รีเซต

บทความคิดเห็น : การเล่นบทเหยื่อไม่ช่วย 'ฟิลิปปินส์' ได้รับความเห็นอกเห็นใจจากทั่วโลก

บทความคิดเห็น : การเล่นบทเหยื่อไม่ช่วย 'ฟิลิปปินส์' ได้รับความเห็นอกเห็นใจจากทั่วโลก
Xinhua
9 เมษายน 2567 ( 17:18 )
27

(แฟ้มภาพซินหัว : เรือสำรวจในทะเลจีนใต้ วันที่ 13 ก.ค. 2020)

ปักกิ่ง, 9 เม.ย. (ซินหัว) -- ฟิลิปปินส์กำลังเล่นบทเหยื่อในประเด็นทะเลจีนใต้ โดยจงใจแสดงตนเป็นเบี้ยล่าง แต่กลับปกปิดการที่ตนเองยั่วยุและละเมิดอธิปไตยของจีนกลุ่มผู้สื่อข่าวที่สนับสนุนรัฐบาลมะนิลาจำนวนหนึ่งถูกคัดเลือกให้เดินทางไปยังสันดอนเหรินอ้ายเจียว รวมถึงหมู่เกาะหนานซา เพื่อสร้างความวุ่นวายปั่นป่วน ขณะเดียวกันฟิลิปปินส์ใช้ภาพถ่ายและวิดีโอที่จัดฉากขึ้นมาสร้างและเล่าเรื่องว่าตนเองตกเป็นเหยื่อ "เบี้ยล่าง" และตีตราว่าจีนเป็น "อันธพาล"ความเป็นจริงนั้นยุทธวิธีของฟิลิปปินส์สอดคล้องกับทฤษฎี "การสื่อสารความอ่อนแอ" ซึ่งเสนอโดยโจวเจิ้นตง นักวิชาการชาวจีนผู้เปิดโปงลักษณะการใช้เล่ห์เหลี่ยมชักจูง โดยยุทธวิธีดังกล่าวเป็นการแสดงบทบาทเหยื่อผ่านวาทกรรม ซึ่งมีเป้าหมายร้องขอความเห็นอกเห็นใจและการสนับสนุน พร้อมกับบิดเบือนการรับรู้ที่แท้จริงหากพิจารณาจากแง่จริยธรรมของสื่อมวลชน แก่นหลักของยุทธวิธีการสื่อสารที่ฟิลิปปินส์ใช้นั้นยังเป็น "การเลือกเผยข้อมูลบางส่วน" หรือ "การเลือกเสนอข้อเท็จจริงบางส่วน" โดยฟิลิปปินส์ใช้บทบาทเหยื่อผู้ถูกกระทำเป็นม่านควันมาหันเหความสนใจจากการที่ตนเองยั่วยุและละเมิดอธิปไตยของจีนสหรัฐฯ และญี่ปุ่นช่วยเหลือฟิลิปปินส์ในการบิดเบือนความคิดเห็นของสาธารณชนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนอย่างมาก โดยพวกเขาใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคลังสมองและสื่อมวลชนทรงอิทธิพลมากำหนดรูปแบบการเล่าเรื่องให้สอดคล้องกับแผนการของฟิลิปปินส์ฟิลิปปินส์บิดเบือนความคิดเห็นของสาธารณชนอย่างหนักหน่วง โดยมีการแพร่กระจายคลิปวิดีโอที่สาธยายความตึงเครียดทางทะเลกับจีนจำนวนมากทั่วแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่มีต้นตอมาจากฟิลิปปินส์ และคลิปวิดีโอเหล่านี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อโหมกระพือเรื่องเล่าที่ว่าฟิลิปปินส์ตกเป็นเหยื่อและจีนกลายเป็นผู้รุกรานทั้งนี้ จีนยับยั้งชั่งใจและอดทนอดกลั้นอย่างมากระหว่างเผชิญการยั่วยุอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับสันติภาพและความร่วมมือระดับภูมิภาคมากกว่าการเพิ่มความตึงเครียด ทั้งที่บรรดาผู้นำของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ จะจัดการประชุมสุดยอดไตรภาคี ครั้งที่ 1 ด้วยวัตถุประสงค์ต่อต้านอิทธิพลระดับภูมิภาคของจีน ณ ทำเนียบขาว ในวันพฤหัสบดี (11 เม.ย.)การที่ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเอเชียจะถูกหารือในการประชุมสุดยอดข้างต้นได้พิสูจน์ให้เห็นว่าญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์เป็น "หมาก" ตัวหนึ่งของสหรัฐฯ ในแผนการควบคุมจีน และเผยเจตนาที่แท้จริงเบื้องหลัง "แผนริเริ่มความโปร่งใส" ของฟิลิปปินส์ ซึ่งกลายเป็นยุทธวิธีปรับตนให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ยิ่งขึ้นขณะการที่ฟิลิปปินส์จอดเรือยกพลรถถังบีอาร์พี เซียร์รา มาเดร แอลที-57 (BRP Sierra Madre LT-57) บริเวณสันดอนเหรินอ้ายเจียวของจีนในปี 1999 สะท้อนการยั่วยุและละเมิดอธิปไตยจีนอย่างชัดเจน โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ออร์ลันโด เมอร์คาโด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของฟิลิปปินส์ในเวลานั้น กล่าวกับสื่อมวลว่าเรือลำดังกล่าวถูกจอดตรงนั้นอย่างตั้งใจฟิลิปปินส์เคยสัญญาเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าจะลากจูงเรือรบที่จอดอย่างผิดกฎหมายออกไป แต่ทุกวันนี้เรือลำลำดังกล่าวยังคงจอดอยู่ที่เดิมตลอด 25 ปีที่ผ่านมา โดยฟิลิปปินส์ทำลายความเข้าใจระหว่างสองฝ่ายในประเด็นการจัดการสถานการณ์สันดอนเหรินอ้ายเจียวอย่างเหมาะสม ทั้งที่สัญญาว่าจะไม่เสริมกำลังบนเรือและจะแจ้งแผนการเติมเสบียงให้จีนทราบล่วงหน้าหากพิจารณาจากแง่มนุษยธรรม จีนเคยทำข้อตกลงชั่วคราวพิเศษหลายฉบับให้เรือของฟิลิปปินส์เดินทางไปส่งสิ่งของจำเป็นต่อการดำรงชีวิตบนเรือรบลำดังกล่าว ทว่าฟิลิปปินส์ไม่ปฏิบัติตามคำสัญญาที่ให้ไว้และพยายามส่งวัสดุก่อสร้างเพื่อการซ่อมแซมขนานใหญ่และเสริมกำลังบนเรือเพื่อตั้งโครงสร้างถาวรที่สันดอนเหรินอ้ายเจียวเมื่อไม่นานนี้ โฆษกกองทัพฟิลิปปินส์แสดงความมุ่งมั่นว่าจะตั้งโครงสร้างถาวรที่เหรินอ้ายเจียว โดยฟิลิปปินส์จัดส่งคนไปยังสันดอนเถี่ยเซี่ยนเจียว รวมถึงหมู่เกาะและแนวปะการังที่มีไม่คนอยู่อาศัยแห่งอื่นๆ ซึ่งเป็นของจีนในทะเลจีนใต้อยู่หลายครั้งตั้งแต่ปรุงแต่งคำโกหกจนถึงใช้เรือจอดเป็นกองทหารรักษาการณ์อย่างผิดกฎหมาย ตั้งแต่ผิดคำสัญญาจนถึงจัดส่งวัสดุก่อสร้างเพื่อบูรณะซากเรือเก่าหลายครั้ง ฟิลิปปินส์กลายเป็นประเทศหนึ่งที่ทรยศต่อคำมั่นสัญญาของตัวเอง ยั่วยุฝ่ายอื่นๆ อย่าง และสร้างความปั่นป่วนทั่วสันดอนเหรินอ้ายเจียวฟิลิปปินส์ที่มีกองกำลังภายนอกสนับสนุนและกลับคำพูดแล้วยั่วยุจีน จะมิอาจได้รับความเห็นอกเห็นใจจากทั่วโลกด้วยการเล่นบทเหยื่อ และสุดท้ายเล่ห์เหลี่ยมลวงโลกรังแต่จะสร้างความอับอายแก่ฟิลิปปินส์เท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง