี่ยนแปลงรอบตัวไปให้ได้นั้น มีความสำคัญมาก ในการเข้าซื้อเทสโก้โลตัส ครั้งนี้ หากคู่ค้าได้รับการส่งเสริมอย่างเป็นระบบและเป็นธรรม รวมถึงมีการต่อยอด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงลูกค้า ก็จะมีทางเลือกที่มากขึ้น  เป็นไปตามคาดหวังแล้วก็จะทำให้การดำเนินการเปลี่ยนการเป็นเจ้าของราบรื่น พลิกธุรกิจเดิมให้เติบโตต่อเนื่องได้ รักษาการจ้างงาน ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม สภาวะการค้าปลีกในประเทศไทยก็จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทย

 

โดยรวม สรุปว่า หลังผ่านคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. ซีพี ต้องวางแผนว่า ธุรกิจที่ส่งมอบมา ในราคาก่อนโควิด-19 จะแพงหรือไม่นั้น เงื่อนไขที่ได้มา จะทำอย่างไรให้ทุกคนวินวิน รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และก้าวไปพร้อมๆกันอย่างยั่งยืน จะต้องปรับเปลี่ยนอะไรในเทสโก้โลตัสบ้าง  การพัฒนาเอสเอ็มอี  คิดวิธีจะทำอย่างไรให้ทุกคนวิน การผสมผสานเทคโนโลยีจะทำให้คู่ค้ามีความแข็งแรงขึ้นอย่างไร การส่งเสริมตลาดใหม่ในอินเตอร์ให้เอสเอ็มอี  ล้วนเป็นโจทย์ยากยกกำลังสอง ที่ท้าทาย ที่เป็นโจทย์ไม่ง่าย แต่ถ้าทำได้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการพยุงเศรษฐกิจไทยได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง