รีเซต

ทูตไทยในจีน : โครงการ 'EEC' เชื่อมต่อยุทธศาสตร์ 'GBA' ได้อย่างดี

ทูตไทยในจีน : โครงการ 'EEC' เชื่อมต่อยุทธศาสตร์ 'GBA' ได้อย่างดี
Xinhua
1 สิงหาคม 2564 ( 15:50 )
45
ทูตไทยในจีน : โครงการ 'EEC' เชื่อมต่อยุทธศาสตร์ 'GBA' ได้อย่างดี

 

กว่างโจว, 1 ส.ค. (ซินหัว) --งานสัมมนา  พื้นที่เขตเศรษฐกิจอ่าวกว่างตง-ฮ่องกง-มาเก๊า หรือจีบีเอ (GBA) กับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี (EEC) จัดขึ้นที่นครกวางโจว มณฑลกว่างตงทางตอนใต้ของจีน ซึ่งจัดโดยสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศประจำมณฑลกว่างตง สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวของไทย สำนักพาณิชย์มณฑลกว่างตง และสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทย

 

 

งานสัมมนาจัดแบบออฟไลน์ผสานออนไลน์ เป็นเวทีเพื่อการพัฒนาแบบบูรณาการ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า โดยมุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศคุณภาพสูง และช่วยให้บริษัทต่างๆ เข้าถึงตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

 

โครงการอีอีซีครอบคลุมพื้นที่สามจังหวัดของไทย มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมเศรษฐกิจและการลงทุนผ่านการยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายเมืองนวัตกรรมเทคโนโลยีระดับโลกของเขตเศรษฐกิจอ่าวกว่างตง-ฮ่องกง-มาเก๊า

 

 

ขณะสัมมนา อรรถยุทธ์ ศรีสมุทร เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศจีนกล่าวว่าช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไทยและกว่างตงมีการร่วมมือกันอย่างกว้างขวางทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เขากล่าวว่าตนได้เยี่ยมชมบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงหลายแห่งในจีบีเอ และประทับใจอย่างมากกับความสำเร็จด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี พร้อมกล่าวว่าขณะที่การเชื่อมต่อของโครงการทั้งสองเดินหน้าต่อเนื่อง ย่อมจะมีโอกาสมากมาย ซึ่งส่งผลดีต่อทั้งสองฝ่ายในอนาคต

 

 

สำหรับข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมระดับภูมิภาค (RCEP) อรรถยุทธ์กล่าวว่า ในฐานะหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด ไทยและกว่างตงจะได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงนี้อย่างรอบด้าน อาทิ สิทธิประโยชน์ทางภาษีและพิธีการศุลกากร ความสะดวกในการขยายตลาด แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน เป็นต้น

 

 

เขายังเสริมด้วยว่าไทยยินดีต้อนรับธุรกิจจากจีบีเอ ขณะเดียวกันไทยก็มีการปรับปรุงมาตรการจูงใจด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

 

 

ด้านฟางลี่ซวี่ ประธานสภาฯ กล่าวว่าไทยเป็นคู่ค้าในอาเซียนที่สำคัญของกว่างตง โดยทั้งสองฝ่ายสามารถส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม การบริโภค และความร่วมมืออื่นๆ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การผสานห่วงโซ่คุณค่าและห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค ตลอดจนสร้างการเชื่อมต่อแบบสองทางที่มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง