วันลอยกระทง 2566 ทำกิจกรรมวันลอยกระทง เสี่ยงอุบัติเหตุ อะไรบ้าง เช็กด่วน!
วันลอยกระทง วันไหน 2566 ปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งมีกิจกรรมวันลอยกระทงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทำกระทง มาขาย ลอยกระทง ประกวดนางนพมาศ เดินเที่ยวงานวัด เข้างานบุญ แต่กิจกรรมวันลอยกระทง มักมีความเสี่ยงให้เกิดอันตรายได้ เช็กความเสี่ยงอุบัติเหตุ อันตรายวันลอยกระทง กัน
วันลอยกระทง 2566
งานลอยกระทง ปี 2566 งดจำหน่ายสุราและเครื่องดื่มมึนเมา ห้ามดื่มบริเวณงาน งดเล่นดอกไม้ไฟ พลุ หรือวัสดุที่ก่อให้เกิดอันตรายในที่สาธารณะ งดปล่อยโคมลอยในพื้นที่ใกล้เส้นทางบิน ส่งเสริมแต่งกายด้วยผ้าไทย หรือผ้าท้องถิ่นเข้าร่วมงาน ลอย 1 ครอบครัว 1 กระทง
เทศกาลลอยกระทงเป็นช่วงที่มีสถิติการเกิดอุบัติภัยสูง ทั้งการจมน้ำ อันตรายจากพลุ ดอกไม้ไฟ และโคมลอย เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติในการป้องกันอันตรายจากอุบัติภัยในช่วงเทศกาลวันลอยกระทง ดังนี้
อุบัติภัยทางน้ำ วันลอยกระทง
- ลอยกระทงบริเวณท่าน้ำและโป๊ะเรือที่มีความมั่นคงแข็งแรง ซึ่งมีที่กั้นหรือราวจับป้องกันการพลัดตก
- ไม่ให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือริมตลิ่งตามลำพัง รวมทั้งจับมือเด็กให้แน่นขณะเดินบริเวณริมน้ำ
- ไม่ให้เด็กลงเก็บเงินในกระทง เพื่อป้องกันเด็กจมน้ำเสียชีวิต
- ไม่ลงไปในโป๊หรือเรือที่มีคนจำนวนมาก เพราะเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย
- รอเรือจอดเทียบท่าให้เรียบร้อย ค่อยเดินขึ้น - ลงเรือ และสวมเสื้อชูชีพตลอดเวลาขณะโดยสารเรือ
อุบัติภัยจากพลุ และดอกไม้ไฟ วันลอยกระทง
- อยู่ห่างจากบริเวณที่จุดพลุหรือดอกไม้ไฟในระยะไม่ต่ำกว่า 10 เมตร เพื่อป้องกันอันตรายจากสะเก็ดไฟ
- เล่นพลุ ดอกไม้ไฟในบริเวณที่ปลอดภัย ห่างจากแนวสายไฟฟ้า แหล่งชุมชน สถานีบริการน้ำมัน และวัตถุไวไฟ
- ไม่นำพลุ หรือดอกไม้ไฟที่จุดไม่ติดมาจุดไฟซ้ำ เพราะอาจระเบิด ทำให้เกิดอันตรายได้
- ไม่ดัดแปลงพลุหรือดอกไม้ไฟให้มีเสียงดังหรือแรงอัดสูง เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
- ไม่นำภาชนะปิดครอบพลุหรือดอกไม้ไฟที่จุดไฟติดแล้ว เพื่อป้องกันอันตรายจากเศษภาชนะกระเด็นใส่
การจุดและปล่อยบั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดขึ้นไปสู่อากาศโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 33 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562
อุบัติภัยจากโคมลอย วันลอยกระทง
- ปล่อยโคมลอยในที่โล่งแจ้ง ห่างจากแหล่งชุมชน และแนวสายไฟ
- ไม่ปล่อยโคมลอยบริเวณสนามบิน ไม่ดัดแปลงโคมลอยให้ลอยในระดับการบิน เพราะอาจเกิดอันตรายต่ออากาศยาน
- ใช้โคมลอยที่ได้มาตรฐาน โดยทำจากวัสดุที่เผาไหม้ได้หมดในอากาศ จะช่วยป้องกันการเกิดเพลิงไหม้
ปภ. ได้บูรณาการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมป้องกันอุบัติภัยช่วงเทศกาลลอยกระทง เพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชน และสืบสานประเพณีลอยกระทงให้เป็นไปด้วยความปลอดภัย
ข้อมูล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<