รีเซต

ไทยปรับตัวรับ The New Abnormal ก่อนเจอ New Normal

ไทยปรับตัวรับ The New Abnormal ก่อนเจอ New Normal
TNN ช่อง16
11 พฤษภาคม 2563 ( 09:49 )
755
ไทยปรับตัวรับ The New Abnormal ก่อนเจอ New Normal

 

เฟซบุ๊กของ รศ.มาลี บุญศริพันธ์ คณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา ระบุว่าทางราชบัณฑิตยสภาได้บัญญัติศัพท์ "New Normal"ซึ่งเรามักจะได้ยินบ่อยๆ จากการแถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด-19 จากทาง ศบค. และทาง ศบค. ก็พยายามขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนทุกคน ใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ หรือ New Normal

 

 

รศ.มาลีระบุว่า New Normal : ความปกติใหม่ , ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีตอันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย

 

 

ดร.สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ภาคเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โพสต์ขอความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว   ว่า หลังวิกฤติโควิด-19 อาจเห็นภาพเค้าลางของความไม่ปกติ (Abnormal) ที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ ภาคบริการ ค้าปลีกและร้านอาหาร ที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากความปกติ สู่สิ่งที่กลายเป็นความไม่ปกติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีอะไรบ้างที่จะเปลี่ยนผ่านไป  และโลกต่อไปอาจมี3เฟส - ภาวะไม่ปกติ ภาวะไม่ปกติแบบใหม่ และภาวะปกติใหม่ (The Abnormal, the New Abnormal and the New Normal) 

 

เรากำลังเผชิญภาวะไม่ปกติ เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่วิกฤติแบบที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนที่มี ศูนย์กลางอยู่ที่มนุษย์ (Human-centered crisis) ที่โจทย์ของสาธารณสุขและเศรษฐกิจผูกกันอย่างแน่นแฟ้นโจทย์ที่ต้องแก้นั้นยากแต่อย่างน้อยความเห็นส่วนใหญ่ยังไปทางเดียวกันว่า “ต้องรีบหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสให้ได้ก่อน แล้วด้านเศรษฐกิจก็อัดมาตราการเยียวยาช่วยเหลือให้เต็มที่

 

วิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ ไม่มีสัญญาณบอกกล่าวล่วงหน้า ภาพเค้าลางของความไม่ปกติ (Abnormal) ที่เกิดขึ้นผ่านวิกฤติโควิด-19ต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ ภาคบริการ ค้าปลีกและร้านอาหาร ที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากความปกติ (Normal) สู่สิ่งที่กลายเป็นความไม่ปกติซึ่งถูกเรียกว่า Abnormal แรงผลักของวิกฤติกำลังจะเปลี่ยนแพลตฟอร์มความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ให้มีระเบียบแบบแผนที่ไม่เป็นไปตามจินตนาการเหมือนในอดีต มาดู ทีละภาคอุตสาหกรรม ที่ได้รับผลกระทบและต้องเปลี่ยนแปลงไป 

 

 

ภาคการท่องเที่ยว ทำรายได้จากการท่องเที่ยวของชาวไทยและต่างชาติ มีบทบาทสำคัญถึง 18% ของจีดีพี และกลายเป็นฮีโร่ที่พยุงเศรษฐกิจหลายๆ ปีที่ผ่านมา เมื่อจบปี 2562 ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 3.06 ล้านล้านบาท มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย 39.77 ล้านคน สร้างรายได้ 1.96 ล้านบาท   

   

ตลาดในประเทศมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางกว่า 167 ล้านคน สร้างรายได้ 1.10 ล้านบาท ในเดือน มี.ค.2563 นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยลดลงกว่า 80% ทั้งในแง่จำนวนและรายได้ หากสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายได้เร็ว หรือภายในเดือน มิ.ย. คาดว่าสิ้นปีจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปีราว 26 ล้านคน เทียบแผนที่วางไว้ 42 ล้านคน เมื่อปลายปี 2562 ประมาณการรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 1.23 ล้านล้านบาท ลดลงจากประมาณการ 3.18 ล้านล้านบาท

 

ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนใหญ่ปรับตัวได้ค่อนข้างยาก จากลักษณะของธุรกิจ เช่น สายการบิน โรงแรม หรือ สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น โดยบางส่วนปรับรูปแบบการบริการให้หลากหลายมากขึ้น อาทิ โรงแรมหันมาทำอาหารขายดีลิเวอรี หรือรถขนส่งสาธารณะ เช่น แท็กซี่ หรือตุ๊กตุ๊กหันมาส่งสินค้าแทนการรับส่งผู้โดยสาร เป็นต้น

 

 

วิกฤติโควิด-19ครั้งนี้สร้างผลกระทบทำให้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบกว่า 37 ล้านคน ได้รับผลกระทบกันทั่วหน้า มากสุดคือภาคบริการ ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ที่มี 19 ล้านคน หรือราว 52% ของแรงงานทั้งระบบ และเป็นแรงงานนอกระบบ ที่ไม่มีงานแน่นอน 10.8 ล้านคน   

      

SCB EIC ประเมินว่า ผู้ว่างงานจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 3-5 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 8-13% ของกำลังแรงงานรวมปัจจุบัน ทิ้งห่างอัตราการว่างงานในวิกฤติต้มยำกุ้งที่ 3.4% ในปี 2541 และในวิกฤติการเงินโลกปี 2551-2552 ที่ 1.5% ในปี 2552 ถือเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมาในปี 2528

 

สาเหตุที่การว่างงานครั้งนี้มีแนวโน้มสูงกว่าในอดีต เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนที่มีความเปราะบางสะสมตั้งแต่ช่วงก่อนหน้า ประกอบกับเทคโนโลยีดิสรัปชั่น ก่อนมีโควิด-19 องค์กรมุ่งเข้าสู่ "Lean Organization" ตอนนี้จึงเป็นเหมือนทั้งโลกร้ายและเทคโนโลยี กรรมซัดที่จะทำให้คนตกงานเยอะ มีเทคโนโลยีใหม่ๆ และแอพพลิเคชั่นมากมายหลากหลายที่พร้อมจะเข้ามาแทนคน และยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้โรงงานพยายามใช้แมชชีนเข้ามาแทนคน อีกทั้งภาคเกษตรที่เคยเป็นแหล่งดูดซับแรงงานก็มีแนวโน้มที่จะมีข้อจำกัดในการทำหน้าที่นั้นในครั้งนี้จากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง ส่งผลให้จำนวนผู้ว่างงานหลังโควิดจึงอาจสูงถึงสองหลัก

 

 

หนี้สินครัวเรือนไทยล่าสุดพุ่ง 13.47 ล้านล้านบาท เพิ่มจากไตรมาสก่อนกว่า 2.2 แสนล้าน ดันหนี้ต่อจีดีพีแตะ 79.8% โดยหนี้สินเพื่อเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ 4.54 ล้านล้านบาท หนี้สินเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 3.68 ล้านล้านบาท หนี้สินเพื่อประกอบอาชีพ 2.41 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.79% หนี้สินเพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ 1.73 ล้านล้านบาท หนี้สินอื่นๆ 7.09 แสนล้านบาท และหนี้สินเชื่อเพื่อการศึกษา 3.97 แสนล้านบาท

 

ภาพความไม่ปกติ (Abnormal) ที่เกิดขึ้นผ่านวิกฤติโควิด-19ต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ ธุรกิจ ภาคบริการ ค้าปลีกและร้านอาหาร ที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากความปกติ (Normal) สู่สิ่งที่กลายเป็นความไม่ปกติซึ่งถูกเรียกว่า Abnormal แรงผลักของวิกฤติกำลังจะเปลี่ยนแพลตฟอร์มความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ให้มีระเบียบแบบแผนที่ไม่เป็นไปตามจินตนาการเหมือนในอดี9 หลังวิกฤติโควิด 19 อะไรบ้างจะเปลี่ยนผ่านจาก Normal ไปสู่ Abnormal

 

 

Abnormal พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการด้วยเหตุผล เพราะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองและวิกฤติครั้งนี้ที่ทำให้ผู้บริโภครู้ว่าอะไรที่มีความจำเป็นในชีวิต อะไรเป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการจับจ่ายใช้สอยด้วยเหตุผลจะเป็นที่นิยมมากกว่าอารมณ์ อาทิ การซื้อที่อยู่อาศัยที่จะเน้นความคุ้มค่ามากกว่าความสวยงามและราคาที่เกินจริง สินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือยจะถูกลดลงและเปลี่ยนมาเป็นเงินออม เช่น สินค้าเครื่องประดับราคาแพง ร้านอาหารและคาเฟ่

 

 

Abnormal อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลกระทบโดยตรง การท่องเที่ยวจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น เข้มงวดเรื่องกฎระเบียบมากขึ้น เช่น นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องซื้อประกันเดินทาง/สุขภาพ และแสดงหลักฐานการตรวจสุขภาพก่อนออก Boarding Pass อาจไม่มี Visa on Arrival อีกต่อไป การท่องเที่ยวจะมุ่งเน้นแบบพรีเมียม Premium Tourism Wellness Tourism การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Green Tourism เน้นกลั่นกรองนักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ทำตลาดบน

 

Abnormal ธุรกิจบริการจะมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เช่น บริการนวด การเสริมสวย การพบแพทย์ หรือรับยาออนไลน์ โดยผ่านการนัดหมายเวลาเพื่อป้องกันการรวมตัวกันโดยไม่จำเป็น เพราะนอกจากเวลาจะเป็นสิ่งที่มีค่าแล้ว ความเสี่ยงในการรวมตัวกันจะถูกลดโดยการนัดหมายด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

 

 

 Abnormal ธุรกิจอาหารธุรกิจร้านอาหาร ต้องจัดที่นั่งรับประทานอาหาร เว้นระยะห่าง 1.5 เมตร พร้อมทำสัญลักษณ์ที่ชัดเจน จัดโต๊ะให้นั่งเยื้องกันและห่างกันไม่ต่ำกว่า 1 เมตร พร้อมทำสัญลักษณ์ที่ชัดเจน จัดทำ Table Shield ฉากกั้นบนโต๊ะอาหาร หม้อต้ม ปิ้งย่าง และอุปกรณ์การทาน ต้องใช้ 1 ชุดต่อ 1 คน อาจต้องยกเลิกการให้บริการแบบบุฟเฟ่ต์หรือสลัดบาร์ เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

 

 

Abnormal กิจการร้านแฟชั่นเสื้อผ้า เครื่องหนัง รองเท้าจัดเตรียมแอลกอฮอล์ เจลฆ่าเชื้อ ไว้หน้าร้านบริการให้ลูกค้าก่อนเข้าร้าน ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อห้องลองหลังการใช้ทุกครั้ง แยกเสื้อผ้าที่ลูกค้าลองแล้วนำไปฆ่าเชื้อ อาทิ ฆ่าเชื้อด้วยแสง UV การลองสินค้าประเภทรองเท้า ต้องเตรียมถุงเท้าให้ลูกค้าใส่ก่อนลองรองเท้า และต้องเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง สำหรับการลองสินค้าประเภท Accessory ทางร้านต้องนำสินค้าฆ่าเชื้อก่อนและหลังการลอง เช่น แว่นตา นาฬิกา เป็นต้น

ในระยะยาวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจอย่างน้อย 3 ด้าน คือ

 

 

1.ธุรกิจที่จะอยู่รอดได้ในระยะยาว จะต้องน้อมรับเทคโนโลยีมากขึ้นโดยมีช่องทางการค้า (e-commerce) การชำระสินค้าและบริการ (digital payment) รวมถึงการทำงานออนไลน์มากขึ้น (Remote-working) เห็นได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดังกล่าว เช่น Grab ในเอเชีย, WeChatในจีน, หรือแม้แต่ Zoom, Slack รวมถึง Microsoft's Team ที่เกี่ยวข้องกับการทำ Videoconference ได้รับความนิยมทั่วโลก

 

2.กระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization)ด้านการผลิตจะลดลงในระยะยาวโดยห่วงโซ่การผลิต (Supply chain) จะเปลี่ยนไป บริษัทขนาดใหญ่จะลดความยาวของ Supply chain (เช่น ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ในหลายประเทศ และส่งไปประกอบอีกประเทศหนึ่ง) ให้สั้นลง กระจายการผลิตในหลายประเทศ รวมถึงลดการพึ่งพิงการผลิตจากจีน และหันไปเลือกในประเทศอื่น เช่น เวียดนาม พม่า บังคลาเทศ รวมถึงอินเดีย

 

นอกจากนั้น บริษัทข้ามชาติอาจหวนคืนกลับไปผลิตในบ้านเกิด ซึ่งจะทำให้การลงทุนโดยตรง (FDI)ทั่วโลกจะลดลง30-40% เป็นอย่างต่ำ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ (เช่น IoT, 3D printing เป็นต้น) ที่ทำให้การผลิตทำได้โดยง่าย ไม่จำเป็นต้องผลิตจำนวนมาก ๆ หรือใช้แรงงานมากเท่าสมัยก่อน โดยแม้ว่าการหันกลับไปผลิตที่บ้านเกิดจะทำให้ผลประกอบการของบริษัทขนาดใหญ่ลดลง (เพราะต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น) แต่ก็จะมีภูมิต้านทานต่อวิกฤตที่กระทบต่อ Supply chain ในอนาคต

 

3.จะเกิดการควบรวมกิจการ ธุรกิจขนาดใหญ่ สายป่านยาว และมีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลจะสามารถอยู่รอดได้มากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก สายป่านสั้น โดยในปัจจุบันกว่า 25% ของ 2,000 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่จัดอันดับโดย Forbes ยังมีเงินสดมากกว่าหนี้สิน ทำให้เป็นไปได้ที่เข้าควบรวมกับบริษัทที่อ่อนแอกว่า และจะเห็นการควบรวมกิจการในระดับมหาศาลอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น ในอุตสาหกรรมรถยนต์ สายการบิน รวมถึงบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ต่างๆ จะเข้ามาควบรวมกิจการกับธุรกิจในภาคเศรษฐกิจจริง (Real sector) มากขึ้น

 

วิกฤติCovidครั้งนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์โลกธุรกิจอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน นักธุรกิจทั้งหลาย เตรียมพร้อมแล้วหรือยัง

ภาวะAbnormal หมายถึง พฤติกรรมของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในแบบฉับพลันด้วยการผลักดันของวิกฤติภาวะ Abnormal เป็นภาวะของการเปลี่ยนผ่าน ที่อาจจะย้อนหรือไม่ย้อนกลับมาเป็นแบบเดิม เพราะเราหลายคนก็ไม่อยากจะทิ้งวิถีชีวิตแบบเดิมๆ ไปอย่างเด็ดขาด

 

เพียงแต่....เมื่อภาวะ Abnormal เพิ่มขึ้นอยู่กับเรานานๆ เราก็จะยอมรับวิถีชีวิตใหม่ๆ เข้ามาในชีวิตมากขึ้น จนกลายเป็น New Normal 

 

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง