รีเซต

อยากเป็นทนายความ แบบ 'พี่ทิชา' ในละคร 'ให้รักพิพากษา' ต้องทำยังไง?

อยากเป็นทนายความ แบบ 'พี่ทิชา' ในละคร 'ให้รักพิพากษา' ต้องทำยังไง?
TeaC
11 สิงหาคม 2564 ( 20:18 )
486
1
อยากเป็นทนายความ แบบ 'พี่ทิชา' ในละคร 'ให้รักพิพากษา' ต้องทำยังไง?

"โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร?" เชื่อว่าหลายคนในวัยเด็กต้องเคยถูกตั้งคำถามนี้จากพ่อแม่ ครู และเพื่อน ๆ  และคำตอบที่ได้ต้องมีอาชีพทนายความอยู่ในลิสต์อันดับต้น ๆ กันอย่างแน่นอน ยิ่งใครได้ดู Dare To Love ให้รักพิพากษา เกิดตกหลุมรักทนายความสาว จนอยากเรียนเป็นทนายความเก่ง ๆ แบบเขาบ้าง TrueID ชวนมาถอดอาชีพใฝ่ฝันจะได้เตรียมตัวและลุยสู่อาชีพในฝันกัน

 

อาชีพทนายความที่ใครหลายคนชื่นชอบและอยากจะเป็น สิ่งสำคัญที่ต้องมี นั่นคือ การเป็นคนช่างสังเกต มีความสนใจ ใฝ่หาความรู้ที่ไม่ได้มีเพียงแค่ตำราเกี่ยวกับกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความรู้รอบตัว มีไหวพริบ มีทักษะในการเจรจา การต่อรอง การโน้มน้าวจูงใจ (Communication & Influencing) ไปจนถึงการใช้ทักษะการโค้ชชิ่ง (Coaching) ทั้งการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา พัฒนา ทั้งลูกทีมในสังกัดของตัวเอง ตลอดจนให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ลูกความ

 

และนอกจากเราจะประกอบอาชีพเป็นทนายความแล้ว เรายังสามารถต่อยอด เพิ่มศักยภาพให้ตัวเองด้วยการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของหน่วยงาน เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายของหน่วยงาน เป็นพนักงานอัยการ และก้าวไปสู่การเป็นผู้พิพากษาได้อีกด้วย

 

แถมเรื่องกฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ในชีวิตประจำวันควรรู้ไว้ ซึ่งในให้รักพิพากษาสอดแทรกการอธิบายข้อกฎหมายต่าง ๆ ในแต่ละสถานการณ์ที่มีความยากและความง่ายแตกต่างกันออกไป และทำให้เราได้คิดว่าเรื่องกฎหมายในชีวิตประจำวันเราต้องควรรู้ไว้บ้างจริง ๆ นะ

 

อยากเป็นทนายความ แบบ 'พี่ทิชา' ในละคร 'ให้รักพิพากษา' ต้องทำอย่างไร?

 

อันดับแรกเลยถ้าอยากมีอาชีพทนายความ ต้องเรียนเรียนจบปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์มาเท่านั้น จากนั้นต้องทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ไล่ไป ตั้งแต่สมัครฝึกอบรมกับสภาทนายความ ทดสอบวัดความรู้ สอบปากเปล่า อบรมจริยธรรมและรับประกาศนียบัตร และขึ้นทะเบียนทนายความ

 

หลังจากนั้นก็เริ่มต้นอาชีพทนายความอย่างเต็มตัว สถานีต่อไปคือ การหาลูกความ หรือหางานนั่นเอง ซึ่งทนายความแย่งออกได้เป็น 2 กล่มใหญ่ ได้แก่ ทนายความที่มีสังกัด กับทนายความอิสระ

 

ทนายความที่มีสังกัด หรือที่เรียกกันว่านิติกร เป็นทนายความที่เป็นลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ดูแลงานในฝ่ายกฎหมายของหน่วยงานนั้น ๆ มีเงินเดือนประจำ ทนายความกลุ่มนี้ก็จะสบายหน่อย เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ ส่วนข้อดีคือ มีความมั่นคงในเรื่องของรายได้ที่แน่นอน

 

 

ส่วนทนายความอิสระ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าอิสระ พูดกันตรง ๆ ถ้าหากไม่ขวนขวายหางานก็มีโอกาสอดตายได้ เพราะรายได้ไม่แน่นอน มีบางงานได้มาก บางงานได้น้อย แถมซ้ำร้ายอาจโดนทนายคนอื่นตัดหน้า ตัดราคาแย่งลูกความไปอีกก็มี แต่ในความอิสระก็มีข้อดีคือ ไม่มีใครมากำกับควบคุม เรียกค่าว่าจ้างได้ตามที่พอใจ จะรับหรือปฏิเสธงานก็ได้ มีเวลาใช้ชีวิตที่อิสระมากกว่าประเภทแรก

 

 

ส่อง "รายได้" ทนายความ 

 

จะว่าไปเรื่องรายได้อย่างที่รู้กันอยู่การมีเงินเดือนประจำเป็นสิ่งที่มั่นคงกว่าแน่นอน ซึ่งทนายความที่มีสังกัด จะมีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตั้งแต่ 8,500 – 10,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความสามารถประสบการณ์ และประเภทของหน่วยงานที่ทำงาน ขณะที่ อาชีพทนายความอิสระ จะรับว่าความทั่วไปอาจได้รับค่าตอบแทนจากการว่าความร้อยละ 10 – 20 ของทุนทรัพย์ในคดีนั้น ๆ หรืออาจจะได้รับค่าตอบแทนตามแต่จะตกลงกับลูกความ ราว 20,000-100,000 บาทขึ้นไปแล้วแต่งานที่รับ และขนาดของทุน-ทรัพย์ในแต่ละคดี สภาพการทำงาน

 

ถ้าใครบอกว่า "อาชีพทนายความ" เป็นอาชีพง่าย ๆ อย่าเพิ่งไปเชื่อ

 

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าใครก็เป็นทนายความได้ แต่ถ้าใครบอกว่าอาชีพทนายความเป็นอาชีพง่าย ๆ อย่าเพิ่งไปเชื่อ เพราะนอกจากความตั้งใจ ท่องจำ ไม่พอแน่ ๆ เพราะระหว่างทางในแต่ละสถานการณ์มีความท้าทาย โจทย์ที่ไม่ได้ราบเรียบเสมอไป กว่าจะช่วยลูกความให้พ้นผิดได้ไม่ใช่เรื่องง่ายจริง ๆ แถมในชีวิตการทำงานยังต้องรับมือกับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย และตัวแปรอื่น ๆ เข้ามาอีกด้วย ถ้าไม่เชื่อก็อย่าลืมดูละคร Dare To Love ให้รักพิพากษา ทางช่อง 3 แล้วหยิบความรู้เรื่องกฎหมายมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใครที่อยากเป็นทนายความเรื่องนี้คงสะท้อน "จรรยาบรรณ" ของอาชีพทนายความ อาชีพที่ทุกคนยกย่องให้เป็นตัวแทนแห่งความยุติธรรม 

 

 

ต้องการรับชมช่อง 3 คลิกเลย!

 

 

 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง