รีเซต

ศึกษาชี้ ผู้ใหญ่ 'สูบบุหรี่-ป่วยทางจิตร่วม' ดื่มคาเฟอีนมากสุดในสหรัฐฯ

ศึกษาชี้ ผู้ใหญ่ 'สูบบุหรี่-ป่วยทางจิตร่วม' ดื่มคาเฟอีนมากสุดในสหรัฐฯ
Xinhua
1 มีนาคม 2566 ( 19:19 )
250

ลอสแอนเจลิส, 1 มี.ค. (ซินหัว) -- ผลการศึกษาโดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัตเกอร์สของสหรัฐฯ ที่ตีพิมพ์ผ่านวารสารไซไคอาทรี รีเสิร์ช (Psychiatry Research) เมื่อไม่นานนี้ พบว่าผู้ใหญ่สูบบุหรี่ที่มีอาการป่วยทางจิต เป็นกลุ่มคนที่บริโภคคาเฟอีนมากที่สุดในสหรัฐฯการศึกษาพบว่าผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่และเป็นโรคไบโพลาร์หรือโรคจิตเภทร่วมด้วยไม่เพียงแต่ดื่มคาเฟอีนมากที่สุดเท่านั้น แต่พวกเขายังมีความเสี่ยงเผชิญผลเสียด้านสุขภาพสูงสุดอีกด้วยอนึ่ง คาเฟอีนเป็นหนึ่งในยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (psychoactive drugs) ที่ใช้อย่างแพร่หลายในสหรัฐฯ โดยมีฤทธิ์หลักกระตุ้นความตื่นตัว ความสนใจ และความระแวดระวังการศึกษาชี้ว่าแม้การบริโภคคาเฟอีนมากถึง 400 มิลลิกรัมต่อวันจะถือว่าปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรง ทว่าการบริโภคมากกว่า 600 มิลลิกรัมสามารถส่งผลให้เกิดอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ กรดเกินในกระเพาะอาหาร และอาการแสบร้อนกลางอกคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัตเกอร์สและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียของซานฟรานซิสโก ได้ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ 248 คน โดยผู้เข้าร่วมทดลองเหล่านี้เป็นผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ป่วยนอกโรคจิตเภทหรือโรคไบโพลาร์ หรือจากกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการวินิจฉัยทางจิตเวชผลการทดลองพบว่าในบรรดากลุ่มผู้เข้าร่วมทดลองที่ป่วยโรคไบโพลาร์ร่วมด้วยบริโภคคาเฟอีนสูงที่สุด ตามมาด้วยกลุ่มผู้ใหญ่ที่ป่วยโรคจิตเภทจิลล์ เอ็ม. วิลเลียมส์ ผู้อำนวยการแผนกจิตเวชศาสตร์การเสพติดของสำนักแพทย์รัตเกอร์ส โรเบิร์ต วูด จอห์นสัน รายงานว่ามีหลายทฤษฎีอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคคาเฟอีนและอาการป่วยทางจิต ทฤษฎีแรกคือผู้ที่มีอาการป่วยทางจิตจะสูบบุหรี่ในอัตราที่สูงกว่าคนทั่วไป 2-3 เท่า เนื่องจากทาร์ส (tars) หรือสารก่อมะเร็งในควันบุหรี่นั้นเพิ่มการเผาผลาญคาเฟอีนในร่างกาย ส่งผลให้คนกลุ่มนี้ต้องดื่มคาเฟอีนเพิ่มขึ้นเพื่อให้ออกฤทธิ์กระตุ้นได้สำเร็จขณะอีกทฤษฎีหนึ่งคือการเชื่อมโยงการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณสูงเข้ากับตัวรับอะดีโนซีน (Adenosine receptor) และสนับสนุนผลการรักษาด้วยตนเองที่อาจเกิดขึ้นได้ในหมู่ผู้ป่วยทางจิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง