กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ เฝ้าระวังน้ำมาก 17 แห่ง!
วันนี้( 15 ต.ค.64) กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 15 ต.ค. 64 โดยภาคตะวันออกมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางพื้นที่ พายุดีเปรสชัน “คมปาซุ” บริเวณตอนเหนือของเมืองวิญประเทศเวียดนามตอนบนอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว
แม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
-ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 57,268 ล้าน ลบ.ม. (70%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 50,472 ล้าน ลบ.ม. (71%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ วน 5 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 17 แห่ง คือ (บึงบอระเพ็ด หนองหารกุมภวาปี อ่างฯ แม่มอก อ่างฯ แควน้อยบำรุงแดน อ่างฯ ทับเสลา อ่างฯ ป่าสักชลสิทธิ์ อ่างฯ กระเสียว อ่างฯ อุบลรัตน์ อ่างฯ จุฬาภรณ์ อ่างฯลำตะคอง อ่างฯ ลำพระเพลิง อ่างฯ มูลบน อ่างฯ ลำนางรอง อ่างฯ ลำแซะ อ่างฯ ขุนด่านปราการชล อ่างฯ นฤบดินทรจินดา และอ่างฯ หนองปลาไหล)
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) มีความห่วงใยประชาชนผู้ประสบอุทกภัย จ.ขอนแก่น วานนี้ (14 ต.ค. 64)
ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำพร้อมสั่งการให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้
-ทุกหน่วยงานเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก เร่งดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ รวมถึงวางแผนเก็บน้ำสำรองทั้งผิวดินและใต้ดิน พร้อมจัดทำแผนการจัดสรรน้ำสำหรับฤดูแล้งปี 65 และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเป็นการล่วงหน้า
-สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น กรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พิจารณากำหนดแผนบริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ และต่อเนื่องตลอดลำน้ำชี โดยคำนึงถึงผลกระทบและผลประโยชน์ ต่อประชาชนให้มากที่สุด โดยต้องเผยแพร่พร้อมสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง
-อนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดขอนแก่น โดยจังหวัดขอนแก่น และ สทนช. เป็นเจ้าภาพหลักจัดทำแผนบูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมในจังหวัดขอนแก่น โดยเสนอผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำชี และให้ สทนช. รวบรวมเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เห็นชอบต่อไป สำหรับโครงการที่ได้รับงบประมาณดำเนินการแล้วขอให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
-ทุกหน่วยงาน ประชาสัมพันธ์ผลงานที่ปฏิบัติให้ประชาชนรับรู้ เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำของประเทศ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สูบน้ำต่อเนื่องจนมีน้ำเพียงพอ โดยให้ ปภ. สนับสนุนงบประมาณให้กับจังหวัดด้วย
ภาพประกอบข่าวจาก ผู้สื่อข่าว จ.พระนครศรีอยุธยา