เรื่องราวสู้ชีวิตของชาวไทยกลุ่มหนึ่ง ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาด
ปักกิ่ง, 6 มิ.ย. (ซินหัว) -- ไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา หลายชีวิตต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ผู้คนหลายอาชีพต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้น และกระทั่งมีบางคนที่ค้นพบโอกาสในวิกฤต ดังเช่นคนกลุ่มนี้ฟิตเนสเปิดขายทุเรียน ปรับตัวสู้โควิด-19
การระบาดระลอกใหม่ ทำให้รัฐบาลไทยต้องกระชับมาตรการต่างๆ ซึ่งรวมถึงการสั่งปิดฟิตเนสอีกครั้ง และหนึ่งในนั้นคือฟิตเนสของกุพชกา พงศ์พสธร หญิงชาวเชียงใหม่ ผู้ทำธุรกิจฟิตเนสมานานกว่า 6 ปี
(ภาพจากผู้ให้สัมภาษณ์ : เทรนเนอร์ในฟิตเนสของกุพชกา ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด)
หลังลูกค้ามาใช้บริการฟิตเนสน้อยลงอย่างมาก เมื่อเดือนมีนาคมปีก่อนซึ่งเป็นฤดูทุเรียนของไทย เธอจึงเริ่มพาเทรนเนอร์ที่ฟิตเนสไปขายทุเรียน "ตอนแรกที่เริ่มขายลูกค้ายังไม่ค่อยเยอะ แต่เมื่อเราให้เทรนเนอร์เป็นคนขายและจัดส่งก็ขายดีขึ้นทันที" กุพชกาเล่า
(ภาพจากผู้ให้สัมภาษณ์ : เทรนเนอร์ที่ฟิตเนสของกุพชกาขณะขายทุเรียน)
"หลังจากฝึกมานานกว่าหนึ่งปี ตอนนี้เทรนเนอร์สามารถคัดเลือก ปอกทุเรียน และดูความสุกของทุเรียนได้ตามที่ลูกค้าต้องการแล้ว" กุพชกากล่าว พร้อมเผยว่าทีมงานยังคงเพิ่มช่องทางการขายอย่างต่อเนื่อง โดยในฤดูทุเรียนปีนี้ ยอดขายต่อเดือนของตนล้วนสูงเกิน 100,000 บาท ทั้งยังแย้มว่าตนกำลังติดต่อบริษัทท่องเที่ยว ด้วยหวังว่าจะสามารถรับนักท่องเที่ยวให้มาชิมทุเรียนที่ร้านได้ หลังจากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวอีกครั้งจากนักร้องหมอลำสู่พ่อค้าส้มตำสุรชัย ใจภักดี จากจังหวัดมหาสารคามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นหัวหน้าวงหมอลำซิ่งที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น
(ภาพจากผู้ให้สัมภาษณ์ : สุรชัยขณะแสดงบนเวที)
ปกติแล้วช่วงเวลานี้ของในปีก่อนๆ คิวงานของสุรชัยจะยุ่งมาก ทั้งงานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ และเทศกาลต่างๆ ซึ่งมีกำหนดการยาวล่วงหน้าถึง 2 เดือน ทว่างานทั้งหมดนี้กลับต้องถูกยกเลิกไป เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด"ถ้าไม่มีการแสดง พวกเราก็ไม่มีรายได้ เราอยู่ได้ด้วยเงินออมและพยายามคิดวิธีหาเงิน" เขากล่าวพร้อมเล่าว่าตนเคยทำงานเป็นพนักงานแคชเชียร์ คนงานขนของมาก่อน จนกระทั่งเมื่อเดือนก่อน สุรชัยได้ร่วมกับพี่ชายเปิดร้านอาหารขาย ส้มตำ ปลาย่าง และเมนูอาหารอีสาน
(ภาพจากผู้ให้สัมภาษณ์ : สุรชัยขณะทำส้มตำในร้านอาหาร)
เขาเผยว่าตอนเปิดร้านใหม่มีลูกค้าน้อย แต่พวกตนก็ไม่ท้อและพยายามปรับปรุงรสชาติอาหารและบริการต่อไป นอกจากนี้ยังได้นำชุดหมอลำมาใส่ขณะทำและเสิร์ฟอาหารเพื่อดึงดูดลูกค้าด้วย จนกระทั่งมีลูกค้าเพิ่มจนต้องตำส้มมากถึง 60 ครกต่อวัน "ผมบอกกับตัวเองว่าท้อได้แต่ห้ามถอย" คำบอกเล่าจากสุรชัย ซึ่งมีแผนจะขยายร้านอาหารเพิ่มเติมหลังการระบาดผ่านพ้นชีวิตที่พลิกผันของนักบินวิกฤตการเงินที่ต้องเผชิญทำให้วิชายุทธ์ เกตุปัญญา นักบินชาวไทยวัย 55 ปี ผันตัวมาเป็นพ่อค้าไส้อั่วย่างเตาถ่าน กว่าหนึ่งปีแล้วนับตั้งแต่เกิดโรคระบาดที่เขามักจะตื่นตอนตี 5 เพื่อไปหาซื้อวัตถุดิบที่ตลาด ก่อนจะเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือตอน 7 โมงและเริ่มทำไส้อั่วขายตั้งแต่ 8 โมงเช้า
(ภาพจากผู้ให้สัมภาษณ์ : วิชายุทธ์ เกตุปัญญา ขณะทำไส้อั่ว)
วิชายุทธ์เผยว่า ลูกชายและลูกสาวของเขาก็เป็นนักบินเช่นกัน ส่วนภรรยาก็ทำงานในบริษัทการบิน ครอบครัวของเขาจึงได้รับผลกระทบอย่างมาก ลูกชายของเขาถูกเลิกจ้างชั่วคราว อีกทั้งรายได้ของสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ ก็ลดลง นับเป็นครั้งแรกในชีวิตที่เขาต้องเจอวิกฤตเช่นนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เขามีความคิดอยากทำไส้อั่วขาย
(ภาพจากผู้ให้สัมภาษณ์ : วิชายุทธ์ ในเครื่องแบบนักบิน)
(ภาพจากผู้ให้สัมภาษณ์ : ลูกค้าใช้บริการขนมของชัชสุดา ปุยดา)
โอกาสที่ซ่อนอยู่ในขนมและกาแฟธุรกิจขนมและอาหารว่างที่ทำมานานถึง 10 ปี และกำลังไปได้สวยของชัชสุดา ปุยดา หญิงไทยในจังหวัดชลบุรี ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดอย่างกะทันหัน "เมื่อก่อนมีออร์เดอร์เกือบทุกวัน บางทีวันหนึ่งเราจัดขนมให้การประชุม 2-3 แห่ง" เธอกล่าวถึงช่วงเวลาก่อนที่โรคระบาดจะกระทบงานประชุมและกิจกรรมต่างๆชัชสุดาเล่าว่าเธอเคยพยายามขายขนมทางออนไลน์ แต่เนื่องจากอากาศที่ร้อน และขนมก็เก็บได้ไม่นาน อีกทั้งการขนส่งแบบเย็นก็มีราคาสูง ลูกค้าจ่ายไม่ไหว ทำให้รายได้ของตนลดเหลือเพียง 1 ใน 3เดือนเมษายนปีนี้ ชัชสุดาได้อัปโหลดภาพขนมอบที่เธอถ่ายลงบนโซเชียลมีเดีย แต่กลับนึกไม่ถึงว่าหวดดริปกาแฟทำจากไผ่ที่อยู่ในภาพจะกลายเป็นที่สนใจของลูกค้า เธอจึงมองเห็นโอกาสและรีบติดต่อผู้ผลิตอย่างรวดเร็วเพื่อสั่งทำหวดกรองกาแฟเช่นนี้ และขายได้ถึง 100 ชิ้น ในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน"เราได้รับผลกระทบอย่างมากแต่ก็พยายามสู้ เดินบ้าง วิงบ้าง พักบ้าง อย่างไรเราก็ไปถึง " ชัชสุดาทิ้งท้าย
(ภาพจากผู้ให้สัมภาษณ์ : หวดดริปกาแฟของชัชสุดา)