รีเซต

เช็คเงิน ม.33 ม.39 "เงินบำเหน็จ-บำนาญ ประกันสังคม" ได้เงินชราภาพ ตอนอายุครบ 55 ปี กี่บาท

เช็คเงิน ม.33 ม.39 "เงินบำเหน็จ-บำนาญ ประกันสังคม" ได้เงินชราภาพ ตอนอายุครบ 55 ปี กี่บาท
Ingonn
3 มิถุนายน 2565 ( 16:09 )
5.2K
เช็คเงิน ม.33 ม.39 "เงินบำเหน็จ-บำนาญ ประกันสังคม" ได้เงินชราภาพ ตอนอายุครบ 55 ปี กี่บาท

เงินเกษียณ ประกันสังคมมาตรา 33 มาตรา 39 เช็คเงิน ม.33 ม.39 "เงินบำเหน็จ-บำนาญ ประกันสังคม" เมื่อผู้ประกันตน อายุครบ 55 ปี และส่งเงินสมทบตามเกณฑ์ที่ประกันสังคมกำหนด จะได้เงินชราภาพ หรือเงินเกษียณประกันสังคม เงินบำเหน็จ-บำนาญ คิดยังไง ได้เงินเท่าไหร่ เช็กได้ที่นี่

 

ผู้ประกันตนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ คือผู้ประกันตนที่อายุครบ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ซึ่งจะได้รับเป็นเงินบำนาญชราภาพรายเดือนหรือเงินบำเหน็จเป็นเงินก้อน ก็ต้องดูว่าตั้งแต่ส่งเงินสมทบครั้งแรกจนอายุครบ  55 ปี  ส่งเงินสมทบมาแล้วกี่เดือน

 

ผู้ประกันตนมาตรา 33

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 หากส่งเงินสมทบ 1-179 เดือน หรือไม่เกิน 15 ปี จะได้รับเป็นก้อนหรือเงินบำเหน็จชราภาพ 
ส่วนผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนหรือ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินบำนาญชราภาพรายเดือนรับไปตลอดชีวิต 
โดยคำนวนเงินบำนาญชราภาพได้ที่สำนักงานประกันสังคมจ่าย 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ ซึ่งแต่ละคนจะได้รับแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เช่น 

  • เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 10,000 บาท จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 2,000 บาท 
  • เงินเดือน 12,000 บาท รับบำนาญชราภาพ 2,400 บาท 
  • เงินเดือน 15,000 บาท รับบำนาญชราภาพ 3,000 บาท 

 

ผู้ประกันตนมาตรา 39  

ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 39  จะคำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุด  4,800 บาท หากส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับบำนาญชราภาพ  960 บาทต่อเดือนบาทไปตลอดชีวิต 

 

หากผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน แต่ยังเป็นสมาชิกคือยังทำงานส่งเงินสมทบต่อเนื่อง รวมถึงผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ยังคงส่งเงินสมทบต่อไปอีก ในทุกๆ 12 เดือน สำนักงานประกันสังคมจะบวกเพิ่มอีก 1.50% ทำให้ผู้ประกันตนได้รับเงินบำนาญชราภาพเพิ่มขึ้น 


ส่วนการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีเงินบำนาญชราภาพกรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต นางกนกนันท์ กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินบำนาญชราภาพรายเดือน เริ่มตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 9 ปี โดยผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบอัตราสูงสุด 15,000 บาท ปัจจุบันได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนอยู่ที่ 4,800 บาทไปตลอดชีวิต 


ส่วนการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีเงินบำนาญชราภาพ ก็คือการประกันบำนาญชราภาพกรณีผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนรับเงินบำนาญครบ 60 เดือนหรือ 5 ปี ซึ่งเป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับทายาทผู้มีสิทธิ์ตกเป็นเงินมรดกได้ โดยปรับสูตรการคำนวณใหม่ นำ 60 เดือนเป็นตัวตั้งลบด้วยเดือนที่ผู้ประกันตนรับเงินบำนาญไปแล้ว เช่น 


หากรับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนอยู่ที่ 4,800 บาท รับไปแล้ว 10 เดือนและเสียชีวิตลง เดิมทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ 10 เท่าคูณด้วยเงินสมทบที่รับเดือนสุดท้าย เท่ากับทายาทจะได้รับเงิน 48,000 บาท แต่กฎหมายใหม่จะได้รับเพิ่มขึ้นเป็น 240,000 บาท ซึ่งกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 29 เมษายน 2565 เป็นต้นไป 


ส่วนทายาทผู้มีสิทธิ์ ได้แก่ บุตร,คู่สมรส และบิดามารดา สำหรับคู่สมรสต้องมีทะเบียนสมรสและเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ส่วนกรณีผู้ประกันตนที่สถานะโสด ไม่มีบุตร ไม่มีคู่สมรส และบิดามารดาเสียชีวิต สำนักงานประกันสังคมจะพิจารณาไล่เรียงไปตั้งแต่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือไม่ ถ้าไม่มีมีพี่น้องร่วมมารดาหรือไม่ หรือถ้าไม่มีมีพี่น้องร่วมบิดาหรือไม่ หรือถ้าไม่มีมีลุงป้าน้าอาหรือไม่ หรือถ้าไม่มีต้องไปดูถึงปู่ย่าตายาย 


ผู้ประกันตนสามารถเขียนพินัยกรรมได้ว่าจะยกเงินบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพให้ผู้ใด โดยสำนักงานประกันสังคมไม่มีแบบฟอร์มให้ แต่สามารถทำขึ้นมาได้ โดยให้มีข้อความที่ครบถ้วน เช่น เขียนแบบพินัยกรรม

 

ปรับเพิ่มเงินบำนาญชราภาพกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนให้กับทายาท

1. กำหนดให้ผู้รับบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จากเดิม 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย ปรับเป็นให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย คูณด้วยจำนวนเดือนที่เหลือหลังจากผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายจนครบ 60 เดือน เช่น กรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบำนาญชราภาพเดือนละ 5,250 บาท และได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้ว 20 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย เมื่อกฎกระทรวงนี้ประกาศใช้ ทายาทจะได้รับเงินบำนาญชราภาพที่เหลืออีก 40 เดือน (5,250 X 40 = 210,000 ) เป็นต้น

 

2. ผู้ที่เคยได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้วถูกงดจ่าย เนื่องจากกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนและต่อมาถึงแก่ความตาย หากบุคคลนั้นได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้วไม่เกิน 60 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จากเดิม 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนคราวสุดท้ายก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน ปรับเป็นให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนคูณด้วยจำนวนเดือนที่เหลือหลังจากผู้รับบำนาญชราภาพกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนจนครบ 60 เดือน เช่นกัน

 

3. กำหนดบทเฉพาะกาลให้ผู้รับบำนาญชราภาพอยู่ก่อนกฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับและรับบำนาญชราภาพมาแล้วยังไม่ครบ 60 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจนครบ 60 เดือน และในกรณีรับเงินบำนาญชราภาพมาแล้วและจำนวนเดือนเหลือน้อยกว่า 10 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

 

 

 

 

 

ข้อมูล สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง