รีเซต

เลือกตั้ง 2566 : รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีการยุบสภามาแล้ว 14 ครั้ง

เลือกตั้ง 2566 : รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีการยุบสภามาแล้ว 14 ครั้ง
TrueID
27 มีนาคม 2566 ( 10:39 )
230
เลือกตั้ง 2566 : รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีการยุบสภามาแล้ว 14 ครั้ง

ข่าววันนี้ หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีการยุบสภามาแล้ว 14 ครั้ง

 

ยุบสภา 2566

ข่าวยุบสภาวันนี้ ซึ่งการยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย คือ การทำให้ความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสิ้นสุดลง โดยนายกรัฐมนตรีเสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นผลให้สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งปวงพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ทั้งนี้ เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ การยุบสภาเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของระบบรัฐสภาที่ทำให้มีการคานอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร[ต้องการอ้างอิง] อาจนำมาใช้แก้ปัญหาทางตันทางการเมือง นอกจากทางอื่น เช่น รัฐบาลลาออก

 

รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีการยุบสภามาแล้ว 14 ครั้ง 

ทั้งนี้ เหตุผลในการยุบสภานั้น หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติไว้ไม่ ดังนี้ จึงเป็นไปตามประเพณีการปกครองตลอดจนสภาวการณ์ของประเทศในขณะนั้น อาทิ เกิดความขัดแย้งรุนแรงในรัฐสภาหรือระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล การใช้เป็นเครื่องมือในการชิงความได้เปรียบทางการเมือง เช่น ขณะที่ตนมีคะแนนนิยมสูงมาก การที่สภาวการณ์ต่าง ๆ สุกงอมพอสมควรที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนครบอายุสภา เช่น ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญได้เสร็จสิ้นแล้ว

 

ชื่อวันที่ชื่อนายกรัฐมนตรีชุดสภาผู้แทนราษฎรเหตุผล
111 กันยายน พ.ศ. 2481พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (2430 - 2490)2รัฐบาลขัดแย้งกับสภา
215 ตุลาคม พ.ศ. 2488หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (2448 - 2540)3สภาผู้แทนยืดอายุมานานในช่วงสงคราม จนสมควรแก่เวลา
312 มกราคม พ.ศ. 2519หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (2454 - 2538)11ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
419 มีนาคม พ.ศ. 2526พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (2463 - 2562)13สภาผู้แทนราษฎรขัดแย้งกับวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ
51 พฤษภาคม พ.ศ. 2529พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (2463 - 2562)14รัฐบาลขัดแย้งกับสภา กรณีการตราพระราชกำหนด
629 เมษายน พ.ศ. 2531พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (2463 - 2562)15ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
730 มิถุนายน พ.ศ. 2535อานันท์ ปันยารชุน (2475 - ปัจจุบัน)17เป็นรัฐบาลเฉพาะกิจเพื่อยุบสภาหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง
819 พฤษภาคม พ.ศ. 2538ชวน หลีกภัย (2481 - ปัจจุบัน)18ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
928 กันยายน พ.ศ. 2539บรรหาร ศิลปอาชา (2475 - 2559)19ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
109 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543ชวน หลีกภัย (2481 - ปัจจุบัน)20ปฏิบัติภารกิจตามเป้าหมายเสร็จแล้ว
1124 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (2492 - ปัจจุบัน)22เกิดวิกฤตการณ์การเมืองจากการชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรี ต่อมาเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
1210 พฤษภาคม พ.ศ. 2554อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (2507 - ปัจจุบัน)23วิกฤตการณ์ทางการเมือง
139 ธันวาคม พ.ศ. 2556ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (2510 - ปัจจุบัน)24ปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกของชนในชาติ (วิกฤตการณ์ทางการเมือง) ต่อมาเกิดรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557)
1420 มีนาคม พ.ศ. 2566ประยุทธ์ จันทร์โอชา (2497 - ปัจจุบัน)25สภาครบวาระ

 

ข้อมูล :  วิกิพีเดีย

ภาพ : หอสมุดรัฐสภา

 

บทความเกี่ยวกับการ เลือกตั้ง 2566

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง