อินโดนีเซียเปิด 'ขนส่งสินค้า' ตรงสู่จีน ต้นทุนถูกกว่าแวะสิงคโปร์
(แฟ้มภาพซินหัว : พนักงานสแกนสินค้าที่คลังสินค้าอัจฉริยะ 5G แห่งแรกของอินโดนีเซียในเมืองเบอกาซี จังหวัดชวาตะวันตกของอินโดนีเซีย วันที่ 7 มี.ค. 2024)
จาการ์ตา, 1 เม.ย. (ซินหัว) -- หน่วยงานทางการเกาะบาตัมของอินโดนีเซียเริ่มต้นดำเนินงานขนส่งสินค้าตรงจากท่าเรือบาตัมปาร์สู่นครกว่างโจวและเซินเจิ้นของจีนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันอาทิตย์ (31 มี.ค.) เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างสองประเทศการบริการขนส่งสินค้าเส้นทางตรงนี้ดำเนินงานโดยบริษัทเปอร์เซโร บาตัม (Persero Batam) และบริษัทบาตัม คอนเซสชัน เอเจนซี (Batam Concession Agency) ร่วมกับเอสไอซีที อินเตอร์เนชันแนล โฮลดิงส์ (SITC International Holdings) บริษัทโลจิสติกส์ในฮ่องกงรายงานระบุว่าการบริการขนส่งสินค้าเส้นทางตรงนี้ใช้เรือเอ็มวี เอสไอทีซี ฮากาตา ซึ่งมีความจุตู้คอนเทนเนอร์ 1,000 ทีอียู (TEU : หน่วยนับตู้คอนเทนเนอร์ยาว 20 ฟุต) และดำเนินงานทุกวันอาทิตย์ จำนวน 4 เที่ยวต่อเดือนเอสไอซีที อินเตอร์เนชันแนล โฮลดิงส์ จะใช้เรือ 3 ลำ เพื่อตอบสนองความต้องการขนส่งสินค้าโดยตรงระหว่างบาตัม-จีน โดยการขนส่งครั้งแรกจากบาตัมไปยังจีนเป็นการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ 100 ตู้ ของบริษัทอีโค กรีน (Eco Green)ปัจจุบันมีบริษัทผู้ส่งออกร่วมใช้บริการขนส่งสินค้าเส้นทางตรงนี้รวม 5 รายแล้ว โดยการบริการขนส่งสินค้าเส้นทางตรงนี้สามารถลดต้นทุนการขนส่งสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 21,600 บาท) เมื่อเทียบกับการขนส่งแบบแวะเปลี่ยนเรือที่สิงคโปร์บาตัม คอนเซสชัน เอเจนซี คาดหวังว่าเกาะบาตัมจะกลายเป็นจุดขนส่งสินค้าที่ดี และตั้งเป้าหมายขนส่งสินค้า 2 ล้านทีอียูต่อปี