รีเซต

กรมชลประทานเพิ่มระบายน้ำดันความเค็มรุกเจ้าพระยา ลดผลกระทบใช้น้ำดิบผลิตประปา

กรมชลประทานเพิ่มระบายน้ำดันความเค็มรุกเจ้าพระยา ลดผลกระทบใช้น้ำดิบผลิตประปา
มติชน
3 กุมภาพันธ์ 2564 ( 14:10 )
45
กรมชลประทานเพิ่มระบายน้ำดันความเค็มรุกเจ้าพระยา ลดผลกระทบใช้น้ำดิบผลิตประปา

นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน

 

เปิดเผยหลังจากการประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาค่าความเค็มในลุ่มน้ำเจ้าพระยาร่วมกับการประปานครหลวง(กปน.) วานนี้(2 ก.พ. 64)ว่า จากสถานการณ์ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปา และไม้ผล ไม้ยืนต้น ปัจจุบัน(3 ก.พ. 64) เมื่อเวลา 07.00 น. ที่สถานีสำแล(จุดสูบน้ำดิบของ กปน.)วัดค่าความเค็มได้ 0.26 กรัม/ลิตร (เกณฑ์เฝ้าระวัง 0.25 กรัม/ลิตร มาตรฐานการผลิตน้ำประปาไม่เกิน 0.50 กรัม/ลิตร) และเพื่อให้การควบคุมค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปา รวมถึงการใช้น้ำของประชาชน จึงได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนพระรามหกในอัตรา 60 ลบ.ม./วินาที ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน เริ่มตั้งเเต่วันที่ 5 ก.พ. 64 ไปจนถึงวันที่ 10 ก.พ. 64 หลังจากนั้นจะลดการระบายลงเหลือ 25 ลบ.ม./วินาที พร้อมเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็น 75 ลบ.ม./วินาที(เดิม 50 ลบ.ม./วินาที) ตั้งเเต่วันที่ 3 ก.พ. 64 จนถึงวันที่ 8 ก.พ. 64 หลังจากนั้นลดเหลืออัตรา 45 ลบ.ม./วินาที โดยไม่ให้กระทบต่อการใช้น้ำในพื้นที่ตอนบน

 

ทั้งนี้ ได้กำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมค่าความเค็มที่กำหนดไว้  พร้อมขอความร่วมมือประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าทุกแห่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมาจนถึงสถานีสูบน้ำสำแล ให้งดการรับน้ำหรือสูบน้ำในระยะนี้ เพื่อให้การควบคุมความเค็มเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดและมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญของให้ทุกภาคส่วนร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัดให้มากที่สุด โดยเฉพาะชาวเมืองหลวงและปริมณฑลที่ใช้น้ำจาก กปน. เพื่อให้ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ไปจนถึงต้นฤดูฝนหน้า

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง