รีเซต

สทนช. เฝ้าระวังปัญหาน้ำน้อยใน 4 เขื่อน ช่วงฤดูแล้ง

สทนช. เฝ้าระวังปัญหาน้ำน้อยใน 4 เขื่อน ช่วงฤดูแล้ง
TNN ช่อง16
14 กุมภาพันธ์ 2567 ( 13:03 )
32
สทนช. เฝ้าระวังปัญหาน้ำน้อยใน 4 เขื่อน ช่วงฤดูแล้ง

วันนี้ ( 14 ก.พ. 67 )นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำชาติแห่งชาติ  (สทนช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ โดยสถานการณ์ในน้ำอ่างเก็บน้ำภาพรวม วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567  ปริมาณน้ำรวมร้อยละ 68 ของความจุเก็บกัก (55,707 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ อยู่ที่ ร้อยละ 54 (31,497 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อยมี 4 แห่งได้แก่ ภาคเหนือ เขื่อนสิริกิติ์ , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนจุฬาภรณ์, ภาคตะวันออก อ่างเก็บน้ำคลองสียัด และภาคกลาง เขื่อนกระเสียว ทั้ง 4 แห่ง ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง แต่ยังมีการบริหารจัดการได้ดี เพียงพอกับช่วงฤดูฝน


ทั้งนี้พื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำขณะนี้มี 11 จังหวัด 30 แห่ง โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ที่ได้มีการร้องขอไปทางกรมฝนหลวงในการทำฝนหลวงแล้ว ขณะที่พื้นที่ปลายน้ำที่ประสบปัญหาขาดแคลน มี 1 จังหวัด คือ สมุทรสาคร ที่ได้มีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้งแล้ว เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้ขนาดแคลนน้ำทำการเกษตร จุดนี้ได้มีการบริหารจัดการน้ำแล้ว เพื่อเตรียมรับมือน้ำทะเลหนุนสูง โดยคาดว่าในวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้  โดยได้วันนี้มีการสั่งการให้เร่งระบายน้ำ โดยได้ปรับเพิ่มปริมาณการระบายน้ำเขื่อนพระราม 6 เพื่อที่จะควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในค่าปกติ สามารถใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ และให้พื้นที่ที่อยู่ปลายน้ำ มีน้ำใช้เพียงพอต่อภาคเกษตรกรรม


ขณะที่สถานการณ์เอลนีโญที่ยังรุนแรงอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้มีอากาศร้อนสูงและการระเหยสูง การใช้น้ำในทุกพื้นที่ จึงต้องมีการควบคุมอย่างเคร่งครัดให้ใช้ตามกฎระเบียบ โดยเฉพาะการใช้น้ำในการทำเกษตรกรรม อย่าง นาปรัง โดยในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีการใช้น้ำเกินค่อนข้างมาก แต่ยังสามารถควบคุมได้ รวมถึงจะมีมาตรการดำเนินการปรับลดหรืองดในการใช้น้ำกรณีที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวแล้วคาดว่าประมาณกลางเดือนมีนาคมจะงดหรือลดในการส่งน้ำ เพื่อที่จะทำการบำรุงรักษาและซ่อมแซม โครงสร้าง ชลประทานให้ดีขึ้น โดยได้ขอความร่วมมือไปทางทุกจังหวัดทั่วประเทศแล้ว 


รวมถึงในปีนี้จะมีสถานการณ์ลานิญ่า ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนยาวไปถึง ปี 2568 ที่จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นร้อยละ 50  โดยข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ภาคใต้จะมีปริมาณฝนตกในช่วงมิถุนายนระดับน้ำฝนอยู่ที่ 400 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ 100 มิลลิเมตร และแม้จะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มมากขึ้นแต่ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้มีแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เพียงพอในช่วงปีหน้า ต่อ ๆ ไป 


ภาพจาก: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง