หมอยง เผย 'วัคซีนโควิดจีน' ใช้ในผู้ป่วย 60 ปีขึ้นไปในอิสราเอล ได้ผลดี
มติชน
27 มกราคม 2564 ( 08:18 )
181
วันที่ 27 มกราคม ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ โดยเนื้อหาระบุว่า
โควิด-19 วัคซีน
ขณะนี้ทั่วโลกมีการให้วัคซีนไปแล้วมากกว่า 66 ล้านโดส ประเทศที่ให้วัคซีนเป็นอัตราส่วนของประชากรมากที่สุดคือ อิสราเอล ประชากรได้รับวัคซีนไปแล้ว 1 โดส ถึง 1 ใน 3 วัคซีนที่ใช้เป็นของบริษัทไฟเซอร์ รองลงมาเป็นประเทศอาหรับเอมิเรตส์ ให้ไปแล้วถึง 20 %ของประชากรโดยใช้วัคซีนของจีน Sinopharm
การติดตามผลของวัคซีนในอิสราเอล เริ่มเห็นผลแล้วว่าผู้สูงอายุที่เกินกว่า 60 ปีมีอัตราป่วยลดลงอย่างเห็นได้ชัด ข้อมูลประสิทธิผลของวัคซีนในการใช้จริงจะเริ่มเห็นผลและมีรายงานออกมาในไม่ช้านี้ โดยเฉพาะในประเทศอิสราเอลและอาหรับเอมิเรตส์
สำหรับในประเทศอังกฤษก็มีการให้วัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ให้ให้เป็นเข็มแรกประมาณ 10 % ของประชากร ส่วนในสหรัฐอเมริกาให้ไปแล้วประมาณ 5% ของประชากร ผลการศึกษาต่างๆในการให้สภาพจริงจะมีตามมาในไม่ช้านี้
ขณะเดียวกัน โพสต์ว่า ตารางการให้วัคซีนโควิด-19
วัคซีนโควิดเป็นวัคซีนใหม่และมีการศึกษาอย่างเร่งรีบ ตารางการให้วัคซีนในการศึกษาในวัคซีนชนิดต่างๆที่มีการศึกษากันมีการให้ 2 ครั้ง ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป ยกเว้นวัคซีนของจอห์นสันที่จะออกมาอาจมีการให้เพียงครั้งเดียว ตารางการให้วัคซีนแต่ละบริษัทจึงแตกต่างกัน
การศึกษาในวัคซีนที่มาใช้ในประเทศไทยเช่น Oxford-AstraZeneca มีการศึกษาแต่เดิมตั้งใจให้ห่างกัน 4 สัปดาห์ แต่การให้ในงานวิจัย ให้หลากหลาย พบว่าการให้ระยะห่างน้อยกว่า 6 สัปดาห์ประสิทธิภาพน้อยกว่าระยะห่างมากกว่า 6 สัปดาห์ (53% กับ 65%) ทำนองเดียวกัน วัคซีนจีน (Sinovac) ที่ศึกษาในบราซิล ที่ให้ในบุคลากรทางการแพทย์ ให้ห่างกัน 2 สัปดาห์ ประสิทธิภาพต่ำกว่า
การให้วัคซีนจึงมีการกำหนดตารางที่วางไว้ในปัจจุบันระหว่างโดสแรกและโดสสอง ตารางการให้วัคซีนหลังจากที่มีการศึกษายาวนานแล้ว คงจะได้มีคำตอบในระยะอันสั้น