การ์ดห้ามตก! ‘หมอยง’ ระบุโควิด-19 ยังอยู่กับเราไม่ต่ำกว่า 2 ปี
วันนี้ ( 25 พ.ย. 63 )ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19
โดยระบุว่า ขณะนี้โรคโควิด-19 ใน ไทยครบ 1 ปี และกำลังเข้าสู่หน้าหนาวเป็นปีที่ 2 โดยเริ่มระบาดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 และได้ยกตัวอย่าง โรคไข้หวัดสเปน ซึ่งใช้เวลา 2 ปีกว่าจะยุติลง หากเปรียบเทียบกับไข้หวัดใหญ่สเปน ตอนนี้ไทยเดินทางมาไม่ถึงครึ่งทาง และคาดว่าโรคนี้จะอยู่ไม่ต่ำกว่า 1-2 ปี และจะสงบลง รวมถึงประชาชน จะต้องมีภูมิคุ้มกัน ร้อยละ 60 ซึ่งร้อยละ 60 ของประชากร จาก 70,000,000 คน หรือประมาณ 40,000,000 คน ต้องใช้วัคซีนไม่น้อยกว่า80,000,000 โดส เชื่อว่า ปีหน้าเรายังอยู่กับโรคนี้ แต่จะเบาบางลงบ้าง ไม่ถึงกับสงบ
ขณะที่ในช่วงฤดูหนาวไวรัสจะชอบ เพราะจะทำให้ไวรัส คงทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้นไวรัสถ้าเก็บไว้ในอุณหภูมิติดลบหรือแช่แข็งไวรัสจะอยู่ได้เป็นปีๆ โชคดีที่ประเทศไทยไม่มีฤดูหนาวแบบซีกโลกเหนือ บ้านเรามีฤดูหนาวค่อนข้างสั้น จึงเห็นว่าโรคทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่จะระบาดหนักในฤดูฝน เพราะอยู่ในความชื้น อย่างไรก็ตามโรคทางเดินหายใจในประเทศไทยพบมากในฤดูฝนและหนาว แต่ในฤดูหนาวจะมากว่า
เช่นเดียวกัน โรคโควิด-19 ในฤดูหนาว จะอยู่ได้ง่ายกว่าฤดูร้อน พบมากในช่วงมกราคม ถึงกุมภาพนธ์ โรคทางเดินหายใจกับโรคโควิด 19 แยกกันยาก โรคทางเดินหายใจ มักพบมากตั้งแต่เดือน มิถุนายน-สิงหาคม และในช่วงเด็กปิดเทอม และเป็นอีกครั้งตั้งแต่เดือนมกรากุมภาพันธ์ ซึ่งจะเป็นอย่างนี้แบบทุกปี
ส่วนโรคอาร์เอสวี ที่มักพบในช่วงฤดูฝน ปีนี้ฤดูกาลที่พบล่าช้ากว่าปีที่แล้ว เพิ่งจะมาระบาดหลังจากเปิดเรียน ในเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน ตรวจพบสูงสุดในปลายกันยายน-พฤศจิกายน และรุนแรงในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี และรุนแรงเฉพาะคนที่มีโรคทางเดินหายใจเช่น หือ หอบ
ขณะที่ตัวเลขปีที่แล้ว จำนวนไม่ต่างกัน ขณะเดียวพบว่า เป็นโรคไข้หวัดธรรมดาเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่า การเว้นระยะห่าง การสวมใส่หน้ากากน้อยลง และการล้างมือเริ่มน้อยลง จึงทำให้มีโรคไข้หวัดธรรมดาเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นในทกุช่วงอายุ
ส่วนโรคอื่นๆที่จะพบในฤดูหนาว เช่น โรคไข้เลือดออก และโรคปวดข้อยุงลาย ขณะนี้ ไม่ได้น้อยลง แม้โรคดังกล่าวจะไม่เกี่ยวข้องกับการใส่หน้ากากอนามัย แต่ก็ต้องป้องกัน
ขณะที่โรคท้องเสีย มักพบในฤดูหนาวเช่นกัน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน-มกราคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการล้างมือ รับประทานอาหารที่สะอาด
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline