รีเซต

ศิลปะ2แสนปี พิมพ์รอยมือ-รอยเท้าเด็กๆ ทิเบต วิจัยชี้ตั้งใจหรือบังเอิญ

ศิลปะ2แสนปี พิมพ์รอยมือ-รอยเท้าเด็กๆ ทิเบต วิจัยชี้ตั้งใจหรือบังเอิญ
ข่าวสด
21 กันยายน 2564 ( 01:37 )
77

ศิลปะ2แสนปี - เดลีเมล์ รายงานผลการศึกษาของนักวิจัย ถึงงานศิลปะเก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นรอยเท้าและรอยมือที่เด็กๆ ทำไว้เมื่อ 226,000 ปีก่อน ที่ทิเบต

 

 

บางคนคิดว่ารอยเท้าและมือเล็กๆ จงใจวางเป็นรูปแบบ แต่อีกหลายคนเห็นว่าอาจเป็นเรื่องบังเอิญ

 

 

หากมองว่าเป็นงานศิลปะ รอยมือและเท้านี้ก็จะมีอายุเก่าแก่กว่าภาพวาดในถ้ำที่อินโดนีเซียกว่า 100,000 ปี

 

 

รอยพิมพ์มือเด็ก อายุ 7-12 ปี

 

 

นักวิจัยคาดว่ารอยพิมพ์มือ 5 รอยและรอยเท้า 5 รอยที่พบในแหลมหินเกซางบนที่ราบสูงทิเบตน่าจะเป็นของมนุษย์เดนิโซวานซึ่งเป็นญาติห่างๆ ของมนุษย์สมัยใหม่และอาจะเป็นฝีมือของเด็กอายุประมาณ 7 ขวบ และอีกคนหนึ่งอายุ 12 ปีที่พิมพ์มือและเท้าบนหินปูนอ่อนนุ่มและกลายเป็นหินแข็งเมื่อ 169,000-226,000 ปีที่แล้ว

 

 

มีทั้งรอยมือและรอยเท้า

 

 

งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์จากผลงานการศึกษาของนักวิจัยจากหลายสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์และมหาวิทยาลัยบอร์นมัธ

 

 

โธมัส เออร์แบน นักวิจัยจากภาควิชาศิลปะและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ กล่าวว่ารอยพิมพ์เกิดขึ้นในยุคไพลสโตซีน อายุประมาณ 169,000-226,000 ปีก่อน

 

 

รอยมือที่แสดงถึงการกดน้ำหนักที่เจตนาของเด็กๆ

 

รอยพิมพ์ประทับบนพื้นผิวลื่นและลาดเอียงซึ่งเกิดจากความตั้งใจทำขึ้นมา ตนคิดว่าเป็นพฤติกรรมด้านศิลปะ พฤติกรรมสร้างสรรค์และบ่งบอกถึงความเป็นมนุษย์

 

 

เด็กๆ เจ้าของผลงานอาจเห็นว่าเป็นสื่อหรืออาจเป็นการแสดง เช่น การแสดงสดให้คนอื่นดูว่าเป็นคนทำรอยเหล่านี้ขึ้นมาซึ่งอาจจะไม่ใช่พฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ แต่เป็นสัญลักษณ์ของความขี้เล่นและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งนำมาสู่ความหมายคำถามพื้นๆ ถึงความหมายของมนุษย์

 

 

งานศึกษาวิจัยรอยมือรอยเท้า

 

มนุษย์โบราณมักพิมพ์รอยเท้าซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป แต่รอยพิมพ์มือพบได้ยากกว่าและอาจจะเกี่ยวกับงานศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้นในถ้ำซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้และประทับรอยมือบนถ้ำ

 

 

การสืบหาอายุของรอยพิมพ์นี้ต้องใช้วิธีการยูเรเนียม ซีรีส์ เดทติงและเกิดคำถามว่าใครเป็นคนทำ ส่วนอายุของเด็กๆ เจ้าของผลงานใช้การตั้งสมมติฐานจากขนาดของรอยพิมพ์

 

 

ด้านเดวิด จาง จากมหาวิทยาลัยกวางโจวและหัวหน้าคณะผู้เขียนงานวิจัยกล่าวว่ารูปแบบรอยพิมพ์ดูเหมือนไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ แต่เป็นการจัดวางหรือเคลื่อนไหวหรือวางมือนิ่งๆ

รอยมือของทิเบตมีอายุมากกว่าที่พบในถ้ำที่อินโดนีเซีย

 

ศิลปินน่าจะเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิต เช่น เคยเห็นรอยเท้าของตัวเองมาก่อนและพิมพ์รอยเท้าในรูปแบบที่ดูไม่ปกติซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วยการพิมพ์มือเพราะตามปกติ จะไม่เห็นการวางมือในลักษณะนี้ ดังนั้น อาจเป็นไปได้ว่าเด็ก 2 คน กำลังเล่นโคลนกันอยู่และพิมพ์รอยมือกับรอยเท้าคล้ายตารางจึงน่าจะเข้าข่ายงานศิลปะ

 

 

พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่าลูกๆ พยายามสร้างงานศิลปะ ดังนั้น จึงพอจะสรุปได้ว่าจากองค์ประกอบการวางมือและเท้าควรจัดว่าเป็นศิลปะตามคำนิยาม แม้ว่าบางคนอาจจะไม่เห็นด้วยก็ตาม

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง