รีเซต

กรณีศึกษา "Ransomeware" อาชญากรรมอินเทอร์เน็ตกับ"รพ.สระบุรี"

กรณีศึกษา "Ransomeware" อาชญากรรมอินเทอร์เน็ตกับ"รพ.สระบุรี"
TrueID
9 กันยายน 2563 ( 11:40 )
4.4K

จากเหตุการณ์อาชญากรรมอินเทอร์เน็ตเรียกค่าไถ่ "รพ.สระบุรี" ที่มีมูลค่าสูงถึง 200,000 บิตคอยน์ หรือประมาณ 63,000 ล้านบาท ทำให้เกิดคำถามว่า ransomeware คืออะไร วันนี้ trueID news จะมาไขข้อข้องใจว่าอะไรคือ ransomeware ทำไมถึงทำให้เกิดปัญหาอยู่ในขณะนี้

 

อ่าน 'บิตคอยน์' หรือสกุลเงินดิจิทัลคืออะไร

อ่าน รพ.สระบุรี ระบบขัดข้อง โดนเรียกค่าไถ่ 200,000 Bitcoin หรือ 63,000 ล้านบาทไทย

อ่าน สธ. แถลง รพ.สระบุรี ระบบขัดข้อง และโดนเรียกค่าไถ่จริง

 

 

Ransomware คืออะไร?


Ransomware เป็นมัลแวร์ (Malware) ประเภทหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกับมัลแวร์ประเภทอื่นๆคือไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด แต่จะทำการเข้ารหัสหรือล็อกไฟล์ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเปิดไฟล์ใดๆได้เลยหากไฟล์เหล่านั้นถูกเข้ารหัส ซึ่งการถูกเข้ารหัสก็หมายความว่าจะต้องใช้คีย์ในการปลดล็อคเพื่อกู้ข้อมูลคืนมา ผู้ใช้งานจะต้องทำการจ่ายเงินตามข้อความ “เรียกค่าไถ่” ที่ปรากฏ


โดยข้อมูลหรือข้อความ “เรียกค่าไถ่” จะแสดงขึ้นหลังไฟล์ถูกเข้ารหัสเรียบร้อยแล้ว จำนวนเงินค่าไถ่ก็จะแตกต่างกันไป โดยเบื้องต้นก็จะมีราคาอยู่ที่ $150–$500 โดยประมาณ และการชำระเงินจะต้องชำระผ่านระบบที่มีความยากต่อการตรวจสอบหรือติดตาม เช่น การโอนเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์, Paysafecard หรือ Bitcoin เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการชำระเงินก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ไม่หวังดีจะส่งคีย์ที่ใช้ในการปลดล็อคไฟล์ให้กับผู้ใช้งาน

 

 

จะมีกลยยุทธ์ที่มากขึ้นโดยเริ่มต้นจากการขโมยข้อมูลของเครื่องที่ติดตัว Ransomware มาก่อน จากนั้นจึงทำการเข้ารหัสข้อมูล และสร้างหน้า Website เพื่อแสดงข้อความเรียกค่าไถ่ แล้วจะแสดงไฟล์ตัวอย่างข้อมูลที่ขโมยออกไป อีกทั้งยังมีการป้องกันเพื่อให้เครื่องไม่สามารถกู้คืนไฟล์ในเวอร์ชันก่อนหน้าได้ ที่เพิ่มความน่ากลัวของตัวภัยคุกคามนี้ให้มากขึ้น เพราะนอกจากจะเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่แล้ว ยังนำข้อมูลของเหยื่อไปเปิดเผยในอินเทอร์เน็ตอีกด้วย

 

Ransomware ได้ทำการโจมตี และได้ผลในบริษัทใหญ่ๆ ในไทย และต่างประเทศหลายบริษัท ซึ่งล่าสุดในบทความด้าน IT Security จาก iTWire Technology News ได้มีการนำ statement จากกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ MAZE มีการประกาศการโจมตีระบบของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัดได้ โดย Ransomware MAZE ตัวนี้ที่เคยทำการโจมตีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2020 ที่ผ่านมา และปัจจุบันก็ยังไม่มีความเคลื่นไหวใดๆจาก บริษัท Thaibev

 

 

ช่องทางการแพร่กระจายของ Ransomware


เพื่อแพร่กระจาย Ransomware โดยเบื้องต้นผู้ไม่หวังดีจะใช้วิธีการผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

 

  • แฝงมาในรูปแบบเอกสารแนบทางอีเมล ในกรณีส่วนใหญ่ Ransomware จะมาในรูปแบบเอกสารแนบทางอีเมล โดยอีเมลผู้ส่งก็มักจะเป็นผู้ให้บริการที่เรารู้จักกันดี เช่น ธนาคาร และจะใช้หัวข้อหรือประโยคขึ้นต้นที่ดูน่าเชื่อถืออย่าง  “Dear Valued Customer”, “Undelivered Mail Returned to Sender”, “Invitation to connect on LinkedIn.” เป็นต้น ประเภทของไฟล์แนบที่เห็นก็จะเป็น “.doc” หรือ “.xls” ผู้ใช้อาจจะคิดว่าเป็นไฟล์เอกสาร Word หรือ Excel ธรรมดาแต่เมื่อตรวจสอบชื่อไฟล์เต็ม ๆ ก็จะเห็นนามสกุล .exe ซ่อนอยู่ เช่น “Paper.doc.exe” แต่ผู้ใช้จะเห็นเฉพาะ “Paper.doc” และทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นไฟล์ที่ไม่เป็นอันตราย
  • แฝงตัวมาในรูปแบบของ Malvertising (โฆษณา)   Ransomware นี้อาจจะมาในรูปแบบของโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาที่ฝังมากับซอฟต์แวร์หรือตามหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ
  • เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อันตรายและอาศัยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์   ผู้ใช้ยังสามารถกลายเป็นเหยื่อได้โดยไม่ได้ตั้งใจเพียงเข้าเยี่ยมชมหน้าเว็บที่ถูกผู้ไม่หวังดีเข้ามาควบคุม ตัวอย่างเช่น ถูกดาวน์โหลดโค้ด (Code) ที่เป็นอันตรายผ่านทางโฆษณาแบนเนอร์ใน Flash ดังแสดงในรูปที่ 3 โดย Ransomware มักจะใช้ประโยชน์จากข้อบกพร่องหรือช่องโหว่ด้านความปลอดภัยอื่น ๆ ในเบราว์เซอร์, แอพลิเคชั่น หรือ ระบบปฏิบัติการ บ่อยครั้งก็มักจะเกิดจากช่องโหว่ในเว็บเบราว์เซอร์, Java และ PDF แต่ช่องโหว่ที่พบมากที่สุดก็คือใน Flash

 

วิธีป้องกัน Ransomware

 

  • ทำการสำรองข้อมูล (Backup) เป็นประจำ  หากผู้ใช้งานติด Ransomware อย่างน้อยถ้ามีการสำรองข้อมูล (Backup) ก็จะสามารถกู้คืนไฟล์ของคุณได้ และเพื่อป้องกันข้อมูลที่ Backup ถูกเข้ารหัสไปด้วย ผู้ใช้งานควรสำรองข้อมูลลงบนอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลภายนอกเครือข่าย (Cloud Storage, External Hard Drive, USB Flash Drive)
  • อัพเดทซอฟต์แวร์ในเครื่องอย่างสม่ำเสมอ  การอัพเดทระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์จะช่วยป้องกันการโจมตีที่ต้องอาศัยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Adobe Flash, Microsoft Silverlight และเว็บเบราว์เซอร์ ควรติดตามและอัปเดตให้เป็น Version ปัจจุบัน
  • ติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ (Anti-malware) ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์  เพื่อป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายและตรวจสอบไฟล์ทั้งหมดที่ถูกดาวน์โหลด ควรมีการติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ด้วย
  • ตรวจสอบอีเมลที่เป็นอันตรายเบื้องต้น  ผู้ไม่หวังดีมักใช้อีเมลเป็นช่องทางในการหลอกลวงผู้ใช้งาน ให้หลงเชื่อเปิดหรือดาวน์โหลดเอกสารแนบ ดังนั้นเมื่อเราได้รับอีเมลควรตรวจสอบอีเมลฉบับนั้นให้ดีเสียก่อน
  • ติดตามข่าวสาร  ควรติดตามข่าวสารช่องโหว่หรือภัยคุกคามต่าง ๆ รวมถึงศึกษาวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเหล่าผู้ไม่หวังดีและเพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ใช้งานเอง

 

 

 

ข้อมูล : สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

++++++++++

ข่าวที่เกี่ยวข้อง